เปิดฉากการฝึกกองทัพเรือปี 68 ภายใต้แนวคิด “รบอย่างไร ฝึกอย่างนั้น” “ผบ.ทบ.” ยันรุกอุดช่องโหว่ ภัยคุกคามไซเบอร์

เปิดฉากการฝึกกองทัพเรือปี 68 ภายใต้แนวคิด “รบอย่างไร ฝึกอย่างนั้น” “ผบ.ทบ.” ยันรุกอุดช่องโหว่ ภัยคุกคามไซเบอร์

เปิดฉากการฝึกกองทัพเรือปี 68 ภายใต้แนวคิด “รบอย่างไร ฝึกอย่างนั้น” “ผบ.ทบ.” ยันรุกอุดช่องโหว่ ภัยคุกคามไซเบอร์

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

13 ก.พ.68 ที่ท่าเรือแหลมเทียนกลางท่าเรือสัตหีบ ฐานทัพเรือสัตหีบ จังหวัดชลบุรี พลเรือเอก จิรพล ว่องวิทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) เป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกกองทัพเรือ ประจำปี 2568 โดยมีผู้บังคับบัญชาระดับสูงของกองทัพเรือ พร้อมกำลังพล เข้าร่วมในพิธี

 

 

ภายหลังพิธีเปิด พลเรือเอกจิรพล ได้ร่วมสังเกตการณ์ การสาธิตการปฏิบัติการทางเรือและอากาศยาน และเยี่ยมชม การแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ที่จะใช้ในการฝึกกองทัพเรือในปีนี้ การฝึกกองทัพเรือประจำปี ถือเป็นการฝึกที่มีความสำคัญสูงสุดของกองทัพเรือ โดยใช้แนวความคิดในการฝึกว่า “รบอย่างไร ฝึกอย่างนั้น” ซึ่งในปีนี้เป็นการฝึกป้องกันประเทศโดยกำหนดสถานการณ์ตั้งแต่ในขั้นปกติสถานการณ์วิกฤตไปถึงขั้นป้องกันประเทศ ซึ่งมีการทดสอบและสร้างความคุ้นเคยทางด้านแนวความคิดหลักการ หลักนิยม ไปจนถึงขีดความสามารถของกำลังรบในแต่ละประเภทโดยส่วนต่าง ๆ ของกองทัพเรือทั้งในกองอำนวยการฝึก และหน่วยรับการฝึกทุกหน่วยได้มีการเตรียมและดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการฝึกอย่างเต็มกำลังความสามารถ

พลเรือเอกจิรพล กล่าวว่า การฝึกครั้งนี้ เราเน้นแผนป้องกันประเทศเป็นหลัก โดยเริ่มตั้งแต่การวางแผนของฝ่ายบริการ และส่งต่อมาให้หน่วยใช้กำลังให้ได้ใช้แผนตามที่วางไว้ เพื่อให้กำลังพลคุ้นเคยกับการใช้เครื่องมือ ทั้งในการรบและการช่วยเหลือประชาชนจากภัยพิบัติ

 

 

สำหรับการฝึกในปีนี้ได้ทำการฝึกแผนป้องกันประเทศ ในพื้นที่ทัพเรือภาคที่ 2 ประกอบด้วย 1.การฝึกปัญหาที่บังคับการ และ 2.การฝึกภาคสนาม/ภาคทะเล โดยในส่วนของการฝึกภาคสนาม/ภาคทะเลในปีนี้ มีหัวข้อการฝึกที่สำคัญคือ การฝึกปฏิบัติการทางเรือของกองเรือเฉพาะกิจปฏิบัติการระยะไกลที่ 72 ซึ่งมีการจัดกำลังเข้าร่วมการฝึกประกอบด้วย เรือหลวงช้าง เรือหลวงอ่างทอง เรือหลวงสุรินทร์ และเรือหลวงมันใน เป็นหมู่เรือลำเลียง โดยมีเรือหลวงนเรศวร เรือหลวงเจ้าพระยา และเรือหลวงกระบุรี ประกอบกำลังเป็นหมู่เรือคุ้มกัน ร่วมด้วยกำลังจากอากาศยานนาวีกำลังรบยกพลขึ้นบกและกำลังสนับสนุนอีกจำนวนหนึ่ง

นอกจากนี้ยังมีการฝึกที่สำคัญอื่นๆ อาทิ การฝึกยิงอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ MIistral ของเรือหลวงจักรีนฤเบศร การฝึกปฏิบัติการร่วมระหว่างกองทัพเรือและกองทัพอากาศ การฝึกปฏิบัติการยุทธสะเทินน้ำสะเทินบก การฝึกต่อต้านการก่อการร้ายบนแท่งผลิตก๊าซธรรมชาติ การฝึกให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติ (HADR) การค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเล (SAR) และการขจัดมลพิษทางน้ำ เนื่องจากน้ำมันและเคมีภัณฑ์ในทะเล (Oil and chemical spill) การฝึกเป็นหน่วยกรมผสมนาวิกโยธิน และการดำเนินกลยุทธ์ด้วยกระสุนจริง (CALFEX) การฝึกของหน่วยวิชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่งประจำพื้นที่และการฝึกยิงอาวุธทางยุทธวิธี โดยมีการเชิญกำลังพลจากกองทัพบกกองทัพอากาศรวมถึงศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลเข้าร่วมการฝึกในครั้งนี้ด้วย

