“มนพร” ย้ำเม.ย.นี้ “สนามบินตรัง” เปิดให้บริการ เร่งผลักดันเป็นสนามบินนานาชาติ รองรับขยายตัวเที่ยวบิน-นักท่องเที่ยว

"มนพร" ย้ำเมษายน นี้ สนามบินตรังเปิดให้บริการ พร้อมให้บริการทั้งหมดภายในปี 2568 เร่งผลักดันให้เป็นสนามบินนานาชาติ รองรับการขยายตัวเที่ยวบิน - นักท่องเที่ยว

นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ลงพื้นที่จังหวัดตรัง เพื่อติดตามการดำเนินงานท่าอากาศยานตรัง กรมท่าอากาศยาน (ทย.) การให้บริการควบคุมจราจรทางอากาศของบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (บวท.) ณ ท่าอากาศยานตรัง และตรวจติดตามการดำเนินงาน พร้อมรับฟังปัญหาอุปสรรคจากผู้ประกอบการและนักท่องเที่ยว ณ ท่าเรือปากเมง เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2568

นางมนพร เจริญศรี กล่าวว่า ได้เร่งรัดให้ ทย. ขอใบรับรองสนามบินสาธารณะของท่าอากาศยานตรังให้แล้วเสร็จภายในปี 2568 เพื่อผลักดันให้เป็นสนามบินนานาชาติในระยะต่อไป เนื่องจากท่าอากาศยานตรังเป็นท่าอากาศยานศุลกากรที่มีศักยภาพสูงที่จะเปิดเที่ยวบินข้ามภูมิภาค สามารถดึงสายการบินระหว่างประเทศเข้ามาเปิดเส้นทางบินได้ ประกอบกับจังหวัดตรังมีทรัพยากรด้านการท่องเที่ยวที่ดี มีแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง การพัฒนาท่าอากาศยานตรังเพื่อเตรียมการรองรับการขยายตัวของนักท่องเที่ยว โดยจากสถิติพบว่าในปี 2567 ท่าอากาศยานตรัง มีเที่ยวบินทั้งหมด 3,626 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้นจากปี 2566 คิดเป็น 17.5% มีผู้โดยสาร 559,752 คน เพิ่มขึ้น 18.7% ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงมอบให้ ทย. ดำเนินการโครงการพัฒนาท่าอากาศยานตรัง ได้แก่

 

 

1.โครงการก่อสร้างเสริมความแข็งแรงทางวิ่ง สร้างทางขับและลานจอดอากาศยาน พร้อมระบบไฟฟ้าสนามบินให้สามารถรองรับอากาศยานขนาด 180 ที่นั่งได้ 12 ลำในเวลาเดียวกัน หรืออากาศยานขนาด 350 ที่นั่ง 4 ลำ และอากาศยานขนาด 180 ที่นั่ง 4 ลำ ในเวลาเดียวกัน และมีทางขับอากาศยานใหม่เพิ่มขึ้น 3 เส้น ซึ่งดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว ปัจจุบันอยู่ระหว่างการขอเปิดใช้ลานจอดอากาศยาน

2.งานก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสารหลังใหม่ เพื่อให้สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 1,200 คน/ชั่วโมง หรือ 3.4 ล้านคน/ปี จากปัจจุบันที่สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 600 คน/ชั่วโมง หรือ 1.7 ล้านคน/ปี ผลงาน 98.34% โดยให้ ทย. ประกาศคัดเลือกหาผู้รับจ้างรายใหม่ภายในไตรมาสที่ 2 พร้อมกับเปิดใช้งานผู้โดยสารภายในประเทศภายในเดือนเมษายน 2568 และให้ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2568

3.งานก่อสร้างต่อเติมความยาวทางวิ่ง พร้อมระบบไฟฟ้าสนามบินและองค์ประกอบอื่น ๆ โดยต่อเติมความยาวทางวิ่ง จาก 45 x 2,100 เมตร เป็นขนาด 45 x 2,990 เมตร

ข่าวที่น่าสนใจ

นอกจากนี้ ได้สั่งการให้ ทย. จัดพื้นที่บริการผู้โดยสารให้คล่องตัว มีความสะดวกรวดเร็ว บริเวณจุด Check in การลำเลียงกระเป๋า ความสะอาดภายในท่าอากาศยาน รวมถึงให้จัดเตรียมพื้นที่และจัดระเบียบบริการขนส่งสาธารณะภายในท่าอากาศยานให้ไม่ติดขัด กำหนดจุดจอดรับ – ส่ง และเวลาในการจอดให้ชัดเจน พร้อมจัดเตรียมรถโดยสารสาธารณะให้เพียงพอกับผู้โดยสารในชั่วโมงเร่งด่วน เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะอย่างไร้รอยต่อ รวมถึงการจัดกิจกรรมภายในท่าอากาศยานตามแนวคิด “สนามบินมีชีวิต” เพื่อประชาสัมพันธ์จุดเด่นการท่องเที่ยวและการสร้างอัตลักษณ์ของจังหวัด ซึ่งการพัฒนาท่าอากาศยานไม่เพียงแต่จะเป็นประโยชน์ต่อภาคการท่องเที่ยวเท่านั้น แต่ยังเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่นและพื้นที่โดยรอบท่าอากาศยานให้เติบโต อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้รับการส่งเสริมให้ขยายตัวมากขึ้น ส่งผลให้เกิดการสร้างงานในหลากหลายสาขา เช่น การโรงแรม การบริการ การขนส่ง เป็นต้น

