ปิดประตูแก้รธน. สัญญาณชัด “ภูมิใจไทย-สว.สีน้ำเงิน” ขวางเต็มตัว ไม่เสี่ยงผิดกม.

ปิดประตูแก้รธน. สัญญาณชัด "ภูมิใจไทย-สว.สีน้ำเงิน" ขวางเต็มตัว ไม่เสี่ยงผิดกม.

การแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเปิดโอกาสในการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ ดูเหมือนจะเป็นไปได้ยากภายหลังฝ่ายที่่ไม่เห็นด้วย โดยเฉพาะกลุ่มส.ว.เริ่มมีความเคลื่อนไหว โดยล่าสุดสำนักกฎหมาย สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ได้ทำความเห็นเรื่องร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่..) พุทธศักราช…. (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 256 หลักเกณฑ์และวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญและเพิ่มหมวด 15/1 การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่) ของนายพริษฐ์ วัชรสินธุ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน (ปชน.) กับคณะเป็นผู้เสนอ โดยสำนักกฎหมายฯ พิจารณาแล้วมีความเห็นต้องมีการออกเสียงประชามติ 3 ครั้ง ประกอบด้วย ครั้งที่ 1 ถามประชาชนก่อนว่าต้องให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหมหรือไม่ ครั้งที่ 2 (ถ้าผ่านครั้งที่ 1) นำร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับที่เสนอแก้มาตรา 256+เพิ่มหมวด 15/1 เสนอที่ประชุมร่วมรัฐสภา ถ้าสภาเห็นชอบแล้ว จึงไปทำประชามติอีกที
ครั้งที่ 3 (ถ้าผ่านครั้งที่ 2) ตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) มาร่วมรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เสนอต่อรัฐสภาพิจารณาแล้วจึงทำประชามติ

 

 

 

 

ประกอบกับรัฐธรรมนูญมาตรา 221 วรรคสี่ บัญญัติว่า “คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา ครม. ศาล องค์กรอิสระ และหน่วยงานรัฐ” ซึ่งความเห็นหลักฝ่ายนี้มีการอ้างอิงคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 18- 22/2555 เมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2555 และคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 4/2564 เมื่อวันที่ 11 มี.ค.2564 ซึ่งเป็นคำวินิจฉัยกลางของศาล (มิใช่คำวินิจฉัยส่วนตน) ตามที่วินิจฉัยว่า”…รัฐสภามีหน้าที่ และอำนาจจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้โดยต้องให้ประชาชนผู้มีอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ ได้ลงประชามติเสียก่อนว่าประชาชนประสงค์จะให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ และเมื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสร็จแล้ว ต้องให้ประชาชนลงประชามติเห็นชอบหรือไม่กับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อีกครั้งหนึ่ง” มาเป็นหลักในการพิจารณา

ข่าวที่น่าสนใจ

ทั้งนี้ คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวได้วินิจฉัยไว้อย่างชัดเจนว่า การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ด้วยวิธีการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมให้มีหมวด 15/1 มีผลเป็นการยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ต้องจัดให้ประชาชนออกเสียงประชามติก่อนว่า สมควรมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ (การออกเสียงประชามติ ครั้งที่ 1 ) และเมื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสร็จแล้วต้องให้ประชาชนลงมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อีกครั้ง (การออกเสียงประชามติ ครั้งที่ 3) ส่วนการออกเสียงประชามติ ครั้งที่ 2 เป็นไปโดยบทบัญญัติเฉพาะของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 256 (8)

 

 

 

 

 

 

ความเห็นของสำนักกฎหมายฯ นายมงคล สุระสัจจะ ประธานวุฒิสภา ในฐานะรองประธานรัฐสภา ได้ทำหนังสือแจ้งต่อนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา ให้ทราบแล้วเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา และเชื่อว่าความเห็นดังกล่าวจะเป็นท่าทีของ ส.ว.ส่วนใหญ่ในการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่จะมีการพิจารณาในการประชุมร่วมรัฐสภาวันที่ 13-14 ก.พ.นี้

 

ขณะที่ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่ากระทรวงมหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย เปิดเผยว่า พรรคภูมิใจไทย มีเป็นมติเอกฉันท์ ไม่ร่วมพิจารณาเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญในวันที่ 13-14 กุมภาพันธ์นี้ เพราะเห็นว่า การบรรจุวาระเข้ามายังมีความขัดแย้งคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญปี 2564 ที่ระบุว่า ต้องมีการถามประชามติจากพี่น้องประชาชนก่อน เมื่อการพิจารณาการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่จะเกิดขึ้น ขั้นตอนการทำประชามติยังไม่ได้รับการปฏิบัติพรรค จึงเห็นว่า มีความสุ่มเสี่ยงไม่สามารถที่จะไปรับฟังความคิดเห็นนั้นได้ เพราะเรามี ส.ส. ซึ่งพี่น้องประชาชนได้เลือกให้เราเข้ามาทำงาน ถึง 71 คน เราก็ต้องทำงาน จะไปรับความเสี่ยง โดยมีคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญออกมาเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างชัดเจนแล้วไม่ได้

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

คนร้ายขับรถพุ่งชนฝุงชนในมิวนิคของเยอรมนี
จีนเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดประชุมสันติภาพรัสเซีย-ยูเครน
ก๊าซระเบิดในห้างไต้หวันดับ-เจ็บหลายสิบคน
หม่องชิตตูผู้นำ BGF โวยไทยเตรียมออกหมายจับ
“ทนายอานนท์” เขียนจม.ฟ้อง UN ซ้ำบิดเบือนข้อเท็จจริง ปมถูกดำเนินคดี 112
"บิ๊กเต่า" พร้อมลุย ขบวนการคนไข้ทิพย์ เบิกยาโรงพยาบาลทหารผ่านศึก ก่อนนำไปขายต่อ
CP for a Better Tomorrow: เครือซีพีจับมือ 3 กลุ่มธุรกิจหลัก ร่วมงาน FTI EXPO 2025 นำเสนอนวัตกรรม-โซลูชันสุดล้ำในแนวคิด '4 GO' พลิกโฉมอุตสาหกรรมไทย ตอบโจทย์เศรษฐกิจยุคดิจิทัล
ปลดล็อก!! กรมส่งเสริมสหกรณ์ หารือผู้แทนชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์ออมทรัพย์ เร่งแก้ไขกฎกระทรวงการฝากเงินและการลงทุนฯ หลังเกิดผลกระทบกับสหกรณ์ที่มีเงินล้นระบบ คาดแล้วเสร็จภายใน 3 เดือน มีเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจไม่ต่ำกว่าปีละ 50,000 ล้านบาท
ตร.รู้เบาะแส คนร้ายแก๊งลักรถจยย.ยิงสู้ตำรวจแล้ว เร่งติดตามไล่ล่า
"พิพัฒน์" รุกตลาดแรงงานในปารีส ขยายอาชีพนวด-สปาไทย ชี้รายได้ดี พร้อมสวัสดิการครบ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น