 

เมื่อถามว่าภัยคุกคามในปัจจุบัน ส่วนมากมาในรูปแบบของไซเบอร์ จะมีจัดการปัญหาในเรื่องนี้อย่างไร พลเรือเอกจิรพล กล่าวว่า ในเรื่องของไซเบอร์เราได้มีหน่วยที่เราฝึกไว้ และมีการสแกนเน็ตเวิร์คของเราเองอยู่ตลอด เพื่อตรวจหาช่องโหว่ และมีการฝึกเรื่องนี้อยู่เป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะการหาเทคนิคใหม่ๆ สิ่งสำคัญคือการป้องกัน ในส่วนงานทางการรบ ระบบเครือข่ายค่อนข้างที่จะเจาะยาก เพราะเป็นเครือข่ายปิด แต่เราก็ไม่ได้วางใจ และได้มีการฝึกการปิดช่องโหว่ที่อาจจะเกิดขึ้นอยู่เสมอ

 

ส่วนเรื่องข้อจำกัดของกองทัพเรือ และยุทโธปกรณ์ที่ใช้งานมานาน จะต้องมีการปรับเพื่อรับมือกับภัยคุกคามในรูปแบบใหม่หรือไม่ พลเรือเอกจิรพล กล่าวว่า ในส่วนของยุทธโธปกรณ์เป็นไปตามระยะเวลา เราใช้งานและดูแลรักษาจนหมดอายุ ส่วนอุปกรณ์ด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ ปัจจุบันก็มีการศึกษาการใช้งานโดรนตรวจการและโดรนโจมตี

ส่วนความคืบหน้าในการจัดซื้อเรือฟริเกต พลเรือเอกจิรพล กล่าวว่า กองทัพเรือได้เสนอความต้องการไปยังบริษัทต่างๆ เพื่อให้แต่ละบริษัทเสนอข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เข้ามา ว่าสามารถทำในสิ่งที่เราอยากได้หรือไม่ เช่น แบบเรือตรงความต้องการหรือไม่ รวมถึงการสร้างเรือเราอยากให้อุตสาหกรรมภายในประเทศมีส่วนร่วมมากขึ้น และส่วนสุดท้ายคือนโยบายรัฐบาลที่ต้องการให้เกิดการซื้อยุทธโธปกรณ์ขนาดใหญ่ที่ใช้งบประมาณสูง ต้องมีผลตอบแทนกลับมาในประเทศมากขึ้น โดยเราได้ตั้งโครงการไว้ 2 ลำ ซึ่งอยู่ที่ ครม. ว่าจะอนุมัติให้เรามากน้อยแค่ไหน ส่วนรูปแบบของเรือ เราได้ขอข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อจะได้รู้ว่าเรือจะออกมาในรูปแบบใด และมีสัดส่วนในการต่อเรือในประเทศมากน้อยเพียงใด

 

ส่วนเรือดำน้ำที่ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) นั้นจะมีการผลักดันหรือไม่อย่างไร พลเรือเอกจิรพล กล่าวว่า ในส่วนของกองทัพเรือมีความชัดเจนว่าต้องการทำให้สัญญาจบ โดยการเสนอขอเปลี่ยนเครื่องยนต์ไปที่ ครม. แต่อำนาจการเปลี่ยนแปลงเครื่องยนต์นั้นถ้าอยู่ในกองทัพเรือก็ดำเนินการแล้วเสร็จไปแล้ว แต่อำนาจไม่ได้อยู่ที่กองทัพเรือ จึงต้องขออนุญาตจากทาง ครม.ในการตัดสินใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) จีนเชิด 'มังกรโคมไฟป่านป่าน'400 เมตรฉลองหยวนเซียว
ชาวเมียนมา แห่ข้ามแดน เติมน้ำมันฝั่งไทย นำไปขายทุนจีนเทา
คนร้ายขับรถพุ่งชนฝุงชนในมิวนิคของเยอรมนี
จีนเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดประชุมสันติภาพรัสเซีย-ยูเครน
ก๊าซระเบิดในห้างไต้หวันดับ-เจ็บหลายสิบคน
หม่องชิตตูผู้นำ BGF โวยไทยเตรียมออกหมายจับ
“ทนายอานนท์” เขียนจม.ฟ้อง UN ซ้ำบิดเบือนข้อเท็จจริง ปมถูกดำเนินคดี 112
"บิ๊กเต่า" พร้อมลุย ขบวนการคนไข้ทิพย์ เบิกยาโรงพยาบาลทหารผ่านศึก ก่อนนำไปขายต่อ
CP for a Better Tomorrow: เครือซีพีจับมือ 3 กลุ่มธุรกิจหลัก ร่วมงาน FTI EXPO 2025 นำเสนอนวัตกรรม-โซลูชันสุดล้ำในแนวคิด '4 GO' พลิกโฉมอุตสาหกรรมไทย ตอบโจทย์เศรษฐกิจยุคดิจิทัล
ปลดล็อก!! กรมส่งเสริมสหกรณ์ หารือผู้แทนชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์ออมทรัพย์ เร่งแก้ไขกฎกระทรวงการฝากเงินและการลงทุนฯ หลังเกิดผลกระทบกับสหกรณ์ที่มีเงินล้นระบบ คาดแล้วเสร็จภายใน 3 เดือน มีเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจไม่ต่ำกว่าปีละ 50,000 ล้านบาท

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น