“แพทย์” เชียงใหม่ ยัน “แรงงานต่างด้าว” ห้ามหลีกเลี่ยง ต้องตรวจ 6 โรคร้ายแรง ก่อนทำงานในไทย

"แพทย์" เผยไม่ค่อยพบเจอ "ใบรับรองแพทย์ทิพย์" พร้อมยืนยัน "แรงงานต่างด้าว" ห้ามหลีกเลี่ยง ต้องเข้ารับการตรวจ "6 โรคร้ายแรง" ก่อนทำงานในไทย

“แพทย์” เชียงใหม่ ยัน “แรงงานต่างด้าว” ห้ามหลีกเลี่ยง ต้องตรวจ 6 โรคร้ายแรง ก่อนทำงานในไทย – Top News รายงาน

 

หลังรัฐบาลเปิดให้แรงงานต่างด้าวขึ้นทะเบียน ปรากฏว่ามีสถานพยาบาลเอกชน หลายแห่ง คิดอัตตราค่าตรวจสุขภาพให้กับแรงงานต่างด้าวในราคาถูกเกินจริง ทำให้บรรดานายจ้าง หรือผู้ประกอบการ ต่างสงสัยว่ามีการตรวจสุขภาพจริงหรือไม่ โดยเว็บไซต์ของโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ตั้งราคาไว้ค่าตรวจสุขภาพแรงงานต่างด้าวอยู่ที่ 490 บาท และ 500 บาทเท่านั้น ขณะที่อีกหลายโรงพยาบาลเอกชน ตั้งราคาไว้ที่ 1,090 บาท ซึ่งราคาแตกต่างกันเป็นอย่างมาก เมื่อตรวจสอบเพิ่มเติมพบกลุ่มนายหน้า พาแรงงานต่างด้าวไปตรวจสุขภาพในราคาถูกเกินจริง โดยสถานตรวจโรคดังกล่าวอาจไม่ได้ตรวจ 6 โรคอันตรายให้กับแรงงานต่างด้าว ซึ่งอาจเป็นเหตุให้แรงงานต่างด้าวติดเชื้อรายแรงจนเกิดการแพร่ระบาดในประเทศไทย โดยเฉพาะอหิวาตกโรค ที่กำลังระบาดอยู่ในเมียนมา

ล่าสุด (24 ธ.ค.67) ผู้สื่อข่าวเดินทางไปที่ ตลาดแม่หยวก ถนนโชตนา อยู่ภายในตัวเมือง จ.เชียงใหม่ ซึ่งถูกใช้เป็นสถานที่ตรวจสุขภาพให้กับแรงงานต่างด้าว พบนายจ้าง และผู้ประกอบการ พาแรงงานต่างด้าวไปใช้บริการตรวจโรคตามขั้นตอนกับหน่วยบริการตรวจโรคเคลื่อนที่ของโรงพยาบาลอินเตอร์เมท โดยเมื่อตรวจแล้วเสร็จแรงงานต่างด้าวจะขอใบรับรองแพทย์ เพื่อใช้เป็นหลักฐานยืนยันหากไปทำใบอนุญาตทำงาน หรือนำไปทำใบประกันสุขภาพ เพื่อรับสิทธิต่างๆ ในช่วงที่ทำงานอยู่ในประเทศไทย

สำหรับหน่วยบริการตรวจสุขภาพเคลื่อนที่ให้กับเแรงงานต่างด้าว จะใช้รถโมบายที่มีเครื่องมือทางการแพทย์ไปให้บริการตามสถานที่ต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แรงงานต่างด้าว โดยจะมีการซักประวัติ ก่อนเก็บตัวอย่างปัสสาวะ เจาะเลือดเพื่อตรวจหา โรคเรื้อน, วัณโรค, โรคซิฟิลิส, โรคพิษสุราเรื้อรัง, โรคเท้าช้าง ตรวจการตั้งครรภ์ ตรวจการได้ยิน และเอ็กซเรย์ปอด ก่อนออกใบรับรองแพทย์โดยคิดค่าบริการตรวจสุขภาพในราคา 500 บาทต่อคน

 

ข่าวที่น่าสนใจ

จากการสอบถาม นางกชมล กรสุทธานนท์ กรรมการผู้จัดการบริษัทนำเข้าแรงงานต่างด้าว ล้านนาแมน อินเตอร์กรุ๊ปจำกัด ซึ่งนำรถโมบายของโรงพยาบาลอินเตอร์เมท มาให้บริการตรวจสุขภาพให้กับแรงงานต่างด้าว เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีแรงงานต่างด้าวในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ นับแสนคน มีแรงงานประมาณ 30,000 คนไปใช้บริการตรวจร่างกายกับโรงพยาบาลรัฐและโรงพยาบาลเอกชน แต่ยังมีแรงงานต่างด้าวอีกนับหมื่นคนยังไม่ได้ตรวจสุขภาพ ซึ่งต้องใช้ใบแพทย์ไปขอใบอนุญาตทำงานซึ่งจะสิ้นสุดในวันที่ 13 ก.พ.2568 จึงมีการนำรถโมบายมาให้บริการ

