“สชวท.” เร่งส่งเสริมความรู้ ความปลอดภัย พร้อมเตรียมบุคลากรรับมือนโยบายบำบัดน้ำเสีย

"สชวท." เร่งส่งเสริมความรู้ ความปลอดภัย พร้อมเตรียมบุคลากรรับมือนโยบายบำบัดน้ำเสีย

ผศ.ดร.บุญส่ง ไข่เกษ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา ในฐานะนายกสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สชวท.) เป็นประธานแถลงถึงบทบาทสำคัญของสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ.2551 โดยมีเป้าหมายหลักในการส่งเสริมการใช้ความรู้และทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในภาคอาชีพ รวมถึงการคุ้มครองความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนท่ามกลางการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

 

โครงสร้างและบทบาทภายในสภา

สภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีดำเนินงานโดยคณะกรรมการจำนวน 21 ท่าน ซึ่งประกอบด้วย
•12 ท่าน ที่มาจากการเลือกตั้งของสมาชิก
•4 ท่าน ที่มาจากการแต่งตั้งของคณะรัฐมนตรี โดยดำรงตำแหน่งสำคัญ ได้แก่
•ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม
•เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
•ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ
•ผู้แทนประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
•และกรรมการอีก 4 ท่าน โดยดำรงตำแหน่งตามความรับผิดชอบเฉพาะ

 

ข่าวที่น่าสนใจ

คณะกรรมการมีวาระดำรงตำแหน่ง 3 ปี ปัจจุบัน สชวท. มีสมาชิกกว่า 7,729 คน พร้อมภาคีเครือข่ายมากกว่า 50 เครือข่าย
ในส่วนของการควบคุมและกำกับมาตรฐานการประกอบวิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สชวท. ได้จัดตั้งคณะอนุกรรมการวิชาชีพควบคุมออกใบอนุญาตใน 8 สาขา โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานในแต่ละสาขาดังนี้

1. สาขานิวเคลียร์ – ศ.ดร.สุพิชชา จันทรโยธา
2. สาขาการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและการควบคุมมลพิษ – น.ส.ขนิษฐา ทักษิณ
3. สาขาการผลิต การควบคุมและการจัดการสารเคมีอันตราย – ศ.ดร.สุภา หารหนองบัว
4. สาขาการเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์และการใช้จุลินทรีย์ก่อให้เกิดโรค – ผศ.ดร.ไตรเทพ วิชย์โกวิทเทน
5. สาขาธรณีวิทยา – ดร.สมหมาย เตชวาล
6. สาขาอนามัยสิ่งแวดล้อม – รศ.ดร.สุเทพ ศิลปานันทกุล
7. สาขานิติวิทยาศาสตร์ – รศ.ดร.บุษบา ฤกษ์อำนวยโชค
8. สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย – รศ.วิชัย พฤกษ์ธาราธิกูล

 

นอกจากนี้ สภายังให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพของสมาชิกและบุคคลทั่วไปผ่านการอบรมโดยคณะอนุกรรมการฝึกอบรม ที่มี ดร.กิตติพจน์ เพิ่มพูล เป็นประธาน และการเผยแพร่ข่าวสารด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้ประชาชนได้รับทราบอย่างทันท่วงทีผ่านคณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วม ภายใต้การนำของ ดร.กล้า มณีโชติ

 

 

ภารกิจเร่งด่วน: เตรียมบุคลากรสำหรับมาตรฐานระบบบำบัดน้ำเสีย

ด้วยสถานการณ์มลพิษทางน้ำในปี 2566 ที่พบแหล่งปล่อยน้ำเสียจากร้านอาหาร ตลาด อาคารราชการ สำนักงาน อาคารชุด ห้างสรรพสินค้า และโรงแรม ซึ่งส่วนใหญ่ยังไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน สภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจึงมีภารกิจเร่งด่วนในการเตรียมความพร้อมของบุคลากรให้ได้มาตรฐานรองรับการบังคับใช้ กฎกระทรวงการปฏิบัติงานเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดน้ำเสียและรับจ้างให้บริการบำบัดน้ำเสีย พ.ศ.2567
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติร่างกฎกระทรวงดังกล่าวเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 และประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2567 โดยมีกำหนดบังคับใช้ในวันที่ 24 กรกฎาคม 2568 ขณะนี้มีผู้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมมลพิษทางน้ำกับสภาเพียง 52 ราย ทำให้เห็นถึงความจำเป็นในการขยายฐานบุคลากรให้เพียงพอ

