“เอกนัฏ”แจงสภาฯ ใช้มาตรการเข้มปิดรง.น้ำตาลอุดรฯ แฉถูกตั้งค่าหัว200-300ล.โค่นเก้าอี้รมต.

"เอกนัฏ"แจงสภาฯ ใช้มาตรการเข้มปิดรง.น้ำตาลอุดรฯ แฉถูกตั้งค่าหัว200-300ล.โค่นเก้าอี้รมต.

“เอกนัฏ”แจงสภาฯ ใช้มาตรการเข้มปิดรง.น้ำตาลอุดรฯ แฉถูกตั้งค่าหัว200-300ล.โค่นเก้าอี้รมต.

 

ข่าวที่น่าสนใจ

23 มกราคม 2568 ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีวาระกระทู้ถามสด โดยนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ชี้แจงกระทู้ถามสดของนายธีระชัย แสนแก้ว สส.อุดรธานี พรรคเพื่อไทย ต่อกรณีการปิดโรงงานน้ำตาลไทยอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ซึ่งตั้งข้อสังเกตเป็นการเลือกปฏิบัติหรือไม่ เนื่องจากพื้นที่ที่พบว่ามีรับซื้ออ้อยเผาสูงกว่าจังหวัดอุดรธานี เกิน 25% กลับไม่พบการสั่งปิดโรงงาน

โดยนายเอกนัฏ ชี้แจงว่า ปัญหาPM2.5 เป็นปัญหาระดับประเทศ ซึ่งการแก้ปัญหาPM2.5 ไม่มีเส้นแบ่งระหว่างพรรคการเมืองหรือรัฐมนตรีกระทรวงใดกระทรวงหนึ่ง แต่เป็นภารกิจที่นายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญอย่างมาก ซึ่งในการศึกษาของนักวิชาการหลายคน PM2.5มีต้นตอหลากหลาย แต่ตนมีความตั้งใจว่า อยากจะทำให้อ้อยเป็นพืชเกษตรตัวอย่าง มีความรับผิดชอบ วันนี้ตัวเลขการเผาอ้อยต่ำที่สุดเป็นประวัติศาสตร์ เราตั้งเกณฑ์ 25% ต่อวัน เมื่อวานนี้เหลือเพียง 11% ซึ่งเกษตรกร โรงงานน้ำตาล รวมถึงพวกเราเองจะได้พูดด้วยความภูมิใจว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นในวันนี้ไม่ได้เกิดจากการเผาอ้อย การตัดสินใจของตนไม่ง่าย แต่เราต้องช่วยกัน และบางทีการแก้ปัญหามันมีต้นทุนที่ต้องจ่าย

 

นายเอกนัฏ ชี้แจงอีกว่า การลดการเผาอ้อยไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะเราได้ประกาศทุกปี และในปีนี้ชัดเจนในการประชุมคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายตั้งแต่เดือนตุลาคม 2567 ระหว่างโรงงานและเกษตรกร รวมถึงกระทรวงอุตสาหกรรม โดยได้ขอความร่วมมือลดการเผาไม่ให้เกินวันละ 25% และขอให้โรงงานรับอ้อยเผาไม่เกินวันละ 25% นอกจากนี้ยังมีมติ ครม.ที่ส่งมาถึงตน ขอให้กระทรวงเพิ่มมาตรการงดรับอ้อยเผาโดยสิ้นเชิงด้วยซ้ำ อย่างไรก็ดีการแก้ปัญหาตนไม่ได้ใช้ความเข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมายอย่างเดียว แต่ตนกำลังออกแบบระบบใหม่ โดยใช้มูลค่าทางการเกษตรเป็นแรงจูงใจ ส่งเสริมให้เกษตรกรตัดใบอ้อยรวบรวมส่งโรงงานเพื่อนำไปผลิตไฟฟ้า ซึ่งถ้าระบบนี้ออกมาสมบูรณ์แบบ ตนมั่นใจว่าจะไม่มีใครเผาใบ เพราะใบมีมูลค่า และรัฐก็ไม่ต้องเสียเงินปีละหมื่นล้านไปชดเชยช่วยเหลืออ้อยสดตันละ 120 บาท

 

 