ส่วนแรงงานต่างด้าวอีกกลุ่มหนึ่ง คือกลุ่มที่ลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ซึ่งตามมติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 ก.ย.ที่ผ่านมา ให้กลุ่มต่างด้าวที่หลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย สามารถยื่นบัญชีรายชื่อเพื่อขออยู่ในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 16-30 ธ.ค.นี้ แรงงานกลุ่มดังกล่าวจึงต้องรีบตรวจสุขภาพ เพื่อให้ได้ใบรับรองแพทย์ทันกำหนด ก่อนนำไปซื้อประกันสุขภาพ หรือนำไปขอใบอนุญาตทำงาน กรณีที่แรงงานต่างด้าวไม่ตรวจโรค ถือว่าผิดกฎหมาย ส่วนเรื่องการออกใบรับรองแพทย์ทิพย์นั้น ตนไม่ทราบว่ามีจริงหรือไม่ แต่หากมาใช้บริการที่นี่จะได้ตรวจสุขภาพครบทุกขั้นตอนอย่างแน่นอน

“ต่างด้าวทุกคน จะต้องมีการตรวจโรค ตรวจจริง อย่างที่รถโมบายของเรามาบริการถึงที่ เพราะว่าเพื่อความสะดวกแก่ลูกจ้างและนายจ้าง เชิญชวนพี่น้องประชาชน แล้วก็แรงงานต่างด้าวทุกท่าน ขอให้มาตรวจจริงเพื่อประเทศชาติของเรา เป็นการป้องกันการแพร่เชื้อโรค แพร่โรคติดต่อนะคะ”

ด้าน แพทย์หญิงสุชนา รักกตัญญู แพทย์ซึ่งทำการตรวจสุขภาพให้กับแรงงานต่างด้าว ให้ข้อมูลว่า ไม่ค่อยพบว่ามีแรงงานต่างด้าวหลีกเลี่ยงการตรวจ 6 โรคร้ายที่อาจส่งผลกระทบต่อคนไทย เพราะแรงงานต่างด้าวต้องนำใบตรวจสุขภาพไปขออนุญาตทำงาน ซึ่งจะทำการตรวจอย่างละเอียดว่าแรงงานต่างด้าวแต่ละรายมีโรคร้ายที่สุ่มเสี่ยงต่อการแพร่กระจายในประเทศไทยหรือไม่

“ขึ้นอยู่กับว่าโรคที่เป็นอยู่เป็นโรคอะไร อยู่ในระยะไหน สามารถแพร่กระจายไปสู่ผู้อื่นได้ไหม ถ้าสมมติว่าอยู่ในระยะแพร่กระจายเช่นวัณโรคปอด หรือพวกโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์ต่างๆ เราก็จะต้องเข้าสู่กระบวนการรักษา ก็คือขึ้นอยู่กับสิทธิ์อีกที แค่ถ้าไม่มีสิทธิ์ อันนี้อาจจะต้องเข้าสู่กระบวนการทางกฎหมายอีกทีนึงว่าจะเป็นไปในทิศทางไหนต่อไป เพราะว่าส่วนใหญ่แล้วก่อนเข้าทำงาน จะถูกประเมินตรวจสถขภาพก่อนเข้าทำงานทุกรายเท่าที่เจอ”

พญ.สุชนา ยังกล่าวถึงกรณีมีกระแสข่าวเรื่องแรงงานต่างด้าวซื้อใบรับรองแพทย์ทิพย์ ว่า ไม่ค่อยพบเจอ เพราะถ้าหากแรงงานต่างด้าวไม่เข้ารับการตรวจสุขภาพอาจมีความผิดตามกฎหมาย ส่วนแรงงานต่างด้าวที่มาตรวจสุขภาพแล้วพบว่าเป็นวัณโรคปอด ก็จะแนะนำให้เข้าสู่กระบวนการรักษา โดยจะให้ยาไปกินที่บ้าน จากนั้นจะแยกตัวแรงงานต่างด้าวเพื่อกักโรคอย่างน้อย 2 สัปดาห์ เมื่อครบกำหนดก็จะให้กลับมาตรวจสุขภาพเพื่อประเมินอาการอีกครั้ง ก่อนที่จะออกใบรับรองแพทย์ให้กับแรงงานต่างด้าวต่อไป

แพทย์

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

บขส.จัดรถโดยสารกว่า 4,800 เที่ยว รถเสริมอีก 1 พันคัน รองรับปชช.เดินทางช่วงเทศกาลปีใหม่
เซเลนสกี้เดือดรัสเซียระดมยิงวันคริสต์มาส
"นิพนธ์" ชี้ "กระจายอำนาจ" สร้างเข้มแข็งชุมชน สำคัญต่อการพัฒนาปท.ยั่งยืน นโยบายรัฐแจกๆไม่ใช่คำตอบ
"รมว.สุดาวรรณ" ลงพื้นที่สกลนคร เป็นประธานกิจกรรมศาสนิกสัมพันธ์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยหนาว
"นพดล" แถลง 6 ข้อ ปม MOU44 ย้ำชัดไทยไม่เสียดินแดน
ระทึก เพลิงไหม้รถบัสปลดระวางเสียหาย 9 คัน เร่งหาสาเหตุที่แท้จริง
“อนุทิน” เปิดศูนย์ป้องกันอุบัติเหตุปีใหม่ 2568 คุมเข้ม 10 วันอันตราย กำชับตำรวจใช้มาตรการกฎหมายเคร่งครัด
เปิดยอดผู้เสียชีวิต เหตุ 'เครื่องบินอาเซอร์ไบจาน' โหม่งโลก พบรอดตายปาฏิหาริย์เพียง 25 ราย
ศาลรธน.มติเอกฉันท์ ตีตก 2 คำร้อง ปมกกต.จัดเลือกตั้งสว.ปี 66 โดยมิชอบ
มิตรภาพกุศลจิต "อนุทิน" ขอบคุณ "หมอพัชร" เป็นสะพานบุญ โทรตามบินรับหัวใจ จากร้อยเอ็ดส่งกรุงฯ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น