ชาวตรังสืบสาน “งานบุญให้ทานไฟ” วันมาฆบูชา ท่ามกลางบรรยากาศสุดคึกคัก

ชาวจ.ตรัง ร่วมสืบสานประเพณีโบราณ "งานบุญให้ทานไฟ" กันคึกคัก ทำบุญตักบาตรอาหารร้อน ถวายพระภิกษุสงฆ์ สามเณรกว่า 100 รูป ในวันมาฆบูชา

ชาวตรังสืบสาน “งานบุญให้ทานไฟ” วันมาฆบูชา ท่ามกลางบรรยากาศสุดคึกคัก – Top News รายงาน

 

เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 04.00 น. ที่ผ่านมา ที่วัดควนนาแค หมู่ 5 ต.บ้านควน อ.เมือง จ.ตรัง นายทรงกลด สว่างวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ได้เป็นประธานเปิดงานบุญให้ทานไฟ ประจำปี 2568 โดยมีพระครูประยุตอัครธรรม เจ้าอาวาสวัดควนนาแค นายเอกพล ณ พัทลุง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านควน และประชาชนจาก ต.บ้านควน รวมถึงพื้นที่ใกล้เคียง เข้าร่วมงานกันอย่างคับคั่ง

 

 

สำหรับงานบุญให้ทานไฟ ของวัดควนนาแค ได้จัดต่อเนื่องมาเป็นปี 25 ปี เพื่อคงไว้ซึ่งวัฒนธรรมเก่าแก่ของชุมชน ซึ่งปัจจุบันเป็นวัดเดียวในจังหวัดตรังที่ยังคงสืบทอดประเพณีให้ทานไฟ โดยมีจุดมุ่งหมายให้ชาวบ้านได้ทำบุญเนื่องในวันมาฆบูชา สร้างความรักและความสามัคคีในชุมชนเป็นการสืบสานประเพณี เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่า ช่วยส่งเสริมให้คนในชุมชนมีโอกาสทำบุญร่วมกัน และยังช่วยเผยแพร่ขนมพื้นบ้านที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดตรังให้คงอยู่สืบไป

งานบุญให้ทานไฟ

ข่าวที่น่าสนใจ

โดยงานเริ่มขึ้นตั้งแต่เวลา 03.30 น. มีชาวบ้านและร้านค้ากว่า 100 ร้านค้า ร่วมกันจัดเตรียมอาหารสดใหม่ ทั้งคาวและหวาน โดยเฉพาะขนมพื้นบ้านที่หาทานได้ยาก อาทิ ขนมหม้อข้าวหม้อแกงลิง ขนมรู ขนมครก ข้าวเกรียบปากหม้อ ขนมโค ขนมพิมพ์ ขนมจาก ขนมจู่จุน ข้าวเหนียวกวนทอด ขนมกวนสาคู ขนมเทียน ฯลฯ

 

นอกจากนี้ ยังมีน้ำชา กาแฟ หมี่ผัด ข้าวต้ม ข้าวเหนียวหลาม ขนมปังปิ้ง และที่ขาดไม่ได้คือ “ขนมเบื้อง” หรือ “ขนมฝามี” ขนมโบราณอายุ 100 ปี ซึ่งต้องนำมาถวายพระตามความเชื่อแต่โบราณ โดยมีพระประสิทธิโสภณ เจ้าอาวาสวัดประสิทธิชัย รองเจ้าคณะจังหวัดตรัง เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ รับภัตตาหารเช้าและแจกจ่ายขนมให้แก่ชาวบ้านที่มาร่วมงาน หลังเสร็จพิธีพระภิกษุสงฆ์ได้สวดให้ศีลให้พรแก่ผู้ร่วมบุญ จากนั้นชาวบ้านได้ร่วมกันรับประทานอาหารในบรรยากาศที่เต็มไปด้วยความสุข

สำหรับการให้ทานไฟเป็นประเพณีโบราณที่มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล โดยมีเรื่องเล่าว่า “โกสิยเศรษฐี” ผู้ตระหนี่แห่งเมืองราชคฤห์ ได้รับการโปรดจากพระมหาโมคคัลลานเถระ ทำให้เกิดศรัทธาในพระพุทธศาสนา และถวายขนมเบื้อง (ขนมกุมมาส) แก่พระพุทธเจ้าและพระภิกษุ 500 รูป ต่อมาขนมเบื้องที่ถวายมีเหลือมากจนต้องนำไปทิ้ง ณ ซุ้มประตูวัดเชตวัน สถานที่แห่งนี้จึงถูกเรียกว่า “เงื้อมขนมเบื้อง”

จากตำนานดังกล่าว พุทธศาสนิกชนจึงนิยมจัดพิธีให้ทานไฟในช่วงเดือนอ้ายหรือเดือนยี่ (ปลายเดือนธันวาคม – ต้นเดือนกุมภาพันธ์) ซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาวในภาคใต้ เพื่อถวายอาหารร้อนให้พระภิกษุสงฆ์คลายหนาว โดยก่อกองไฟในลานวัด และทำขนมถวายพระ

  

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เหยื่อรายใหม่โผล่ร้อง ‘กัน จอมพลัง’ เอาผิดแก๊งสาดน้ำซุป เผยโดนทำร้ายน่วม หนักสุดที่ใบหน้า
เดือด! ทำไมแค่สั่งย้าย “ผู้การ” เอี่ยวเมียวดี เหยื่อมิจฯ 5 แสนคนข้องใจ-พร้อมบวก
โปรดเกล้าฯ “สุชาติ ตระกูลเกษมสุข” นั่งประธาน ป.ป.ช.คนใหม่
"พม่า" ปิดทางขนน้ำมันเข้า "เมียวดี" เข้มกฎเหล็กขับรถไปไทยได้วันละเที่ยว สกัดตุนน้ำมัน
จนท.เข้มชายแดนจันทบุรี – ไพลิน หลังพบแก๊งคอลย้ายฐานฝั่งเมียวดี 10 กาสิโนใช้สัญญาณโทรศัพท์-เน็ตจากไทย
โฆษกปปง. ยันคดีแพ่งยังเดินหน้าต่อ แม้ศาลสั่งยกฟ้อง ‘ตู้ห่าว-พร้อมพวก 19 คน’
อ่านแล้วยิ้ม "หมอเหรียญฯ" โพสต์ข้อเสีย "บัตรทองแพลตตินัม" รพ.มงกุฏวัฒนะ" แต่พอเจอ 5 ข้อดี ผู้ป่วยรีบสมัครสมาชิกเลย
"เนทันยาฮู" ปลุกสงครามกาซา ระดมกำลังล้อมรอบ - "ฮามาส" กร้าวไม่ให้ค่าคำขู่
โดนทลายยกก๊วน ตำรวจคลองหลวงรวบ ‘โปเต้’ หุ้นส่วนบุหรี่ไฟฟ้า "พีม" มือสาดน้ำร้อน เจอของกลางในคอนโดฯ เกือบ 300 ชิ้น
"อดีตบิ๊กข่าวกรอง" เตือนสภาฯ อย่าปกป้องสส.ทำผิด ท้าส่งตัวตร.พิสูจน์ความจริง

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น