“กรมโยธาธิการและผังเมือง” แถลงการณ์ ตรวจสอบความมั่นคงของอาคาร หลังเหตุแผ่นดินไหว

"กรมโยธาธิการและผังเมือง" แถลงการณ์ ตรวจสอบความมั่นคงของอาคาร หลังเหตุแผ่นดินไหว

จากสถานการณ์แผ่นดินไหว ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 นายกรัฐมนตรี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร และรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายอนุทิน ชาญวีรกูล ได้มีข้อสั่งการเร่งด่วนให้กรมโยธาธิการและผังเมือง ดำเนินการตรวจสอบอาคารที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวดังกล่าว

กรมโยธาธิการและผังเมือง ได้จัดตั้งศูนย์รับแจ้งเพื่อตรวจสอบความเสียหายของอาคารที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว ณ กรมโยธาธิการและผังเมือง ถนนพระรามที่ 6 โดยประสานงานกับสภาวิศวกร สมาคมผู้ตรวจสอบอาคาร และวิศวกรอาสาภาคเอกชน กรุงเทพมหานคร ในการเตรียมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเร่งดำเนินการลงพื้นที่ตรวจสอบความปลอดภัยของอาคาร โดยจะเน้น อาคารสาธารณะ อาคารชุมนุมคน เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล เป็นลำดับแรกและหากประเมินแล้วอาคารมีความเสี่ยงไม่ปลอดภัยในการใช้อาคาร จะเสนอให้มีการระงับการใช้อาคาร และให้ดำเนินการมีการปรับปรุงให้อาคารมีความมั่นคงแข็งแรงก่อนเปิดใช้อาคารต่อไป

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

โดยเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 กรมฯ ได้เริ่มดำเนินการตรวจสอบอาคารที่ได้รับการร้องขอแล้วจำนวน 3 หน่วยงาน 9 อาคาร ได้แก่ โรงพยาบาลราชวิถี 3 อาคาร โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า 2 อาคาร และโรงพยาบาลเลิดสิน 4 อาคาร และในวันที่ 29 มีนาคม 2568 จะมีการประชุมหารือวางแผนกำหนดแนวทางการตรวจสอบอาคารร่วมกัน โดยจะเข้าดำเนินการตรวจสอบอาคารเพิ่มเติมอีกจำนวน 5 หน่วยงาน ได้แก่ 1. อาคารกระทรวงพาณิชย์ 2. อาคารกระทรวงมหาดไทย 3. อาคารสำนักงบประมาณ 4. อาคารทำเนียบรัฐบาล 5. อาคารคณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์ 6. อาคารกรมศุลกากร(คลองเตย) 7. โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ 8. กรมสรรพากร (อารีย์) และจะดำเนินการตรวจสอบอาคารที่ได้รับแจ้งเพิ่มเติมต่อไป

 

 

กรมโยธาธิการและผังเมืองยังแนะนำให้เจ้าของอาคารสูง โรงแรม คอนโดมิเนียม และห้างสรรพสินค้า ที่เป็นของภาคเอกชน ติดต่อผู้ตรวจสอบอาคารประจำอาคาร หรือผู้ตรวจสอบอาคารที่ขึ้นทะเบียนกับกรมโยธาธิการและผังเมือง ซึ่งมีอยู่กว่า 2,600 ราย เพื่อประเมินความปลอดภัยของการเข้าใช้อาคารตามคู่มือสำรวจความเสียหายขั้นต้นของโครงสร้างอาคารหลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวของกรมโยธาธิการและผังเมือง หากเจ้าของอาคาร ผู้ใช้อาคารหรือผู้ตรวจสอบอาคารต้องการปรึกษาหรือขอคำแนะนำเพิ่มเติม สามารถติดต่อมาที่ศูนย์รับแจ้งเพื่อตรวจสอบความเสียของอาคารที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว ได้ตามช่องทางที่กำหนด ขณะเดียวกันในจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว ได้มอบหมายให้สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดจัดตั้งศูนย์รับแจ้งเพื่อตรวจสอบความเสียหายของอาคารที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว โดยให้รวบรวมวิศวกรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและวิศวกรอาสาในพื้นที่เข้าร่วมดำเนินการตรวจสอบอาคารเช่นเดียวกัน

 

 

ทั้งนี้ กรมโยธาธิการและผังเมืองได้เผยแพร่คู่มือสำรวจความเสียหายขั้นต้นของโครงสร้างอาคารหลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวของกรมโยธาธิการและผังเมือง หลังแผ่นดินไหว เพื่อให้เจ้าของอาคาร ผู้ตรวจสอบอาคาร และประชาชนทั่วไปรับทราบผ่านทุกช่องทาง พร้อมทั้งเปิดสายด่วนสำหรับขอรับคำปรึกษาและแจ้งเหตุที่หมายเลข 02-299-4191 และ 02-299-4312 ตลอด 24 ชั่วโมง จึงขอให้ประชาชนและเจ้าของอาคารที่พบความเสียหาย ดำเนินการให้มีการประเมินตรวจสอบอาคาร เพื่อให้มีความปลอดภัยในการเข้าใช้อาคารต่อไป

โดยในส่วนของอาคารบ้านเรือนของพี่น้องประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กรมฯ จะร่วมกับกรุงเทพมหานคร ดำเนินการตรวจสอบวิเคราะห์ ประเมิน ตามข้อมูลที่ได้รับผ่านแอพพลิเคชั่น Traffy Fondue (ทรัฟฟี่ฟองดู) ของกรุงเทพมหานครต่อไป

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

อาลัย "อำพล พงศ์สุวรรณ" ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา ได้ถึงแก่อนิจกรรม ด้วยโรคประจำตัว
"ฉก.ทัพเจ้าตาก" ปะทะเดือด "แก๊งยาเสพติด" ขณะลำเลียงผ่านชายแดนเชียงราย ยึดของกลาง 1.2 ล้านเม็ด
ตร.บุกช่วยสาว 17 ถูกแก๊งคอลฯ รีดค่าไถ่ 5 แสนบาท แลกกับการปล่อยตัวก่อนถูกส่งขายชายแดน
"พิชัย" เผยสอบผิดจริง 2 บริษัทนอมินีจีนสร้างตึกสตง.อึ้งรับงาน 26 โครงการ ส่งข้อมูลดีเอสไอ มท.ตรวจความปลอดภัย
"วราวุธ"กำชับภารกิจพม.ดูแลเต็มที่ผู้เสียชีวิต บาดเจ็บ เหตุตึกสตง.ถล่ม
แผ่นดินไหวในเมียนมา ดับ 3,003 ราย
ปฏิกริยาจีนและเอเชียหลังทรัมป์ประกาศภาษีตอบโต้
"พิชัย" รับเกินคาด สหรัฐปรับขึ้นภาษีนำเข้า 36 % ยันไม่นิ่งนอนใจ พณ.นำ 3 มาตรการเร่งเจรจา
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) ชม'ไซโล'เป่าลมยักษ์จีนพร้อมเก็บธัญพืชในหูหนาน
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) จีนยินดีต้อนรับ 'เพื่อนต่างชาติ' ท่องเที่ยวจีนเพิ่มขึ้น

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น