กรมส่งเสริมสหกรณ์ ลุยต่อ จัดโครงการการบริหารจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม รับมาตรการแก้ปัญหาการก่อฝุ่น PM 2.5 ภาคการเกษตร

กดติดตาม TOP NEWS

ปัจจุบันปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM 2.5 ยังคงเป็นปัญหาใหญ่ที่หน่วยงานทุกภาคส่วนพยายามร่วมกันแก้ปัญหา ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการเผาในพื้นที่เกษตรกรรมที่ทำให้เกิดฝุ่นควัน ส่งผลให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกประกาศ เรื่อง มาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM 2.5 ภาคการเกษตร โดยกำหนดให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องยกระดับการปฏิบัติการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศและฝุ่นละออง PM 2.5 ที่เกิดจากการเผาในพื้นที่เกษตร พร้อมกำหนดคุณสมบัติเกษตรกรที่สามารถโครงการส่งเสริม สนับสนุน การช่วยเหลือจากหน่วยงานรัฐจะต้องไม่มีประวัติการเผาในพื้นที่เกษตรของตนเอง พร้อมทั้งกำชับให้หน่วยงานในสังกัดดำเนินมาตรการหรือโครงการที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 อย่างรอบครอบ และเร่งด่วน ตลอดจนยกระดับมาตรการในการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 ให้มีความเข้มข้นมากยิ่งขึ้น

เพื่อตอบสนองต่อประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าวว่า “กรมส่งเสริมสหกรณ์ ได้จัดโครงการการบริหารจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมซึ่งเป็นโครงการย่อยภายใต้โครงการสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ตามแผนงานยุทธศาสตร์การเกษตรสร้างมูลค่า โดยกรมได้ดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 โดยในปีที่ผ่านมาพบว่ามีสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรเป้าหมายที่ผลิตสินค้าประเภท พืชไร่ พืชสวน และปศุสัตว์ ได้รับความรู้เกี่ยวกับการนำเทคโนโลยี นวัตกรรมจากการวิจัยพัฒนาการนำส่วนเกินหรือผลิตผลพลอยได้หรือวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้ประโยชน์ในการลดต้นทุนและสร้างมูลค่าเพิ่มแล้ว จำนวน 119 แห่ง และสหกรณ์สามารถนำเทคโนโลยี หรือนวัตกรรมจากการวิจัยพัฒนาการนำส่วนเกินหรือวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้ประโยชน์ จำนวน 114 แห่ง ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 กรมส่งเสริมสหกรณ์จะยังคงสานต่อโครงการดังกล่าว เพื่อร่วมกันสร้างองค์ความรู้และการวางแผนการนำเทคโนโลยี นวัตกรรมจากการวิจัยพัฒนาการนำส่วนเกิน หรือผลิตผลพลอยได้หรือวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้ประโยชน์ เพื่อช่วยลดต้นทุน และสร้างมูลค่าเพิ่ม อีกทั้งยังช่วยป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองให้แก่สถาบันเกษตรกรได้อย่างมีประสิทธิภาพ”
อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าว

สำหรับกลุ่มเป้าหมายโครงการ ประกอบด้วย ผู้แทนสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร จำนวน 46 จังหวัด 130 แห่ง ซึ่งล้วนเป็นผู้แทนสินค้าเกษตรประเภทต่าง ๆ ที่สามารถนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้ประโยชน์ได้ เช่น แกลบ ฟางข้าว รำ ตอซัง จากข้าว / ซัง ต้น เปลือกข้าวโพด จากข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ / ก้านมะพร้าวแห้ง จากมะพร้าว หรือมูลสัตว์จากสัตว์เลี้ยงต่าง ๆ โดยกลุ่มเป้าหมายจะได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม การป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 แผนพัฒนาผลิตภัณฑ์จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรฯ ตลอดจนการจัดทำแผนธุรกิจอย่างง่ายสำหรับวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรด้วย

นอกจากนี้ กรมส่งเสริมสหกรณ์ ยังได้สั่งการให้สำนักงานสหกรณ์จังหวัดที่มีเกษตรกรสมาชิกปลูกข้าว ข้าวโพด และอ้อย ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิดการเผาในพื้นที่เกษตร ให้เร่งดำเนินการสร้างความเข้าใจและประชาสัมพันธ์เรื่องประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แก่สมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ในความรับผิดชอบให้ได้รับทราบอย่างทั่วถึง พร้อมจัดให้มีกิจกรรมรวมกลุ่มประกาศเจตจำนงไม่เผาในพื้นที่เกษตรทุกกรณี รวมทั้งประสานสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และเอกชนในพื้นที่ เพื่อทำข้อตกลงร่วมกันในการไม่รับซื้อผลผลิตที่ตรวจพบประวัติการเผาในพื้นที่เกษตร เพื่อเป็นการตอบสนองต่อประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้เห็นผลทันที

“กรมส่งเสริมสหกรณ์จะให้ความสำคัญแก่สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่ให้ความร่วมมือกับมาตรการต่าง ๆ ทั้งจากของกรมส่งเสริมสหกรณ์ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นอันดับแรก ในการใช้เป็นเกณฑ์พิจารณาคุณสมบัติสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร เพื่อเข้าร่วมโครงการพัฒนาศักยภาพ การส่งเสริมอาชีพ หรือการเชื่อมโยงตลาดต่อไป” อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าวทิ้งท้าย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

-

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น