“กรมศิลปากร” ครบรอบ 114 ปี แห่งการสถาปนา พร้อมเดินหน้าเปลี่ยนผ่านจากยุคแห่งการอนุรักษ์สืบทอด สู่การต่อยอดและพัฒนา

"กรมศิลปากร" ครบรอบ 114 ปี แห่งการสถาปนา พร้อมเดินหน้าเปลี่ยนผ่านจากยุคแห่งการอนุรักษ์สืบทอด สู่การต่อยอดและพัฒนา

วันที่ 27 มีนาคม 2568 ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานการแถลงข่าว

การเปลี่ยนผ่านจากยุคอนุรักษ์สืบทอดสู่การต่อยอดพัฒนา เนื่องในโอกาส 114 ปี แห่งการสถาปนากรมศิลปากร โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิ ตลอดจนสื่อมวลชนเข้าร่วมรับฟัง

โดยภายในงานมีการเดินแบบ และเปิดตัวต้นแบบผลิตภัณฑ์ทุนทางวัฒนธรรม โดยสำนักช่างสิบหมู่ ได้ดำเนินโครงการออกแบบ และจัดทำของที่ระลึกของกรมศิลปากร

เป็นการต่อยอดทุนทางวัฒนธรรมจากแหล่งเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นโบราณสถาน โบราณวัตถุในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ผ่านการศึกษา วิเคราะห์สู่การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีความสวยงาม

คำนึงถึงการใช้ประโยชน์ ถือเป็นการรักษาองค์ความรู้ทางศิลปวัฒนธรมที่กําลังจะสูญหาย และเพิ่มพูนประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญในเชิงช่าง และการออกแบบของบุคลากรในสำนักช่างสิบหมู่

จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี โดยจะขยายไปสู่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ในจังหวัดที่มีแหล่งท่องเที่ยวทางศิลปวัฒนธรรมที่สำคัญเพิ่มขึ้น

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ด้าน นายพนมบุตร กล่าวว่า แต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรด
เกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดตั้งกรมศิลปากร เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พุทธศักราช 2454

เพื่อการอนุรักษ์ และสืบทอดมรดกศิลปวัฒนธรรมสาขาต่าง ๆ ของชาติ ตลอดเวลาที่ผ่านมา กรมศิลปากร ได้มีการปรับเปลี่ยนและพัฒนาแนวทางการดำเนินงานให้สอดคล้องกับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป

สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน มีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้อย่างเหมาะสม มุ่งเน้นการอนุรักษ์ สืบทอด และนำมรดกทางวัฒนธรรมมาสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ

ไม่เพียงเท่านั้น อธิบดีกรมศิลปากร ยังกล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า ในโอกาส 114 ปี แห่งการสถาปนากรมศิลปากร จึงถือเป็นอีกก้าวย่างสำคัญที่จะเกิดการเปลี่ยนผ่านจากการอนุรักษ์ สืบทอด สู่ยุคแห่งการต่อยอดและพัฒนา โดยมีการดำเนินภารกิจสำคัญ ดังนี้

 

 

• พัฒนาโรงละครแห่งชาติ ตามมาตรฐานโรงละครระดับนานาชาติ ทัดเทียมกับอารยประเทศ ให้เป็นโรงละครที่งดงามสมเกียรติภูมิของประเทศชาติ ซึ่งจะแล้วเสร็จในปีนี้ และได้เตรียมจัดการแสดงเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ในการกลับมาของโรงละครแห่งชาติ

• เปิดแหล่งเรือจมพนม-สุรินทร์ จังหวัดสมุทรสาคร ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ใหม่ เชื่อมโยงกับแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้เคียง พัฒนาเป็นเส้นทางท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับท้องถิ่น

• ศึกษาเรื่องคนก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย จากยุคบุกเบิกสู่ยุคแห่งการต่อยอดและพัฒนา โดยนำเทคโนโลยีและการประยุกต์ศาสตร์ต่าง ๆ เข้ามาใช้ ทำให้องค์ความรู้ด้านโบราณคดี

ยุคก่อนประวัติศาสตร์ของไทยก้าวหน้าและทันสมัยขึ้น พัฒนาแหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์เป็นแหล่งเรียนรู้ให้ทุกคนได้ภาคภูมิใจในพัฒนาการอันยาวนานของผืนแผ่นดินนี้

• จัดทำหลักสูตรประวัติศาสตร์ท้องถิ่น และหนังสือคู่มือท้องถิ่นของเรา เพื่อให้เด็กและเยาวชน ได้รับรู้เรื่องราวท้องถิ่นของตนเอง สร้างความรัก ผูกพัน และความภาคภูมิใจในบ้านเกิด ซึ่งประสานสอดคล้องกับภารกิจของกรมศิลปากร

• ศิลปากรสัญจร เผยแพร่องค์ความรู้มรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ สู่การส่งเสริมการท่องเที่ยว และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ผลักดันให้คุณค่าของมรดกศิลปวัฒนธรรมกลายเป็นยุทธศาสตร์และทุนทางสังคมที่ช่วยสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจแก่ประเทศชาติ

