ราชกิจจาฯ เผยแพร่ประกาศ แก้กฎหมาย ป.ป.ท. เพิ่มอำนาจดำเนินคดีวินัย จนท.รัฐ-ขอศาลออกหมายจับผู้กระทำความผิด

ราชกิจจาฯ เผยแพร่ประกาศ แก้กฎหมาย ป.ป.ท. เพิ่มอำนาจดำเนินคดีวินัย จนท.รัฐ-ขอศาลออกหมายจับผู้กระทำความผิด

ราชกิจจาฯ เผยแพร่ประกาศ แก้กฎหมาย ป.ป.ท. เพิ่มอำนาจดำเนินคดีวินัย จนท.รัฐ-ขอศาลออกหมายจับผู้กระทำความผิด

 

ข่าวที่น่าสนใจ

เมื่อวันที่ 18 ก.พ. 2568 สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ได้เผยแพร่ข่าว ราชกิจจานุเบกษา ประกาศแก้ไขกฏหมาย ป.ป.ท. เพิ่มอำนาจไต่สวนชี้มูล ออกหมายจับเจ้าหน้าที่รัฐ สกัดกั้นการทุจริตประพฤติมิชอบ

ระบุว่า เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่พระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2568 โดยพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวให้ใช้บังคับถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีการแก้ไขหลักการในสาระสำคัญและเพิ่มหน้าที่และอำนาจในการไต่สวนคดีให้กับสำนักงาน ป.ป.ท. ดังนี้

1) แก้ไขบทนิยามคำว่า “ประพฤติมิชอบ” โดยกำหนดให้การฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติ ตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับ เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ การกระทำความผิดทางวินัย แต่ไม่รวมถึงถึงทุจริตต่อหน้าที่เป็นความผิดประพฤติมิชอบ เพื่อให้สำนักงาน ป.ป.ท. มีอำนาจในการดำเนินคดีวินัยและอาญากับเจ้าหน้าที่ของรัฐในฐานความผิดประพฤติมิชอบด้วยตนเอง โดยไม่ต้องรอมอบหมายจากหน่วยงานอื่น

2) การรับส่งสำนวนคดีทุจริตต่อหน้าที่จากคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีการบัญญัติรองรับทั้งมอบหมายเป็นการทั่วไป และมอบเป็นเรื่อง ๆ ไป ให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น

3) ระยะเวลาดำเนินการไต่สวน ให้มีความรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยให้เริ่มดำเนินการไต่สวนภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับเรื่อง และต้องดำเนินการไต่สวนให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี ขอขยายได้ไม่เกิน 3 ปี เว้นแต่ เป็นคดีที่ต้องไต่สวนหรือขอรับเอกสารจากต่างประเทศให้ขยายระยะเวลาออกไปเท่าที่จำเป็น แต่รวมแล้วไม่เกิน 5 ปี

(ดูประกาศฉบับเต็มที่นี่ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/51917.pdf)

 

4) การดำเนินการทางวินัย ผู้บังคับบัญชาต้องลงโทษตามฐานความผิดที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. ชี้มูลภายใน 60 วัน และหากไม่ดำเนินการโดยไม่มีเหตุอันควร ให้ถือว่าเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง

5) การออกหมายจับและอำนาจในการจับกุมผู้กระทำผิด กำหนดให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. หรือผู้ที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. มอบหมาย มีอำนาจดำเนินการโดยตรงในการยื่นคำร้องขอให้ศาลที่มีเขตอำนาจออกหมายจับ เมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ท. มีมติชี้มูล หากมีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ถูกกล่าวหาจะหลบหนี และในการจับหรือควบคุมตัว

คณะกรรมการ ป.ป.ท. จะมอบหมาย พนักงาน ป.ป.ท. หรือเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. หรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ดำเนินการแทนก็ได้ เพื่อให้การแก้ไขปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบของสำนักงาน ป.ป.ท. มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบันยิ่งขึ้น

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"คณะผู้แทน บ.จีนฯ" หารือ "นายกฯ" ยืนยันความพร้อมขยายลุงทุนในไทย ดผลักดัน AI-เซมิคอนดักเตอร์ พลังงานทางเลือก
รวบยกแก๊ง "ตร.สอบสวนกลาง" จับพวกลักไฟหลวงขุดคริปโตฯ ทำรัฐเสียหายกว่า 50 ล้านบาท
"สสส." ร่วม we!park เตรียมจัดงาน "Active City Forum" มุ่งผลักดันกรุงเทพฯ สู่เมืองสุขภาวะ
3 นิ้วงัดมุกเดิม "ขนุน" ผู้ต้องหาคดี 112 ประกาศอดอาหารในเรือนจำ กดตัวขอประกันตัว
จีนซ้อมรบด้วยกระสุนจริงนอกชายฝั่งออสเตรเลีย
เดินหน้าสู่สากล! "ศุภชัย" เปิดเวทีสัมมนานานาชาติ "นวัตกรรมท้องถิ่น 2568" มุ่งยกระดับการบริหารจัดการเขตเมืองและการปกครองส่วนท้องถิ่น ผลักดันการพัฒนานวัตกรรมท้องถิ่นสู่ระดับสากล
ศาลสั่งขัง 2 เดือน แก๊งซิ่งรถประลองความเร็ว บนมอเตอร์เวย์ ชนวินาศ
การเคหะแห่งชาติฉลองครบรอบ 52 ปี จัดกิจกรรมวิชาการด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัย พร้อมดึงสองรัฐวิสาหกิจยักษ์ใหญ่ PEA และ EGAT เสริมความแข็งแกร่งด้านการบริหารจัดการพลังงานและพลังงานทดแทน
"เลขาฯรมว.มหาดไทย" รับข้อเสนอสภาการพยาบาล ร่วมมือใช้กลไก ลดการใช้ความรุนแรง-ดูแลความปลอดภัยในรพ.
‘สนธิญา’ ร้องปปง. ยึดทรัพย์‘หม่อง ชิตตู’ หวั่นมีขบวนการฟอกเงินในไทย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น