ผ่อนปรนนิดเดียวถึงขั้นพัง! เตือนรัฐอย่าละเลย มาตรการป้องกันโรคระบาดสัตว์

ผ่อนปรนนิดเดียวถึงขั้นพัง! เตือนรัฐอย่าละเลย มาตรการป้องกันโรคระบาดสัตว์

วิกฤตโรคระบาดสัตว์สร้างความเสียหายอย่างหนักให้แก่หลายๆประเทศ โดยเฉพาะโรคไข้หวัดนกและโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) ซึ่งส่งผลกระทบรุนแรงต่อเศรษฐกิจและความมั่นคงทางอาหารของประเทศอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน

มหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาก็หนีไม่พ้นปัญหานี้ อย่างไข้หวัดนกที่กำลังเกิดขึ้นขณะนี้ ซึ่งเกิดขึ้นต่อเนื่องจากปีที่แล้ว สถานการณ์นี้สร้างวิกฤตรุนแรงถึงขั้นส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของผู้บริโภค ราคาไข่ไก่พุ่งสูงอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ล่าสุด พบว่าราคาไข่ไก่ในซูเปอร์มาร์เก็ตหลายแห่งทะยานสูงถึงโหลละ 10.99 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 370 บาท) หรือฟองละ 30 บาท ซึ่งถือเป็นราคาที่สูงเกินปกติอย่างมาก ผลกระทบไม่เพียงแค่ราคา แต่ยังรวมถึงการจำกัดการซื้อของซูเปอร์มาร์เก็ต บางแห่งกำหนดให้ลูกค้าซื้อไข่ได้เพียง 1 โหลต่อครั้ง เพื่อป้องกันการขาดแคลน และในบางรัฐอย่างเพนซิลวาเนียยังเกิดปัญหาการขโมยไข่ไก่ถึง 1 แสนฟองที่ยังหาผู้กระทำผิดไม่ได้ สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงความรุนแรงของวิกฤตการณ์ที่กระทบทั้งค่าครองชีพและคุณภาพชีวิตประชาชน ซึ่งเป็นผลจากโรคระบาดสัตว์

ประเทศไทยเคยเผชิญความรุนแรงนี้เมื่อปี 2547 ที่ส่งผลกระทบอย่างมาก ทั้งด้านสุขภาพและเศรษฐกิจ โดยมีรายงานผู้เสียชีวิต 12 ราย มีการทำลายสัตว์ปีกมากกว่า 60 ล้านตัว เพื่อควบคุมการแพร่ระบาด ส่งผลให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ต้องหยุดกิจการ เรียกว่าไทยต้องสูญเสียการส่งออกสัตว์ปีกมากกว่า 60,000 ล้านบาทและเกิดผลกระทบต่ออุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องอีกมากมาย

บ้านเราสามารถพลิกวิกฤต เรียนรู้ และสร้างมาตรฐานการป้องกันโรคไข้หวัดนกที่มีประสิทธิภาพอย่าง ระบบคอมพาร์ทเม้นท์ ซึ่งได้รับการยอมรับจากนานาชาติ โดยไม่เคยเกิดไข้หวัดนกเป็นครั้งที่ 2 มานานกว่า 10 ปี รักษาความมั่นคงทางอาหารของชาติได้มาจนถึงทุกวันนี้ นับเป็นข้อดีที่ประเทศไทยประสบความสำเร็จในการป้องกันโรค แต่ประเด็นสำคัญคือควรจะรักษามาตรการทั้งหมดให้เข้มข้น ห้ามอ่อนข้อละเลยแม้แต่ขั้นตอนเดียว

virus on poultry farms avian avian influenza

ข่าวที่น่าสนใจ

เช่นเดียวกับโรค ASF ในสุกร ช่วงปี 2564-2565 นั้น สถานการณ์ตกอยู่ในขั้นวิกฤต จำนวนหมูพ่อแม่พันธุ์ทั่วประเทศลดลงอย่างน่าใจหายจาก 1.2 ล้านตัวเหลือเพียงครึ่งเดียว ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อทั้งระบบอุตสาหกรรมปศุสัตว์ ทำให้ซัพพลายเนื้อหมูขาดแคลนอย่างหนัก ราคาพุ่งสูงลิบถึงกิโลกรัมละ 200 บาท และเปิดช่องให้มิจฉาชีพลักลอบนำหมูเถื่อนเข้าประเทศ สร้างความเสียหายต่อระบบการผลิตและระบบเศรษฐกิจอย่างรุนแรงต่อเนื่องยาวนาน

ASF เกิดขึ้นมากว่า 100 ปีในโลก จนกระทั่งปัจจุบันก็ยังไม่มีวัคซีนป้องกันและไม่มียารักษาโรค นับเป็นโรคร้ายแรงที่คนเลี้ยงหมูทั่วโลกหวาดกลัว กรมปศุสัตว์จึงต้องออกมาตรการป้องกันโรค ASF ที่เข้มงวดและรอบคอบ ผ่านการพัฒนาคู่มือปฏิบัติมาตรฐาน (SOP) ซึ่งได้รับการกลั่นกรองจากนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญชั้นนำของประเทศ ครอบคลุมทุกขั้นตอนการเลี้ยงสัตว์อย่างละเอียดถี่ถ้วน ตั้งแต่การเฝ้าระวังอาการเริ่มแรก การเก็บตัวอย่างเลือด ไปจนถึงขั้นตอนการทำลายสุกรและการฟื้นฟูฟาร์มอย่างเป็นระบบ ความรุนแรงของโรค ASF เห็นได้ชัดจากข้อกำหนดที่เด็ดขาด กล่าวคือ หากพบโรคเพียงตัวเดียว จะต้องทำลายหมูในรัศมี 3 กิโลเมตรโดยทันที และควบคุมการเคลื่อนย้ายในรัศมี 10 กิโลเมตร การป้องกันจึงเป็นวิธีเดียวที่สามารถควบคุมโรคได้