ส่วนปัญหาการไม่รับซื้ออ้อยเผาที่อุดรธานีนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ชี้แจงว่า ก่อนวันที่อุตสาหกรรมจังหวัดอุดรธานีเข้าไปตรวจโรงงาน พบว่าโรงงานไทยอุดรธานีรับอ้อยเผาในปริมาณสูงสุดของประเทศ ประมาณ 4 แสนตัน โรงงานอื่นๆที่รับอ้อยเผาเกิน 25% ก็ได้ตัวเลขลงต่อวัน เหลือเพียงไม่กี่โรงงาน โดยเฉพาะที่อุดรธานี โดยวันที่อุตสาหกรรมจังหวัดอุดรธานีไปตรวจ โรงงานไทยอุดรธานีรับอ้อยเผามากที่สุดในปริมาณ 40%ต่อวัน และยังพบว่าโรงงานไฟฟ้าของไทยอุดรธานีที่อยู่ใกล้โรงงานน้ำตาลไม่มีวิศวกรควบคุม จึงขอสั่งให้หยุด เพื่อให้ปรับปรุง เมื่อปรับปรุงโรงงานก็กลับมารับอ้อยได้และร่วมมือรับซื้ออ้อยสด ส่วนอ้อยเผาพันคันที่ติดค้างนั้น ตนได้ช่วยแก้ปัญหาในวันนั้น และให้รับอ้อยจำนวนดังกล่าว ส่วนที่พบว่ามีอ้อยเน่า จะมีมาตรการเยียวยาต่อไป เพราะเราเข้าใจดีว่าเป็นรายได้สำคัญของเกษตรกร ยืนยันว่าไม่มีการเลือกปฏิบัติแน่นอน

 

นายเอกนัฏ กล่าวอีกว่า ตั้งแต่ตนเองทำหน้าที่รัฐมนตรีว่าการอุตสาหกรรมไม่ใช่นั่งเฉยๆ ในห้องแอร์ แต่ได้ลงพื้นที่ตรวจจับและจัดระบบใหม่ในภาคอุตสาหกรรม ปัญหากากอุตสาหกรรม สินค้าด้อยคุณภาพนำเข้าประเทศ ตนสั่งปิดและจับดำเนินคดีเด็ดขาด จนวันนี้มีการวางค่าตัวไว้แล้วว่ามีเงิน 200-300 ล้านบาทเพื่อย้ายรัฐมนตรี แต่ตนไม่เคยกลัว เพราะตนมีหน้าที่ที่ต้องทำ และรักษาประโยชน์ของส่วนรวม

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

วธ. เปิดบ้านศิลปินแห่งชาติ "ร.ต.ทวี บูรณเขตต์" ศิลปินแห่งชาติ ผู้สร้างสรรค์ประติมากรรม "พระพุทธชินราช" จำลอง
ศาลให้ประกันตัว "สมรักษ์ คำสิงห์" ตีวงเงิน 4 แสนบาท คดีพรากผู้เยาว์-พยายามข่มขืนสาว 17
นาทีประวัติศาสตร์! นายกฯร่วมพิธีลงนาม FTA ฉบับแรกไทยกับยุโรป ความสำเร็จรัฐบาล สร้างโอกาสยุคทองการค้า-ลงทุน
กรมโยธาธิการและผังเมือง เน้นย้ำ “มาตรการป้องกันฝุ่น” ก่อสร้างอาคาร ร่วมเดินหน้าเร่งแก้ไข PM 2.5
“เต้” เล่านิทานคืนสยองขวัญ “คนบนฝั่ง” อำนาจล้น-สั่งปิดปากคดี “แตงโม”
ผู้นำสิงคโปร์เตือนสงครามโลกหากถูกบังคับเลือกข้าง
ทหารเกาหลีเหนือพุ่งโขกเสาหนีโดนจับ
ผู้นำสหรัฐฯจี้ปูตินจบสงครามไร้สาระหรือเจอแซงชั่น
สหรัฐฯขึ้นบัญชีฮูตีองค์กรก่อการร้ายต่างชาติ
DSI เข้าเรือนจำ แจ้งข้อหาเพิ่ม ‘บอสพอล-สามารถ’ สมคบร่วมฟอกเงิน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น