เปิดภาพ “แม่ตั๊ก-ป๋าเบียร์” เดินทางออกจากเรือนจำ หลังศาลให้ประกันตัว

เปิดภาพ "แม่ตั๊ก-ป๋าเบียร์" เดินทางออกจากเรือนจำ หลังศาลให้ประกันตัว

Top news รายงาน นางสาวกรกนก หรือแม่ตั๊ก เดินทางออกจากทัณฑสถานหญิงกลาง และ นายกานต์พล หรือป๋าเบียร์ เดินทางออกจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ หลังจากที่ศาลอาญา มีคำสั่งพิจารณาประกันตัว พร้อมกำหนดเงื่อนไขห้ามแม่ตั๊ก และป๋าเบียร์ นำข้อมูลเกี่ยวกับคดีนี้ออกสื่อสังคมออนไลน์ และทุกช่องทางการสื่อสาร ห้ามมิให้กระทำการใดๆ ที่จะเป็นอุปสรรค หรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่การดำเนินคดีในศาล และเพื่อป้องกันไม่ให้ทั้งคู่หลบหนี จึงให้ใส่อุปกรณ์กำไลอิเล็กทรอนิกส์ (EM) ติดตามตัว หากผิดเงื่อนไขศาลจะพิจารณาเพิกถอนคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว พร้อมทั้งห้ามเดินทางออกนอกประเทศ โดยให้นำหนังสือเดินทางประเทศที่ยังไม่หมดอายุมาวางที่ศาล โดยให้แจ้งคำสั่งกับสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองทราบโดยเร็ว

 

ก่อนหน้านี้ทนายความของทั้ง 2 คน ได้ยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวชั้นพิจารณา โดยศาลอาญา มีคำสั่งว่าพิเคราะห์แล้วข้อหาที่ถูกฟ้องมีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ระหว่างสอบสวนทั้ง 2 คน ถูกขังมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว ทั้งนำเงินมาวางศาลเพื่อบรรเทาความเสียหายเต็มตามฟ้อง ให้กับผู้เสียหายทั้ง 36 คน พฤติการณ์แห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป เมื่อปรากฏว่าทั้งแม่ตั๊ก และป๋าเบียร์ มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง และวางหลักประกันเป็นเงินสดคนละ 2 ล้านบาท อีกทั้งยินยอมปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ศาลกำหนด หากได้รับอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวเชื่อว่าจะไม่หลบหนี จึงมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวระหว่างพิจารณา

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ด้านนายรัฐวิชญ์ อริยพัชญ์พล โฆษกศาลยุติธรรม กล่าวถึงหลักการที่เกี่ยวกับการพิจารณาสั่งประกันว่า โดยหลักแล้วสิทธิในการได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างพิจารณา เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 29 วรรคสอง รับรองสิทธิในการได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างพิจารณาไว้ว่า “ในคดีอาญา ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหา หรือจําเลยไม่มีความผิด และก่อนมีคําพิพากษาอันถึงที่สุด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้”

 

 

 

 

 

ซึ่งหลักการนี้ก็ปรากฏอยู่ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาคดีอาญา มาตรา 107 ที่บัญญัติรับรองไว้อย่างชัดแจ้งว่า ผู้ต้องหา หรือจำเลยทุกคน พึงได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว เว้นแต่กรณีใดที่มีข้อเท็จจริงเฉพาะเรื่องที่อาจกระทบต่อความปลอดภัยของสังคม หรือความต่อเนื่องของการดำเนินคดี กฎหมายจึงจะเปิดช่องให้มีการคุมขังระหว่างพิจารณาไว้อย่างจำกัด นอกจากนี้ การสั่งปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างพิจารณาของศาลยุติธรรมในปัจจุบันยังให้ความสำคัญกับการนำมาตรการทางเลือกมาใช้แทนการนำเงินสด หรือหลักประกันมาวางศาล เช่น มาตรการตั้งผู้กำกับดูแล หรือการนำกำไลอิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว “EM” (Electronic Monitoring) มาใช้

เพื่อเพิ่มทางเลือกให้แก่ประชาชน และลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้นระหว่างผู้ต้องหา หรือจำเลยที่มีฐานะทางเศรษฐกิจแตกต่างกัน ให้สามารถเข้าถึงสิทธิในการได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างพิจารณาอย่างเท่าเทียมกัน อันเป็นมาตรการตามนโยบายของประธานศาลฎีกาที่มุ่งสร้างสมดุล และอำนวยความยุติธรรม เพื่อคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน และความมั่นคงปลอดภัยของสังคมไปพร้อมกัน

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

มาแน่ "กรมอุตุฯ" ประกาศฉบับ 7 เตือน "ภาคใต้" ฝนตกหนักถึงหนักมาก จว.ไหนบ้างเช็กเลย
นักวิเคราะห์ชี้ทรัมป์จ้องเล่นอินโดจีนเพราะสนิทจีน
"กรมศิลปากร" จัดกิจกรรมรณรงค์ดูแลรักษามรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ ณ วัดอัปสรสวรรค์วรวิหาร เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย
"ก.แรงงาน" จ่อฟ้อง 21 บริษัท เรียกร้องเงินเยียวยา ผู้ประสบเหตุอาคาร สตง.พังถล่ม พร้อมดูแลญาติเหยื่อต่อเนื่อง 10 ปี
"ตร.ไซเบอร์" เปิด 4 ปฏิบัติการ รวบ 7 ผู้ต้องหาแก๊งลวงออนไลน์
"สรรพากร" ขยับแล้ว ส่งทีมร้อง ดีเอสไอ เอาผิด "ซิน เคอหยวน" พร้อมพวก ฉ้อโกงใช้ใบกำกับภาษีปลอม
ครอบครัวสุดเศร้า จัดพิธีฌาปนกิจศพ "นายนอย" เหยื่อตึก สตง.ถล่ม
ฝรั่งเศสเล็งตอบโต้”การบริการออนไลน์”สหรัฐ
ผอ.แจงอาคาร สตง.พะเยา งบ 70 ล้านบาท สร้างได้ 30% ยันไม่ได้ทิ้งร้าง แต่ผู้รับเหมาทิ้งงานเอง
สภาเดือด! เถียงกันวุ่น ปมเลื่อนญัตติเอ็นเตอร์เทนเมนต์ฯ-แผ่นดินไหว "วันนอร์" ลุกเรียกจนท.เข้าควบคุมเหตุ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น