จี้เร่งบังคับใช้กฎหมายจัดการ “บ่อกุ้งร้าง” แหล่งเพาะพันธุ์ปลาหมอคางดำ

จี้เร่งบังคับใช้กฎหมายจัดการ "บ่อกุ้งร้าง" แหล่งเพาะพันธุ์ปลาหมอคางดำ

เมื่อวันก่อนภาพข่าวที่ถูกเผยแพร่บนโลกโซเชียล แสดงให้เห็นถึงจำนวนปลาหมอคางดำในบ่อกุ้งร้างที่จังหวัดสมุทรสงคราม ทำให้เกิดการตั้งคำถามถึงหลายแง่มุมของสถานการณ์นี้

กรณีที่ 1. ตามข้อมูลที่กรมประมงเผยแพร่ ปริมาณปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำธรรมชาติลดลงอย่างเห็นได้ชัด และสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ แต่ปัญหายังคงอยู่ที่บ่อกุ้งร้างที่มีเจ้าของ ซึ่งกรมประมงไม่สามารถเข้าไปดำเนินการกำจัดปลาได้ ดังนั้น การปรับแก้กฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์จริงจึงเป็นสิ่งจำเป็น

กรณีที่ 2. บ่อกุ้งร้างกลับกลายเป็นพื้นที่เพาะพันธุ์ที่เหมาะสมสำหรับปลาหมอคางดำ เนื่องจากมีน้ำที่นิ่ง ทำให้สามารถขยายพันธุ์ได้ง่าย หากเจ้าของบ่อไม่ดูแล ปลาหมอคางดำจะเพิ่มจำนวน และอาจหลุดลอดออกสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ สร้างปัญหาให้ต้องแก้ไขซ้ำในแหล่งน้ำสาธารณะอีกครั้ง

กรณีที่ 3. มีกรณีที่เจ้าของบ่อ อาจจงใจปล่อยให้ปลาหมอคางดำเติบโต โดยไม่อนุญาตให้ใครเข้ามาจับปลาเลย รอเพียงงบประมาณจากรัฐ เพื่อจะจับปลาไปขายในราคาที่รัฐกำหนด ซึ่งมักให้ราคาที่สูง บุคคลกลุ่มนี้นับว่าเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนอย่างชัดเจน

กรณีที่ 4. กฎหมายของกรมประมงได้กำหนดไว้อย่างชัดเจนว่า ห้ามเลี้ยงและเพาะพันธุ์ปลาชนิดนี้ หากพบเจ้าของบ่อที่ฝ่าฝืน รัฐควรใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดเพื่อป้องกันไม่ให้ปลาหมอคางดำหลุดออกสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ

ข่าวที่น่าสนใจ

ก่อนหน้านี้ผู้เขียนได้แนะนำวิธีป้องปรามว่าควรกำหนดกรอบเวลาให้เจ้าของบ่อร้าง ร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ประมงในการตรวจสอบ โดยแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับบ่อร้างที่ตนมี เพื่อให้รัฐสามารถเข้ามาดำเนินการจับปลาออกไปได้อย่างรวดเร็ว โดยปลาเหล่านี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ เช่น ผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพ หรือร่วมกับกรมราชทัณฑ์ ให้ผู้ต้องขังได้มีส่วนร่วมในการจับปลา และนำปลาไปใช้ประโยชน์ ซึ่งถือว่า Win-Win สำหรับทุกฝ่าย ขณะเดียวกัน รัฐควรให้ความรู้แก่เจ้าของบ่อในการเตรียมบ่อและจัดหาวัสดุต่าง ๆ เช่น “กากชา” เพื่อช่วยกำจัดปลาหมอคางดำก่อนจะเริ่มการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

อย่างไรก็ตาม เมื่อพ้นกำหนดขอบเขตระยะเวลาให้เจ้าของบ่อร้างได้แจ้งเจ้าหน้าที่แล้ว ก็ถึงคราวต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มข้นมิให้มีปลาหมอคางดำหลงเหลือในบ่อร้าง เพื่อลดความเสี่ยงที่ปลาจะหลุดสู่แหล่งน้ำธรรมชาติได้อีก โดยรัฐควรกำหนดเกณฑ์การตรวจสอบ ความถี่ในการติดตาม ตลอดจนบทลงโทษที่เด็ดขาดชัดเจน

ยิ่งขณะนี้ดูเหมือนจะมีความพยายามให้ข้อมูลสังคม ในทิศทางที่กล่าวหาว่าภาครัฐหลอกลวงว่าปลาลดลง จึงควรที่จะใช้กฎหมายที่มีอย่างเข้มข้น หาไม่แล้วจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิด เกินจริง ซึ่งอาจสร้างความแตกแยกในสังคมได้

โดย ปิยะ นทีสุดา
ขอบคุณภาพ : mgronline

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"กรมวังฯ" ติดตามความสำเร็จ โครงการ "กำลังใจ" ตรวจเยี่ยมเรือนจำกลาง จ.ภูเก็ต เน้นการฝึกอาชีพให้กับผู้ต้องขัง ผู้ถูกคุมความประพฤติ และผู้พ้นโทษ
ถล่มโกดัง! ยึดฝ้ายชุบไอซ์ 1.65 ตัน ตะครุบนกต่อสาวไทย-รอส่งออสเตรเลีย
ตร.จับ 2 เจ้าหนี้ ปล่อยเงินกู้ดอกโหด ลูกหนี้เครียดยิงตัวตายคาหอพัก
รัฐบาลกัมพูชายืนยันไม่เกี่ยวเหตุสังหารอดีตสส.ฝ่ายค้านที่ไทย
“รองผวจ.ประจวบฯ” พร้อมปฏิบัติตามกม. ปมอัลไพน์ ชาวบ้านเชื่อวัดธรรมิการาม ไม่อยากได้ที่ดินคืน
“แสตมป์” รับแล้ว “กลัวติดคุก” ยันโดนขู่ยัดคดี 112 ผวาจนต้องถอนฟ้องคู่กรณี
“Co-op Market Fair พลังสหกรณ์ ขับเคลื่อนสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น By ร้านสหกรณ์กรุงเทพ จำกัด สาขาเอกมัย”พบกับผลิตภัณฑ์สินค้าดีมีคุณภาพของสหกรณ์นำมาจำหน่ายสู่คนเมือง
เที่ยว ‘งานวัดโบราณ’ รับตรุษจีนที่เหอหนาน
บินโดรนโชว์ ‘มังกรร่อน หงส์ไฟรำ’ ในฉงชิ่งของจีน
‘เขาหวงซาน’ ของจีนติดสถานที่น่าเที่ยวปี 2025 ของนิวยอร์ก ไทม์ส

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น