การป้องกันโรคระบาดสัตว์ เป็นความท้าทายที่ควรต้องเข้มงวดทั้งในวันนี้และวันหน้า แต่จู่ๆก็มีข่าวกรมเตรียมทบทวนประกาศกรมปศุสัตว์ เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์การนำสุกร หรือหมูป่า เข้ามาเลี้ยงใหม่ พ.ศ. 2567 โดยเฉพาะผู้เลี้ยงสุกรหลังบ้านของชาวชาติพันธุ์ในพื้นที่สูง ทั้งๆ ที่ไม่ควรอนุญาตนำหมูป่าเข้าเลี้ยงโดยเด็ดขาด เพราะมันเป็นพาหะนำโรค ASF หากกรมทบทวนแล้วยอมลดระดับความเข้มงวดในการป้องกันโรค ย่อมนำมาซึ่งความเสี่ยงของการเกิดโรคระบาดร้ายแรงอย่างน่ากังวล

 

นอกจากนี้การพิจารณามาตรการป้องกันโรคในระยะยาว ยังควรต้องศึกษาถึงผู้เกี่ยวข้องในห่วงโซ่การผลิต เช่น ผู้ประกอบการไก่ไข่หลายรายที่ต้องนำเข้าพ่อแม่พันธุ์จากสหรัฐฯ และอีกหลายๆประเทศในยุโรป รวมถึงจีน อินเดีย และออสเตรเลีย ที่กำลังเกิดไข้หวัดนก เมื่อองค์การโรคระบาดสัตว์สั่งแบนใม่ให้ประเทศเหล่านั้นส่งออกสัตว์ปีกแล้ว ผู้ประกอบการไทยจะนำเข้าพ่อแม่พันธุ์จากที่ไหน ดังนั้น การเพิ่มผลผลิตพ่อแม่พันธุ์ให้เพียงพอสำหรับใช้ภายในประเทศอาจเป็นอีกหัวข้อหนึ่งที่รัฐต้องพิจารณา เพื่อสนับสนุนให้ธุรกิจของผู้ประกอบการเหล่านั้นดำเนินต่อไปได้

เหล่านี้เป็นความท้าทายสำคัญที่มีผลต่อห่วงโซ่การผลิตอาหารของประเทศ ต่อเกษตรกร ต่อผู้บริโภค ต่อเศรษฐกิจและต่อความมั่นคงทางอาหารของชาติ ขอเพียงหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องต้องเข้มแข็งในมาตรการ และวางแผนระยะยาวอย่างรอบคอบรัดกุมที่สุด

โดย เพ็ญภัสสร์ วิจารณ์ทัศน์

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ธรรมนัส" ปัดวิจารณ์ลือปรับ "อัครา" พ้นครม. ชี้เป็นโควต้าเพื่อไทย ยันไม่ก้าวก่ายถือเป็นอำนาจนายกฯ
"นายกฯ" ถามกลางวงประชุม ใครรับผิดชอบ SMS แจ้งข่าวแผ่นดินไหว ลั่นช้าเกินสั่งการตั้งแต่ 14.00 จี้ " ปภ.-กสทช." เร่งปรับปรุง Cell Broadcast
"ผู้ว่าการ กทพ." ยืนยัน ทางพิเศษให้บริการตามปกติ ยกเว้นทางขึ้นลงด่านฯ ดินแดง
ช้าง อเมเจอร์ แชมเปี้ยนชิพ’ ฤดูกาล 2025 หา แชมป์-ผู้โชคดี ร่วมท่องเที่ยวออกรอบ ต้าหลี่-ลี่เจียง ประเดิมสนามแรก โลตัส วัลเล่ย์ฯ
สวนนงนุชพัทยา จัดของขวัญฉลองปีใหม่ไทยเที่ยวฟรีตลอดเดือนเมษายน และเข้าฟรีทุกวันตลอดชีวิต
"กรมโยธาธิการและผังเมือง" แถลงการณ์ ตรวจสอบความมั่นคงของอาคาร หลังเหตุแผ่นดินไหว
"ผู้ว่าการการทางพิเศษฯ" ระดมวิศวกรตรวจสอบ ความปลอดภัยทางพิเศษทุกสาย
"ทูตเมียนมา" ลงพื้นที่ติดตามการค้นหาผู้สูญหาย จากเหตุตึกสตง.ถล่ม เผยยังไม่รู้จำนวนแรงงานเมียนมาที่แน่ชัด
"ดีอี" เตือนข่าวปลอม “กลาโหมไฟเขียว หากสถานการณ์ชายแดนไทยกัมพูชาผิดปกติ ให้กองทัพดำเนินการได้ทันที” หวั่นทำ ปชช.เข้าใจผิด เกิดความสับสน
เพจดังไขคำตอบ "ตึกใหม่-ตึกเก่า" มีรอยร้าวจากเหตุแผ่นดินไหว ไม่ใช่ไม่แข็งแรง

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น