“ศุลกากร” บุกจับ “ขยะอิเล็กทรอนิกส์” ลักลอบนำเข้าไทยกว่า 256 ตัน คาท่าเรือแหลมฉบัง

"ศุลกากร" บุกจับ "ขยะอิเล็กทรอนิกส์" ลักลอบนำเข้าไทยกว่า 256 ตัน คาท่าเรือแหลมฉบัง

 

เมื่อเวลา 10.30 น. (15 ม.ค.68) มีรายงานว่า นายพันธ์ทอง ลอยกุลนันท์ ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาและบริหารการจัดเก็บภาษี ในฐานะโฆษกกรมศุลกากร พร้อม นายจักกฤช อุเทนสุต รองอธิบดีกรมศุลกากร แถลงข่าวการจับกุม “ขยะอิเล็กทรอนิกส์” นำเข้าที่ท่าเรือแหลมฉบัง จำนวน 10 ตู้คอนเทนเนอร์ น้ำหนักรวมกว่า 256 ตัน โดย นายพันธ์ทอง เปิดเผยว่า หลังจาก น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้ความสำคัญกับการป้องกันและปราบปรามการนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อความปลอดภัยด้านสุขภาพของประชาชน นายธีรัชย์ อัตนวานิช อธิบดีกรมศุลกากร จึงกำชับให้เจ้าหน้าที่เฝ้าระวังและปราบปรามสินค้าประเภทขยะอิเล็กทรอนิกส์ ที่ลักลอบนำเข้าราชอาณาจักรไทย

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

จากการเฝ้าระวังอย่างเข้มข้นจึงไปพบว่ามีการลักลอบนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ผ่านท่าเรือแหลมฉบัง จ.ชลบุรี เมื่อวันที่ 3 ม.ค. และวันที่ 6 ม.ค.ที่ผ่านมา กองสืบสวนและปราบปรามร่วมกับสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง จึงเข้าตรวจสอบตู้สินค้าต้องสงสัยจำนวน 10 ตู้คอนเทนเนอร์ พบว่ามีการแสดงข้อมูลในใบขนสินค้าเป็น “เศษโลหะและโลหะเก่าใช้แล้ว” เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ จึงทำการอายัดตู้สินค้าดังกล่าวเพื่อตรวจสอบโดยละเอียด

 

 

 

ผลการตรวจสอบพบว่า สินค้ามีต้นกำเนิดจากประเทศญี่ปุ่น จำนวน 9 ตู้ และจากฮ่องกง 1 ตู้ ภายในพบ “เศษชิ้นส่วนอุปกรณ์หรือส่วนประกอบของเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ไม่ได้ ซึ่งกลายสภาพเป็นเศษขยะอิเล็กทรอนิกส์ ปริมาณกว่า 256,320 กิโลกรัม” สินค้าดังกล่าวถือเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ซึ่งต้องได้รับอนุญาตให้นำเข้าจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม และการนำเข้าสินค้าดังกล่าวต้องปฏิบัติตามอนุสัญญาบาเซล ว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายและการกำจัดของเสียอันตรายข้ามแดน

กรณีนี้จึงเป็นการกระทำความผิด พ.ร.บ.ศุลกากร และ พ.ร.บ.วัตถุอันตราย เนื่องจากลักลอบนำเข้าชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์หรือเศษชิ้นส่วนอุปกรณ์หรือส่วนประกอบของเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ไม่ได้ และการเคลื่อนย้ายและการกำจัดของเสียอันตรายข้ามแดนโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยหลังจากนี้เจ้าหน้าที่จะเรียกผู้เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดดังกล่าวมาสอบปากคำ ก่อนดำเนินคดีไปตามกฎหมายต่อไป พร้อมเฝ้าระวังการลักลอบนำขยะอิเล็กทรอนิกส์เข้าไทยอย่างเข้มข้นในทุกมิติ

 

 

สำหรับขยะอิเล็กทรอนิกส์ จะมีสารโลหะหนักอันตรายปะปนอยู่ ประกอบด้วย ตะกั่ว, ปรอท, แคดเมียม และโครเมียม ซึ่งสลายตัวยาก หากได้รับการจัดการที่ไม่เหมาะสมอาจก่อให้เกิดการแพร่กระจายไปสู่สิ่งแวดล้อม และอาจเกิดการสะสมซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ และก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนที่ได้รับสารโลหะหนักซึ่งอาจมีอันตรายจนถึงชีวิต

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

บุกรวบพ่อหื่น ขืนใจลูกสาววัย 14 ปี ก่อนหลบหนีความผิด สุดท้ายไม่รอด
เตือนภัย! อุทาหรณ์สายซอยจุ๊ ระวังพยาธิตืดวัวทะลุออกมาจากลำคอ
“จิราพร” เผยผลประชุม พรุ่งนี้ 2 บริษัทมือถือ ให้คำตอบถอนแอปฯเงินกู้นอกระบบ ลั่นไม่นิ่งนอนใจ เรื่องนี้ต้องมีคนรับผิดชอบ
เหมืองหยกถล่มในเมียนมา กู้ร่างผู้เสียชีวิต 12 รายแล้ว
คาดสนามบิน ‘ปักกิ่ง’จีน รับผู้โดยสารช่วงตรุษจีน 6.1 ล้านคน
"ภูมิธรรม" ต้อนรับ ออท.สาธารณรัฐสิงคโปร์ประจำประเทศไทย กระชับสัมพันธ์ 60 ปี
เปิดตัวเลข ถ้า "มหาดไทย" เพิกถอนสิทธิที่ดิน "อัลไพน์" กระทบ ชาวบ้านซื้อบ้าน-ที่ดินมูลค่ากว่า 5 พันล้าน
ว่าที่รมว.กลาโหมสหรัฐถูกสว.ลูกครึ่งไทยอบรมวิชา”อาเซียน”
"แพทยสภา" เผยรพ.ตร.ทยอยส่งเอกสารรักษา "ทักษิณ" ชั้น 14 นัดพรุ่งนี้ ลงมือเช็กครบหรือไม่ ถ้าไม่เคลียร์พร้อมเรียกสอบ
"ศาลชุมพร" รับฟ้อง คดีสาวซิ่ง BMW ชนแม่ลูกดับ 3 ศพ โดน 6 ข้อหาหนัก พ่อเหยื่อเล่านาทีเผชิญหน้า ไม่มีท่าทีสลด

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น