สื่อสหรัฐตีข่าวตึกไทยถล่มอาจกระทบโครงการหนึ่งแถบเส้นทางจีน

สื่อสหรัฐรายงานบทวิเคราะห์ชี้ว่าโครงการหนึ่งแถบเส้นทางหรือ Belt and Road ของจีนกำลังถูกตั้งข้อสงสัยหลังจากอาคาร 30 ชั้นของไทยซึ่งรับเหมาโดยบริษัทจีนพังถล่มในเหตุการณ์แผ่นดินเมียนมา

เดอะ วอชิงตัน ไทม์สชี้ว่าอาคารสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินหรือสตง. สูง 30 ชั้นของไทยที่พังถล่มลงมา เผยให้เห็นสิ่งที่นักวิเคราะห์บางคนกล่าวว่าเป็นหลักฐานของการก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน เหล็กเส้นที่ถูกเปิดเผยในเหตุตึกถล่มเห็นได้ชัดเจนว่าได้เกิดหักจากแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว และอาคารดังกล่าวเป็นการร่วมทุนระหว่างจีนกับไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายทางการทูตของจีน ซึ่งเหตุอาคารสตง.ของไทยพังถล่มครั้งนี่้ทำให้มีผู้เสียชีวิต 15 คนสูญหาย 72 คน

แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีของไทย กล่าวถึงเหตุการณ์ครั้งนี้ว่าได้ดูคลิปวีดีโออาคารถล่มจากหลายมุม ซึ่งจากประสบการณ์ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง ตนไม่เคยเห็นปัญหาแบบนี้มาก่อน ซึ่งต้องสืบสวนอย่างละเอียดถี่ถ้วนเพราะงบประมาณส่วนใหญ่ถูกจัดสรรไว้ และกำหนดเส้นตายของการก่อสร้างก็ถูกเลื่อนออกไป ซึ่งล่าสุดไทยได้เริ่มการสอบสวนเรื่องนี้แล้ว

2 วันหลังจากเกิดแผ่นดินไหว ปรากฏภาพของชาวจีน 4 คน พยายามขนเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ออกไปจากบริเวณที่เกิดเหตุ โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจของไทยได้ควบคุมตัว สอบปากคำก่อนจะปล่อยตัวไป จากนั้นสถานทูตจีนในกรุงเทพฯ และกระทรวงมหาดไทยของไทย ได้ประชุมหารือเกี่ยวกับเหตุการณ์ตึกถล่ม อย่างไรก็ตาม การเจรจาระหว่างทั้ง 2 ฝ่ายไม่ได้ถูกเปิดเผยต่อสาธารณะ

รายงานเผยว่า“ภาพลักษณ์ของจีนในไทยมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อจีน ภายใต้การแข่งขันอย่างไม่เป็นทางการระหว่างจีนกับสหรัฐฯซึ่งเกิดขึ้นมานานหลายทศวรรษในความพยายามที่จะสร้างอิทธิพลต่อการทูต การเมือง เศรษฐกิจ และการทหารของไทย โดยจีนนั้นมีการส่งเสริมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับไทยผ่านการศึกษา การลงทุน การท่องเที่ยว และความช่วยเหลือทางการเงิน”

ทีมสืบสวนได้กระเทาะเอาเหล็กเส้น 2 ประเภทออกจากเสาคอนกรีตของตึกที่ถล่ม หลังตรวจสอบ สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทยพบว่าองค์ประกอบทางเคมี มวล และความแข็งแรงของเหล็กเส้นกลมไม่ผ่านการทดสอบ ภาพที่สื่อท้องถิ่นของไทยรายงาน เผยให้เห็นให้เห็นชื่อยี่ห้อที่ประทับบนเหล็กเส้นที่ขุดออกมาจากซากอาคารผลิตโดยบริษัทเหล็กของจีน ขณะที่ชาวไทยบางส่วนเริ่มแสดงความกังวลเกี่ยวกับอิทธิพลที่เพิ่มมากขึ้นของจีนต่อการพัฒนาประเทศ

เศรษฐกิจภาคการท่องเที่ยวที่ซับซ้อนของไทย ตลาดคอนโดมิเนียมและการก่อสร้างมูลค่าหลายพันล้านเหรียญสหรัฐ บริษัทประกันภัย และภาคส่วนอื่นๆ ได้รับผลกระทบนับตั้งแต่เกิดแผ่นดินไหว นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) แห่งนี้จะสูญเสียมากกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 3.4 หมื่นล้านบาท) จากแผ่นดินไหว ขณะที่กรมโยธาธิการและผังเมืองของไทย เปิดเผยเมื่อวันที่ 2 เม.ย. 2568 ว่าอาคารสูงอย่างน้อย 30 แห่งในประเทศไทย ได้รับความเสียหายในระดับที่ไม่สามารถอยู่อาศัยได้

เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้สังคมไทยวิพากษ์วิจารณ์หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบในการตรวจสอบสัญญาก่อสร้าง แบบแปลน และวัสดุก่อสร้างว่าไม่สามารถหรือไม่เต็มใจที่จะแก้ไขปัญหาการพังถล่มของตึกสตง. อีกทั้งยังมองเป็นเรื่อง “ตลกร้าย (Grim Irony)” เมื่ออาคารแห่งเดียวในกรุงเทพฯ ที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากแผ่นดินไหว เป็นอาคารของหน่วยงานของรัฐซึ่งมีหน้าที่ป้องกันไม่ให้มีสัญญาปลอมและเรื่องไม่ชอบมาพากลต่างๆ เกิดขึ้นในโครงการจัดซื้อจัดจ้างที่เกี่ยวข้องกับภาครัฐ

“บริษัทร่วมทุนที่ก่อสร้างอาคารดังกล่าว ฝั่งหนึ่งเป็นบริษัทในเครือ CREC ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของจีน ขณะที่อีกฝั่งหนึ่งคือ Thai-Italian Development ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทรับเหมาก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุดของไทยและของอาเซียน โดย CREC นั้นมีบทบาทในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 1 แถบ 1 เส้นทาง ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาและขยายกิจการระหว่างประเทศที่กว้างขวางของจีน เช่น โครงการรถไฟเส้นทางมอมบาซา-ไนโรบีในภูมิภาคแอฟริกาตะวันออกที่วิ่งผ่านเคนยา รวมถึงโครงการในจีนเอง เช่น โครงการรถไฟเส้นทางปักกิ่ง-เซี่ยงไฮ้ และเส้นทางชิงไห่-ทิเบต”

CREC เป็นองค์กรของรัฐบาลจีนและได้ดำเนินโครงการอื่นๆ ในประเทศไทยแล้วเสร็จไปหลายแห่ง รวมทั้งเส้นทางรถไฟสำหรับเชื่อมต่อไปยังเส้นทางรถไฟความเร็วสูงที่เชื่อมต่อจากปักกิ่ง-กรุงเทพ-สิงคโปร์ นอกจากนี้ CREC ยังช่วยทำเส้นทางรถไฟใต้ดินสายหนึ่งของกรุงเทพฯ และกำลังเสนอราคาสำหรับเส้นทางอื่นๆ ด้วย ซึ่งล่าสุดหน่วยงานของไทยทั้งกระทรวงพาณิชย์ กรมสรรพากรและตำรวจปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ ได้เริ่มตรวจสอบอีกกว่า 10 โครงการในไทยที่อาจเชื่อมโยงกับบริษัทสัญชาติจีนดังกล่าวแล้ว

ก่อนเกิดแผ่นดินไหว CREC ได้กล่าวถึงโครงการก่อสร้างอาคารสตง. อย่างภาคภูมิใจว่าเป็นโครงการก่อสร้างอาคารสูงแห่งแรกที่ดำเนินการในต่างประเทศ ซึ่ง ฟิลิป เจ. คันนิงแฮม (Philip J. Cunningham) นักวิจัยด้านการเมืองเอเชีย ตั้งข้อสังเกตว่า หลังเกิดแผ่นดินไหวและอาคารดังกล่าวพังถล่มลงมา CREC ได้ลบภาพและข้อมูลทุกอย่างของโครงการนี้ออกไปจากเว็บไซต์

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ใกล้แล้ว! “กู้ภัย” ลุยแผนปอกเปลือกผลไม้ ลุ้นเจอเจ้าของเสียง “ช่วยด้วย”
"อนุทิน" โต้เพจ CSI LA ซัดนั่งเทียนมั่ว ช่วยชี้นำผลสอบ "มณเฑียร" ผู้ว่าสตง.เหตุตึกถล่ม
‘นิด้าโพล’ เช็กความกังวลคนกรุง ต่อกลุ่มตึก-อาคาร หลังเกิดแผ่นดินไหว เสียง 47 % ยกห้างสรรพสินค้า มั่นใจมากสุด
ดีอี เตือน “โจรออนไลน์” ส่ง SMS แนบลิงก์ปลอม “M-FLOW แจ้งมีบิลที่กำลังรอดำเนินการ” หลอกดูดเงิน-ข้อมูลส่วนบุคคล
"นายกฯ" มั่นใจไทยผ่านพ้นทุกวิกฤต เร่งเจรจาสหรัฐลดผลกระทบโดนขึ้นภาษีนำเข้า 36 %
DSI แฉบริษัทเอกชนจีน สร้างตึกสตง. ภาษี 0 บาท งบขาดดุล เร่งล่าคนหนุนหลัง
ทบ.สนับสนุน MI 17 บรรทุกน้ำดับไฟป่า 7 เที่ยว ช่วยแก้หมอกควัน ฝุ่น PM 2.5
มาแน่ อุตุฯเตือนทั่วไทยอากาศร้อนจัด ระวังอันตรายพายุฤดูร้อน ฝนถล่มหนัก 45 จังหวัด กทม.โดนด้วย
"พล.อ.ประยุทธ์" เป็นผู้แทนพระองค์ เชิญสัญญาบัตร พัดยศ ถวายพระธรรมทูตสายอินเดีย-เนปาล
จนท.เร่งเคลียร์พื้นที่โซน C เชื่อน่าจะพบผู้สูญหายจำนวนมาก

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น