“เผ่าภูมิ” โชว์ผลงาน แจกเงินหมื่นเฟส 1 กระจายเงินสู่จังหวัดยากจน ลดเหลื่อมล้ำเร็วขึ้น 3 ปี

เผ่าภูมิ โชว์ผลแจกเงิน 10,000 บาท เฟส 1 เงินลงจังหวัดยากจน ลดเหลื่อมล้ำเร็วขึ้น 3 ปี 68% ลงร้านชุมชน 82% ใช้หมด 3 เดือน ตัวชี้วัดเศรษฐกิจพุ่ง

“เผ่าภูมิ” โชว์ผลงานแจกเงินหมื่นเฟส 1 กระจายเงินสู่จังหวัดยากจน ลดเหลื่อมล้ำเร็วขึ้น 3 ปี – Top News รายงาน

เผ่าภูมิ

เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2568 นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยถึง ผลโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 หรือ แจกเงิน 10,000 บาท เฟส 1 ผ่านผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและคนพิการ จากการประมวลของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และสำนักงานสถิติแห่งชาติ ดังนี้

1.“เงินกระจายถูกฝาถูกตัว” กล่าวคือ จังหวัดที่มีสัดส่วนของผู้ได้รับเงินสูง คือ จังหวัดยากจน มี GPP per Capita หรือผลิตภัณฑ์จังหวัดต่อหัวต่ำ ภูมิภาคที่รับเงินมากอยู่ในภาคเหนือ ภาคอีสาน และกลุ่มจังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งทำให้ภูมิภาคเหล่านี้มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นมากที่สุด

2.“เงินกระจายทั่วถึงทุกพื้นที่” ครอบคลุมครบทุกตำบลทั่วประเทศไทย กล่าวคือ ไม่มีตำบลใดเลยที่ไม่ได้รับเงิน

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

3.“เงินพุ่งสู่ร้านเล็ก ร้านในชุมชน” ร้อยละ 68 นำเงินไปใช้จ่ายในร้านค้าชุมชน/ร้านขายของชำ ร้านหาบเร่แผงลอยทั่วไป/ร้านค้าในตลาด ร้อยละ 30 นำไปใช้จ่ายในร้านสะดวกซื้อและ Modern Trade และที่เหลืออีกร้อยละ 2 ใช้จ่ายในร้านอื่นๆ เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านค้าการเกษตร ร้านออนไลน์ เป็นต้น

4.“ส่วนใหญ่ใช้เงินหมดใน 3 เดือน” โดยร้อยละ 82 จะใช้จ่ายเงินหมดภายใน 3 เดือน ขณะที่ภายใน 1 เดือน อยู่ที่ร้อยละ 21 และ 1-3 เดือน ร้อยละ 61

5.“ตัวชี้วัดเศรษฐกิจ พุ่ง” ความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้นอยู่ที่ 56.9 ในไตรมาสที่ 4 สูงขึ้นกว่าไตรมาสที่ 3 ที่ระดับ 56.5 ดัชนีความเชื่อมั่น MSMEs ปรับตัวดีขึ้นอยู่ที่ 53.0 ในไตรมาสที่ 4 จากระดับ 49.6 ในไตรมาสที่ 3 ดัชนีความเชื่อมั่นเศรษฐกิจภูมิภาคปรับตัวดีขึ้นในหลายภูมิภาค การท่องเที่ยว การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม และรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่เพิ่มขึ้น โดยตัวชี้วัดเศรษฐกิจที่กล่าวมาข้างต้นล้วนเพิ่มขึ้นในไตรมาสที่ 4 โดยเฉพาะเดือนตุลาคม ที่เงินลงสู่ระบบเศรษฐกิจเต็มเดือน

 

6.“ลดเหลื่อมล้ำเร็วขึ้น 3 ปี” การศึกษาดัชนี GINI ซึ่งใช้วัดความเหลื่อมล้ำ หากลดลงแปลว่ามีความเท่าเทียมเพิ่มขึ้น ของกระทรวงการคลังพบว่า พบว่าช่วยลดระดับดัชนี GINI ได้ 0.01 จุด ทั้งดัชนี GINI ด้านรายได้ และดัชนี GINI ด้านรายจ่าย กล่าวคือ ลดระดับความเหลื่อมล้ำลงได้ และหากเปรียบกับกรณีที่ไม่มีโครงการนี้ การที่ดัชนี GINI ลดลงได้ 0.01 จุดดังกล่าว มักใช้เวลานานถึง 3 ปี อ้างอิงตามแนวโน้มการพัฒนาการเศรษฐกิจในอดีต กล่าวคือ โครงการนี้ร่นระยะเวลาลดความเหลื่อมล้ำประเทศเร็วขึ้น 3 ปี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เปิดรายละเอียด กกต.สั่งลงคะแนน "นายกอบจ." ใหม่ 4 จังหวัด ไม่ส่งผลต่อผู้ชนะ
"เอกนัฏ" สั่ง "ทีมสุดซอย" ทลายโรงงานใน จ.สมุทรสาคร ลักลอบหลอมชิ้นส่วนขยะอิเล็กทรอนิกส์-ผลิตปลั๊กไฟ พบเชื่อมโยงโรงงานเถื่อนปราจีนฯ
กกต.สั่งลงคะแนนใหม่เลือกตั้ง อบจ. 22 หน่วย 11 จังหวัด 23 ก.พ.นี้
"สาวไต้หวัน" พร้อมบินมาไทย ให้การเพิ่มเติม ปมถูก "ส.ส.ปูอัด" ละเมิด ขืนใจ
“บิ๊กต่าย” สั่งเด้ง “ผู้การต๊ะ” ช่วยราชการศปก.ตร. โยงปมบ่อนกาสิโนเมืองเมียวดี หากผิดจริง เจอฟันโทษหนัก
ผบ.ตร. สั่งเด้ง "ผู้การฯตาก" บกพร่องต่อหน้าที่ ปล่อยมิจฉาชีพใช้ช่องทางข้ามแดน
“วัน อยู่บำรุง ” ไลฟ์เดือด! เปิดแชทจัดเต็ม ยันไม่ใช่นักการเมืองขอดูภาพลับ “แตงโม”
"พรรคกล้าธรรม" เปิดบ้านครั้งแรก ประชุม กก.บห.-สส. ประกาศปักธงเพิ่มสมาชิก
การเคหะแห่งชาติ ครบรอบ 52 ปี ก้าวสู่ปีที่ 53 มุ่งเน้น "สร้างบ้าน สร้างสุข เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี"
เปิดนาที ตร.วิสามัญคนร้ายแก๊งลักจยย.ดับ 1 ราย เหิมชักปืนขู่เตรียมยิงเปิดทาง อีกรายเร่งล่าตัว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น