 

นางมนพร กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนงานด้านการจัดการจราจรทางอากาศของ บวท. ได้มอบให้ บวท. และ ทย. เร่งแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องในการดำเนินงานร่วมกับท่าอากาศยานตรัง แก้ไขปัญหาต้นไม้สูงบริเวณแนวร่อนทางวิ่ง 08 เนื่องจากบดบังสัญญาณ Glide Slope ของระบบช่วยการเดินอากาศ ILS/DME จนไม่สามารถให้สัญญาณมุมร่อนได้ถูกต้อง จึงทำให้ บวท. จำเป็นต้องออกประกาศข่าว NOTAM เพื่อปิดการใช้งาน โดยให้ บวท. ติดตามการแก้ไขปัญหานี้อย่างใกล้ชิดกับสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) และท่าอากาศยานตรัง โดย บวท. ให้บริการจราจรทางอากาศ ณ ท่าอากาศยานตรัง เฉลี่ย 10 เที่ยวบินต่อวัน มีสายการบินพาณิชย์ในประเทศ ได้แก่ ไทยแอร์เอเชีย นกแอร์ ไทยไลอ้อนแอร์ GA & Private Flight หน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ ตำรวจ ทหาร กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ ได้กำชับให้ บวท. เร่งรัดการดำเนินงาน แผนพัฒนาบุคลากรและโครงการสำคัญเพื่อรองรับการเป็นศูนย์กลางการบินภูมิภาคให้แล้วเสร็จตามแผน ได้แก่ การจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรม ATC ภายในปี 2568 โครงการจัดหา Digital Remote Tower ณ สนามบินหาดใหญ่ ตรัง นราธิวาส ภายในปี 2570 พร้อมเน้นย้ำเรื่องการทำงานร่วมกันอย่างบูรณาการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกำกับดูแล เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมาย และเป็นกลไกการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ มุ่งสู่การเป็นฮับการบินตามนโยบายของรัฐบาล

 

 

ภายหลังตรวจราชการท่าอากาศยานตรัง และ บวท. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมได้เดินทางไปตรวจติดตามการดำเนินงานและรับฟังปัญหาอุปสรรคจากผู้ประกอบการและนักท่องเที่ยว ณ ท่าเรือปากเมง อำเภอสิเกา ซึ่งเป็นท่าเรือที่ได้เปิดใช้งานเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2564 ขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับปรุงท่าเรือใหม่เพื่อให้สอดคล้องการส่งเสริมการท่องเที่ยว รวมทั้งการจัดหาเรือกู้ภัยเพื่อให้เกิดความปลอดภัยของประชาชนและนักท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดตรัง และจังหวัดใกล้เคียง เนื่องจากเป็นท่าเรือเชื่อมโยงไปแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ เช่น เกาะไหง เกาะมุก เกาะกระดาน เกาะเชือก เกาะแหวน เกาะม้า เกาะรอกน้อย เกาะรอกใหญ่ และเป็นท่าเรือแห่งการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวทางทะเลในฝั่งอันดามัน เช่น ปากเมง – เกาะหลีเป๊ะ และปากเมง – เกาะลันตาอีกด้วย

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"แกนนำภูมิใจไทย" ผนึกกำลังหาเสียง หนุน "ไสว" ชิงเก้าอี้ เลือกตั้งซ่อมสส.นครศรีฯ มั่นใจผลงานพรรค
"ดีเอสไอ" จ่อเรียกสอบ 40 วิศวกร คดีตึกสตง.ถล่ม
"ฉก.ลาดหญ้า" ยันเหตุปะทะในประเทศเมียนมา ยังไม่มีผลกระทบชายแดนไทย
บางจาก ศรีราชา และ GISTDA ผนึกกำลังกับสวนสัตว์เปิดเขาเขียว ร่วมสร้างอนาคต นกกาฮัง และ การฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ
“กรมอุตุฯ” เตือนรับมือ "พายุฤดูร้อน" ฉบับ 2 ถล่มไทยตอนบน 26 เม.ย.- 1 พ.ค.นี้
“ดร.เฉลิมชัย” ลงพื้นที่ติดตามโครงการศึกษา สำรวจและพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลในพื้นที่เสี่ยงกร่อยเค็ม ตำบลอุ่มเม้า อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด แก้ปัญหาให้ประชาชน 15 หมู่บ้าน กว่า 7,200 คน มีน้ำกินน้ำใช้ตลอดปี
"ผอ.สปภ." เผย ตึกสตง.ถล่ม ลดซากเหลือ 7 เมตร จนท.ตัดเหล็กขนย้ายได้เร็วขึ้น คาดเสร็จสิ้นเดือนเม.ย.นี้
แฉกลโกงออนไลน์! ใช้ชื่อ ‘ธนินท์’ ลวงซ้ำ – ซีพีเอาผิดไม่เว้น
DITP โชว์ผลงานจัดกิจกรรมส่งออก 7 เดือน สร้างรายได้เข้าประเทศ 36,921 ล้าน ผู้ประกอบการได้ประโยชน์ 42,409 ราย
"กระทรวงยุติธรรม" เปิดตัวโครงการ "รวมพลังอาสาสมัครราชทัณฑ์ คืนคนดีสู่สังคม"

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น