 

สภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจึงเชิญชวนผู้ที่จบการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
1. เป็นสมาชิกสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2. สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีทางด้านวิทยาศาสตร์
3. มีการศึกษาหลักสูตรเกี่ยวกับการควบคุมมลพิษทางน้ำไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต

เพื่อขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมมลพิษทางน้ำ ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการดูแลและควบคุมระบบบำบัดน้ำเสียตามกฎหมายใหม่ โดยเปิดรับสมัครและสอบใบอนุญาตลงทะเบียนตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ.2568 และมีกำหนดสอบในวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ.2568

ช่องทางการติดต่อ สำหรับผู้ที่สนใจและต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ที่

ที่อยู่: อาคารพระจอมเกล้า ห้องเลขที่ 327 ชั้น 3, 75/47 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไทย, เขตราชเทวี, กรุงเทพฯ 10400

โทรศัพท์: 0 2333 3700 ต่อ 3010, 3020, 3021 (ฝ่ายนโยบายและแผน), 3022, 3891 (ฝ่ายการเงินและบัญชี)

โทรศัพท์เคลื่อนที่: 081 148 6766, 096 798 2441, 095 360 6202

อีเมล: [email protected]

Social Media:
Facebook: facebook.com/cstp.or.th
Youtube: youtube.com/@cstp.official
Tiktok: tiktok.com/@cstp.official
Website: cstp.or.th
Line Official: @cstp

ด้วยบทบาทสำคัญในการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพและคุ้มครองความปลอดภัยด้านวิทยาศาสตร์ สภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจึงมุ่งมั่นพัฒนาบุคลากรและสร้างเครือข่ายเพื่อรองรับความท้าทายและการเปลี่ยนแปลงในยุคของนวัตกรรมและเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"นายกฯ" ชวนคณะครม. สวมชุดผ้าลายพระราชทาน "สิริราชพัสตราภรณ์"
‘แม่พีม’ ยันไม่ประกันตัว ไร้กำลังทรัพย์ ลั่นอยากให้เรียนรู้ชีวิตเอง ด้านตร.คุมตัว ‘พีม-โอชิ’ แก๊ง LGBTQ สาดน้ำซุป ฝากขัง
วิกฤตภัยแล้งทำ "ปาล์ม" ราคาพุ่งสูงถึง 10 บาทต่อกิโลกรัม
เดือดปุดๆ "ทรัมป์" ขู่เส้นตาย "ฮามาส" จี้ปล่อยตัวประกัน ไม่งั้นนรกแตกแน่
"ศูนย์การเรียนรู้และส่งเสริมอาชีพเลี้ยงไก่ไข่ในรูปแบบฟาร์มกลาง" ต้นแบบการพลิกวิกฤตเป็นโอกาสของสหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่เชียงใหม่-ลำพูน จำกัด
"บิ๊กรัสเซีย" แหกโม้คำโต "ทรัมป์" เตือนความจำเงื่อนไขยุติสงครามของ "ปูติน"
"ม.กรุงเทพ" ออกแถลงการณ์ฉบับ 3 ไล่มือตัดผม คดีสาดน้ำร้อน พ้นสภาพนักศึกษา
โค้งสุดท้าย ต่ออายุใบอนุญาตทำงานของแรงงานต่างด้าว 4 สัญชาติ ถึง 13 ก.พ.นี้
CMG เตรียมจัดงานเฉลิมฉลองเทศกาลโคมไฟจีนปี 2025
ตร.ไซเบอร์ "ล่าปิดเกาะภูเก็ต" จับขบวนการไต้หวัน ฟอกเงินเว็บพนันฯ พบหมุนเวียนกว่า 20 ล้านบาท

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น