 

• สถานีดิจิทัลศิลปวัฒนธรรม กรมศิลปากร รวบรวมบริการด้านดิจิทัลของกรมศิลปากรไว้ในที่เดียว เพิ่มความสะดวกและการเข้าถึงที่ง่ายขึ้น ประชาชนเข้าถึงบริการและข้อมูลมรดกศิลปวัฒนธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

• ปรับปรุงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

เสด็จ พระราชดำเนินไปทรงเปิด จำนวน 7 แห่ง เพื่อเทิดพระเกียรติในโอกาสพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระชนมายุ 100 พรรษา ในปีพุทธศักราช 2570

ได้แก่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง จังหวัดสุโขทัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช

โดยเพิ่มศักยภาพให้มีการบริการที่ทันสมัย ตอบสนองสังคมอย่างมีส่วนร่วมและสอดรับกับนโยบายของรัฐบาลในการนำทุนทางวัฒนธรรมมาเป็นพลังสร้างสรรค์เศรษฐกิจ

• จดหมายเหตุไทยในยุคแห่งการต่อยอดและพัฒนา พัฒนาระบบบริหารเอกสาร เพื่อรองรับนโยบายรัฐบาลในการส่งเสริมให้ภาครัฐ

 

 

ใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ในการปฏิบัติราชการตลอดจนการเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติงานบริหารเอกสารแก่หน่วยงานของรัฐอย่างต่อเนื่อง

• รักษ์รากเหง้า ก้าวสู่อนาคต การเปลี่ยนผ่านของหอสมุดแห่งชาติ พัฒนา ต่อยอดบทบาทของหอสมุดแห่งชาติจาก “แหล่งอนุรักษ์” ไปสู่ “ศูนย์กลางนวัตกรรมทางปัญญาของชาติ”

นำเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นตัวขับเคลื่อนหลักให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลได้สะดวก รวดเร็ว พร้อมมุ่งต่อยอดการสร้างนวัตกรรมการบริการและการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์

• เปิดอาคารศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์แห่งใหม่ จังหวัดปทุมธานี เสริมศักยภาพในการยกระดับมาตรฐานงานอนุรักษ์โบราณวัตถุและมรดกทางวัฒนธรรมทุกประเภทของประเทศไทยให้ทัดเทียมสากล

• สร้างต้นทุนทางวัฒนธรรม วัฒนธรรมนำสู่เศรษฐกิจ พัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่เป็นอัตลักษณ์ สอดแทรกกลิ่นอายของศิลปกรรมในแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ จำหน่ายส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์จากทุนทางวัฒนธรรมของชาติ

​ทั้งนี้ กรมศิลปากรยังคงมุ่งมั่นในการอนุรักษ์ ทำนุบำรุง สืบสานมรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ พร้อมปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก

เป็นการเปลี่ยนผ่านจากยุคอนุรักษ์ สืบทอด สู่การต่อยอดและพัฒนาและคงธำรงรักษามรดกทางวัฒนธรรมของชาติไทยไว้อย่างยั่งยืนมั่นคงสืบไป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ศาลสั่งจำคุก 4 ชาวจีน แอบลอบขนเอกสาร 32 แฟ้มตึก สตง.โดยไม่ได้รับอนุญาต
"ส.อ.ท." จับมือ "ม.มหิดล" ลงนามความร่วมมือ ดันเกษตรอัจฉริยะ โครงการ SAI
"ชัชชาติ" ยันเจออีก 12 ร่างติดใต้ซากตึกสตง.ถล่ม แจงเจออุปสรรคใหญ่นำออกไม่ได้ หวังยังมีผู้รอดชีวิต
“พรรคกล้าธรรม”เคาะส่ง“ก้องเกียรติ์ เกตุสมบัติ”ชิงเลือกตั้งซ่อม สส.นครศรีธรรมราช เขต 8
จีนซ้อมรบรอบเกาะไต้หวัน
เมียนมาไว้อาลัยเหยื่อแผ่นดินไหวล่าสุดพุ่งทะลุ 2,700 คน
เหตุก๊าซระเบิดมาเลเซียมีผู้บาดเจ็บกว่าร้อยคน
ยิงมายิงกลับ "ฮูตี" สอยร่วง โดรนเทพมะกันMQ-9 "อิสราเอล" เหี้ยมบึ้ม "กรุงเบรุต"
รีบเช็กด่วน! บ.จีน รับสร้างตึกที่ไหนบ้าง เพจดังแฉอึ้ง “ศาล-รพ.-ศูนย์กีฬา”
“สุดาวรรณ” ตรวจรอยร้าว “พระนอนวัดโพธิ์” ไม่กระทบส่วนสำคัญ มอบกรมศิลป์เร่งอนุรักษ์ซ่อมแซม พร้อมเร่งปูพรมสำรวจโบราณสถานทั่วประเทศ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น