“ศุภมาส” นำทีมอว.ตรวจคืบหน้า แผนงานนวัตกรรม ชู BPMAP-Buriram Poverty Map” ขับเคลื่อนโมเดลแก้จน

"ศุภมาส" นำทีมอว.ตรวจคืบหน้า แผนงานนวัตกรรม ชู BPMAP-Buriram Poverty Map” ขับเคลื่อนโมเดลแก้จน

เมื่อวันที่ 15 ก.พ. 2568 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ลงพื้นที่ติดตามผลการขับเคลื่อนแผนงานนวัตกรรมการยกระดับแพลตฟอร์มขจัดความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำจังหวัดบุรีรัมย์ ภายใต้ “มหกรรมสานพลังแก้จน ด้วยคนบุรีรัมย์” พร้อมส่งมอบระบบข้อมูล BPMAP และเยี่ยมชมผลงาน/นิทรรศการขับเคลื่อนงานวิจัยพัฒนาโมเดลแก้จนและเศรษฐกิจฐานราก โดยมีนายศุภชัย ใจสมุทร ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. แพทย์หญิงเพชรดาว โต๊ะมีนา ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล ปลัดกระทรวง อว. นายจำเริญ แหวนเพ็ชร รองผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ นายสนอง เทพอักษรณรงค์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบุรีรัมย์ เขต 1 รศ.มาลิณี จุโฑปะมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์และประธาน ทปอ.มรภ. นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทยและประธานกรรมการบริหารหน่วย บพท. ดร.สุรชัย สถิตคุณารัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ศ.ดร.สมปอง คล้ายหนองสรวง ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ผู้บริหารกระทรวง อว. ผู้บริหารมหาวิทยาลัย หัวหน้าส่วนราชการจังหวัดบุรีรัมย์ เจ้าหน้าที่ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน และนักวิจัย เข้าร่วม ณ ห้องประชุมช่ออินทนิล ชั้น 2 อาคารคอมเพล็ก มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

นางสาวศุภมาส กล่าวว่า กระทรวง อว. โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ร่วมกับหน่วยงาน บพท. โดยการสนับสนุนของกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ยกระดับคุณภาพชีวิตครัวเรือนยากจน สร้างโอกาสทางสังคมอย่างเป็นรูปธรรม ด้วยองค์ความรู้ งานวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสมของมหาวิทยาลัยร่วมกับกลไกภาคีต่าง ๆ ในพื้นที่ โดยมีผลงานที่เป็นรูปธรรมที่ประสบความสำเร็จมากมาย ได้แก่ เกิดกลไกความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาความยากจนทั้งในระดับจังหวัด ระดับอำเภอ และระดับท้องถิ่น มีระบบข้อมูลกลางของจังหวัดในการชี้เป้า (Targeting) ครัวเรือนยากจนที่แม่นยำเรียกว่า “Buriram Poverty Map (BPMAP)” ที่เกิดจากความร่วมมือของหน่วยงานในจังหวัดที่เกี่ยวข้องและนำไปใช้ในการสร้างเป้าหมายช่วยเหลือคนจนร่วมกัน ทำให้สามารถช่วยเหลือคนจนแบบมุ่งเป้าได้ การส่งต่อคนจนเพื่อรับความช่วยเหลือตามมิติความยากจนด้านอาชีพ ด้านที่อยู่อาศัย ด้านการศึกษา การเข้าสู่สวัสดิการ 19,070 คน ได้รับความช่วยเหลือแล้ว 776 คน อยู่ในแผนรอรับความช่วยเหลืออีก 13,469 คน เกิดโมเดลแปลงรวมแก้จนด้วยการนำพื้นที่สาธารณะในชุมชนมาสร้างโอกาสสำหรับคนจน 214 ครัวเรือนให้มีที่ดินปลูกผัก สร้างรายได้และมีแหล่งอาหารในครัวเรือน มีโมเดล “รถพุ่มพวงแก้จน” 120 คัน กระจายสินค้าจากการผลิตครัวเรือนยากจน คนในชุมชนสู่ผู้บริโภคจนสามารถสร้างอาชีพ มีการจัดตั้ง “ศูนย์จัดการสินค้าและอาหารปลอดภัยรองรับเมืองท่องเที่ยวเชิงกีฬา” เกิดเครือข่ายผู้ผลิต ผู้แปรรูป ผู้รวบรวมผลิตภัณฑ์เด่นในพื้นที่และผู้บริโภค ทำให้ครัวเรือนได้รับการแก้ปัญหาความยากจน 612 ครัวเรือน และเกิดต้นแบบ “อำเภอแก้จนทั้งพื้นที่ในอำเภอนางรอง”

 

 

