“จุลพันธ์” แจงสภาฯ ออกพ.ร.ก.เก็บภาษีขั้นต่ำบริษัทข้ามชาติ คาดเก็บรายได้เข้ารัฐ 1.2 หมื่นล้าน

“จุลพันธ์” แจงสภาฯ ออกพ.ร.ก.เก็บภาษีขั้นต่ำบริษัทข้ามชาติ หรือ pillar 2 คลังคาดเก็บรายได้เข้ารัฐ 1.2 หมื่นล้าน

“จุลพันธ์” แจงสภาฯ ออกพ.ร.ก.เก็บภาษีขั้นต่ำบริษัทข้ามชาติ คาดเก็บรายได้เข้ารัฐ 1.2 หมื่นล้าน – Top News รายงาน

จุลพันธ์

เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2568 ที่รัฐสภา มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร โดยมีนายภราดร ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 2 ทำหน้าที่ประธานการประชุม ได้พิจารณาพระราชกำหนดภาษีส่วนเพิ่ม พ.ศ.2567 ที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ และได้ประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับดังกล่าวไปเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2568

โดยนายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ชี้แจงถึงเหตุผลและความจำเป็นของการออกพระราชกำหนดฉบับนี้ว่า เพื่อรับรองว่าอัตราภาษีที่แท้จริงของกลุ่มนิติบุคคลข้ามชาติขนาดใหญ่ จากการประกอบกิจการในแต่ละประเทศนั้น ต้องไม่น้อยกว่า 15% หากน้อยกว่าจำนวนดังกล่าวในประเทศใด ประเทศอื่นที่ปรับใช้มาตรการดังกล่าว มีสิทธิ์จัดเก็บภาษีส่วนที่ยังขาดอยู่ หรือที่เรียกว่าภาษีส่วนเพิ่มแทนได้ ซึ่งปัจจุบันหลายประเทศมีมาตรการในการตราฏหมาย เพื่อจัดเก็บภาษีส่วนเพิ่มจากกลุ่มนิติบุคคลข้ามชาติขนาใหญ่แล้ว ดังนั้นเพื่อเป็นการรักษาผลประโยชน์ของประเทศไทย ในการจัดเก็บภาษีส่วนเพิ่มที่เกิดขึ้นในประเทศไทย และเป็นการรักษาสิทธิ์ในการจัดเก็บภาษีของประเทศไทยจากภาษีส่วนเพิ่มที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ ซึ่งจะต้องเริ่มคำนวณภาษีส่วนเพิ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2568 จึงเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วน ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เพื่อประโยชน์ในการที่จะรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

สำหรับสาระสำคัญของพระราชกำหนดฉบับนี้ สรุปได้ดังนี้

1.กำหนดให้กลุ่มนิติบุคคลข้ามชาติ ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศไทย ไม่ว่ากลุ่มนิติบุคคลข้ามชาติของไทยที่ลงทุนในต่างประเทศ หรือกลุ่มนิติบุคคลข้ามชาติของต่างประเทศ ที่ลงทุนในไทย ที่มีรายได้ตามงบการเงินรวมของบริษัทแม่ลำดับสูงสุด ไม่น้อยกว่า 750 ล้านยูโร หรือราว 2.6 หมื่นล้านบาท อย่างน้อย 2 ใน 4 รอบ ระยะเวลาบัญชีก่อนหน้าที่พิจารณาหน้าที่ในการเสียภาษีส่วนเพิ่ม จะต้องเสียภาษีในอัตราภาษีที่แท้จริงร้อยละ 15

2.กำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีส่วนเพิ่ม จะต้องแจ้งข้อมูลยื่นรายงานและยื่นแบบแสดงรายการพร้อมทั้งชำระภาษีส่วนเพิ่มภายใน 15 เดือน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีของนิติบุคคลแม่ลำดับสูงสุดของกลุ่มนิติบุคคลข้ามชาติ อย่างไรก็ดีหากเป็นรอบระยะเวลาบัญชีแรกของกลุ่มนิติบุคคลข้ามชาติที่อยู่ในบังคับต้องปฏิบัติตามกฎหมายภาษีส่วนเพิ่ม ให้ขยายเวลาเป็น 18 เดือน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีของนิติบุคคลแม่ลำดับสูงสุดของกลุ่มนิติบุคคลข้ามชาติ

พระราชกำหนดฉบับนี้ เป็นไปตามแนวทางมาตรฐานที่องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาหรือ โออีซีดี จัดทำขึ้น และเป็นไปตามหลักการของ สาหลักที่ 2 หรือ pillar 2 ซึ่งเป็นกติกากลางที่โออีซีดี ที่ปัจจุบันมีกว่า 40 ประเทศแล้วเข้าร่วมแล้ว โดยกระทรวงการคลังประเมินว่า การจัดเก็บภาษีส่วนเพิ่มในปี 2568 จะสามารถจัดเก็บรายได้ราว 1.2 หมื่นล้านบาท

หากย้อนกลับไปก่อนหน้านี้ ร่างกฎหมายฉบับนี้ได้มีประเด็นมาแล้วเมื่อช่วงกลางเดือนธันวาคมที่ผ่านมา เมื่อนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พูดในงานสัมนาพรรคเพื่อไทย ที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตำหนิรัฐมนตรีพรรคร่วมรัฐบาลที่ไม่เข้าร่วมประชุมครม. ซึ่งมีวาระการพิจารณาร่างพระราชกำหนดฉบับนี้ จนเป็นที่จับตาถึงความสัมพันธ์ของพรรคร่วมรัฐบาล ต่อมารัฐมนตรีที่ถูกพาดพิงต้องออ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ปลัด กทม." กำชับหน่วยงานในสังกัด เร่งแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 ลดผลกระทบต่อ ปชช.
ตร.สอบสวนกลาง จับขบวนการหลอกแรงงานต่างด้าว เปิดบัญชีม้า พบเงินหมุนเวียนกว่า 200 ล้าน
มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับ สำนักหอสมุดแห่งชาติ ขอเชิญเยาวชนและผู้ปกครองร่วมกิจกรรมพิเศษเนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ๒๕๖๘
ยังไม่สงบ "ไฟป่าดงพญาเย็น" ลามไหม้เสียหายหนัก จนท.เร่งขยายแนวป้องกันไฟ ก่อนลุกลามขยายวงกว้าง
"ทนายอนันต์ชัย" แจ้งความเอาผิด "อ.เบียร์ คนตื่นธรรม" ปมไลฟ์หมิ่นมหาเถรสมาคม
ด่วน! "3 คนร้าย" ชาวจีน ปล้นเงินสด 5 ล้าน เพื่อนร่วมชาติกลางห้างดัง ก่อนซิ่งรถหลบหนี
“ชัชชาติ” เสียใจ ข้าราชการ กทม.จบชีวิตตัวเอง ปมตั้งคกก.สอบทุจริต ยันพร้อมให้ความเป็นธรรม
รมว.กต.ตอบกระทู้ถามสด ชี้สถานการณ์ในเมียนมาเปราะบาง ย้ำจุดยืนไทย อยากเห็นประเทศเพื่อนบ้านสงบสุข
จีนเปิดประสบการณ์ท่องเที่ยวด้วยกิจกรรมการบินเพดานต่ำที่เสฉวน
เปิด E-Card เด็กๆอวยพรปีใหม่ “นายกฯ” ขอให้มีความสุข สุขภาพแข็งแรง

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น