รมว.อว. กล่าวต่อว่า นโยบายของกระทรวง อว. คือ วิจัย-นวัตกรรมดี ตอบโจทย์ ตรงความต้องการ มุ่งเน้นแก้ไขปัญหาสำคัญของประเทศโดยเฉพาะการแก้ปัญหาความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำให้กับพี่น้องประชาชน โดยใช้องค์ความรู้วิจัยและนวัตกรรมเข้ามาแก้ไขปัญหาพื้นที่ ช่วยเหลือเรื่องปากท้องและเศรษฐกิจ ตลอดจนยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ซึ่งกระทรวง อว. พร้อมสนับสนุนการทำงานของมหาวิทยาลัยในพื้นที่ให้มีการพัฒนาข้อมูลระดับจังหวัดดังเช่นระบบข้อมูลแก้จนแบบเบ็ดเสร็จแม่นยำจังหวัดบุรีรัมย์ (BPMAP) ให้มีความทันสมัยทันก่อเหตุการณ์ พร้อมสำหรับการนำไปใช้งานร่วมกันของหน่วยงานในพื้นที่ ใช้เป็นฐานข้อมูลแก้ปัญหาความยากจนอย่างมีคุณภาพไม่ทำให้มีคนจนตกหล่น รวมถึงสนับสนุนการนำนวัตกรรมไปใช้แก้ปัญหาความยากจนตามบริบทพื้นที่ ทำให้ครัวเรือนยากจนหลุดพ้นบ่วงความจนได้อย่างยั่งยืน

“นี่คือหนึ่งในการทำงานของ “อว. เพื่อประชาชน” ที่จะยังคงเดินหน้าทำงานเพื่อประชาชนและสานต่อนโยบายเดิมให้ต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพมากขึ้นต่อไป” นางสาวศุภมาส กล่าว

 

 

จากนั้น นางสาวศุภมาสและคณะได้เดินทางไปยังศาลาประชาคมบ้านนาเกียรตินิยม (ม.17 ต.สะแกโพรง อ.เมืองบุรีรัมย์ จ.บุรีรัมย์) เพื่อเยี่ยมชมพื้นที่ต้นแบบการบูรณาการแก้ไขปัญหาความยากจน พร้อมกล่าวให้กำลังใจและชื่นชมการทำงาน และมอบเทคโนโลยีนวัตกรรมเพื่อฟื้นฟูและส่งเสริมอาชีพให้กับชุมชน ได้แก่ นวัตกรรมเครื่องสับและตีป่น (4 เครื่อง) นวัตกรรมเครื่องอัดเม็ดอาหารสัตว์ (2 เครื่อง) นวัตกรรมดินปลูก (100 ถุง) และกระชังบก (40 กระชัง) ถุงบำรุงชีพให้กับครัวเรือนยากจนในพื้นที่ (50 ถุง) จากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ และนวัตกรรมเครื่องอบดินและวัสดุปลูก (1 เครื่อง) สารชีวภัณฑ์เพื่อการป้องกันศัตรูพืช (120 ชุด) ถุงยังชีพเกษตรครัวเรือน (50 ถุง) จากงานวิจัยของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"พิพัฒน์" เคลียร์ซ้ำ "ประกันสังคม" โดนพรรคส้มโจมตี ยันเป็นประโยชน์ โปร่งใส ใช้งบฯทำปฏิทิน-บินดูงานตปท.
"นายกฯ" ผุดไอเดียจ่อทำเอฟทีเอกับทุกประเทศในยุโรป หวังทำการลงทุนของไทยสะดวกขึ้น
"ตร.ไซเบอร์" ยันเหยื่อแก๊งคอลฯ 260 ราย พบแค่ส่วนน้อยที่ถูกหลอก ลั่นบางคนแต่งเรื่องไม่เนียน
สหรัฐจ่อเก็บภาษีนำเข้ารถยนต์ 25% เมษายนนี้
เตะตาสุด 'ดอกไม้ไฟเหล็กยกหม้อ' กลางน้ำในกวางตุ้ง
"เพื่อไทย" ยื่นประธานสภาฯแล้ว ญัตติด่วน ส่งศาลวินิจฉัยปมแก้ รธน. 256
"ทรัมป์"จวก"เซเลนสกี" หยุดโวยวายได้แล้ว กลับไปจัดการเลือกตั้งซะ
"ม็อบชาวนา 5 จว." บุกยื่นหนังสือ "นายกฯ" เร่งแก้ปัญหาราคาข้าวตกต่ำ ร้องจัดทำโครงการประกันรายได้
"ผู้ว่าฯตาก" เข้าเยี่ยม "เหยื่อแก๊งคอลเซ็นเตอร์" ประสานส่งกลับประเทศต้นทาง ย้ำสถานที่พักคอยรองรับได้มากสุด 500 คนต่อวัน
กองทัพบก แจงเหตุไฟป่าพื้นที่พะเยา ไม่ได้เกิดจากฝึกยิงปืนใหญ่ ส่งกำลังทหารเข้าควบคุมสถานการณ์ได้แล้ว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น