“ร่องลึกนันไก” ใกล้ตื่น! ญี่ปุ่นเสี่ยงแผ่นดินไหวระดับ 9 – อาจคร่า 3 แสนชีวิต

เปิดข้อมูลช็อก! “ร่องแผ่นดินไหวนันไก” ยังรอปลดปล่อยพลัง มีโอกาสสูงมากที่จะเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงระดับ 9 “ญี่ปุ่น” นั่งไม่ติด เร่งประเมินสถานการณ์ คาดประเทศพังถึงเกือบ 2 ล้านล้านดอลล่าร์ อาจคร่าผู้คนเกือบ 3 แสนชีวิต

“ร่องลึกนันไก” ใกล้ตื่น! ญี่ปุ่นเสี่ยงแผ่นดินไหวระดับ 9 – อาจคร่า 3 แสนชีวิต – Top News รายงาน

 

สำนักรัฐมนตรีของญี่ปุ่น ออกรายงานระบุว่า หากเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ความเสียหายทางเศรษฐกิจที่คาดว่าจะเกิดขึ้นนั้น มีมูลค่าสูงถึง 270.3 ล้านล้านเยน (หรือประมาณ 1.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 61 ล้านล้านบาทไทย) ซึ่งก็คือเกือบครึ่งหนึ่งของ GDP ของประเทศ โดยเพิ่มขึ้นอย่างมาก จากการประมาณการครั้งก่อน ซึ่งอยู่ที่ 214.2 ล้านล้านเยน เนื่องจากการประมาณการใหม่นี้ คำนึงถึงแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ และข้อมูลภูมิประเทศ รวมถึงการอัพเดตภาคพื้นดิน ที่พบว่า พื้นที่ที่จะเกิดน้ำท่วม มีวงกว้างมากขึ้น

รายงานระบุต่อว่า หากเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงระดับ 9 ในพื้นที่ สถานการณ์เลวร้ายที่สุดคือ ญี่ปุ่นอาจต้องอพยพประชาชน 1.23 ล้านคน หรือคิดเป็น 10 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งหมด นอกจากนี้ หากเกิดแผ่นดินไหวในตอนดึกของฤดูหนาว ก็อาจมีผู้เสียชีวิตจากคลื่นยักษ์สึนามิ และอาคารถล่มมากถึง 298,000 คน ทั้งนี้ ญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในประเทศที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหวมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก และรัฐบาลมองว่า มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวขนาด 8 ถึง 9 ถึงประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ ในบริเวณใต้ท้องทะเลที่มีแรงสั่นสะเทือน ที่เรียกว่า ร่องแผ่นดินไหวนันไก

สำหรับร่องดังกล่าวนี้ อยู่บริเวณนอกชายฝั่งแปซิฟิกตะวันตกเฉียงใต้ ของญี่ปุ่น และทอดยาวเป็นระยะทางประมาณ 900 กิโลเมตร โดยที่แผ่นเปลือกโลกฟิลิปปินส์ กำลังเคลื่อนตัวลงไปใต้แผ่นเปลือกโลกยูเรเซีย แรงเคลื่อนตัวที่สะสมกันนี้ อาจส่งผลให้เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ประมาณ 1 ครั้งใน 100 ถึง 150 ปี ขณะที่เมื่อปีที่แล้ว ญี่ปุ่นได้ออกคำเตือนเกี่ยวกับแผ่นดินไหวครั้งใหญ่เป็นครั้งแรกว่า มีโอกาสสูงมาก ที่จะเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงถึง 9 ริกเตอร์ ในร่องแผ่นดินไหว หลังจากเกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.1 ริกเตอร์ ที่ขอบร่องแผ่นดินไหวไปแล้ว

ทั้งนี้ แผ่นดินไหวขนาด 9 ริกเตอร์ ที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2011 ซึ่งก่อให้เกิดคลื่นสึนามิอันเลวร้าย และการหลอมละลายของเครื่องปฏิกรณ์ 3 เครื่อง ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกุชิมะ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่น และได้คร่าชีวิตผู้คนไปมากกว่า 15,000 คน

 

ข่าวที่น่าสนใจ

สื่อญี่ปุ่น รายงานว่า สำนักอุตุนิยมวิทยา ประกาศยกระดับเตือนภัย ภูเขาไฟชินโมเอดาเกะ ในภูมิภาคคิวชู เป็นระดับ 3 จากทั้งหมด 5 ระดับ โดยเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา พบว่าภูเขาไฟมีความเสี่ยงจะเกิดการปะทุ โดยเจ้าหน้าที่จำกัดการเข้าพื้นที่ดังกล่าว ห้ามนักท่องเที่ยวเข้าใกล้บริเวณโดยรอบ   ทั้งนี้ ทางการญี่ปุ่นได้ยกระดับการเตือนภัย ภูเขาไฟ ชินโมเอดาเกะ ซึ่งอยู่ในกลุ่มภูเขาคิริชิมะ ตั้งอยู่ที่จังหวัด คาโงชิมะ และมิยาซากิ ในภูมิภาคคิวชู ทางตอนใต้ของประเทศ เป็นระดับ 3

เนื่องจากเกิดแผ่นดินไหวที่ใต้ปากปล่องภูเขาไฟ ตั้งแต่เมื่อวันศุกร์ที่ 28 มี.ค.ที่ผ่านมา จากนั้นเกิดแรงสั่นสะเทือนอีกครั้ง เมื่อวันที่ 30 มี.ค. สอดคล้องกับการพบการเคลื่อนตัวของพื้นดิน ซึ่งบ่งชี้ว่า ดินขยายตัว  โดยก่อนหน้านี้มีการประกาศเตือนภัยระดับ 2 ซึ่งจำกัดการเข้าพื้นที่ เฉพาะบริเวณปากปล่องภูเขาไฟเท่านั้น ถือเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2018

ขณะเดียวกัน ทางการญี่ปุ่นได้ออกคำเตือน ให้ประชาชนเฝ้าระวัง หากเกิดการปะทุขึ้น เนื่องจากหินภูเขาไฟขนาดใหญ่ อาจจะกระเด็นไปไกลจากปากปล่องภูเขาไฟ ถึง 4 กิโลเมตร และหินตะกอนภูเขาไฟ อาจไหลไปได้ไกลถึง 2 กิโลเมตร พร้อมเรียกร้องให้ประชาชนปฏิบัติตามคำแนะนำ ของทางการท้องถิ่น และงดเข้าไปในพื้นที่อันตราย   นอกจากนี้ ทางเจ้าหน้าที่ยังเรียกร้องให้ประชาชนในพื้นที่ใต้ลม รวมทั้งผู้ขับขี่รถยนต์ ระมัดระวังเถ้าภูเขาไฟ และหินขนาดเล็ก ที่อาจพัดมาตามลม และตกลงมาในพื้นที่ห่างไกล และแรงสั่นสะเทือนของอากาศที่เกิดจากการปะทุ อาจทำให้กระจกหน้าต่างแตกได้

 

 

 

นายกรัฐมนตรี ชิเงรุ อิชิบะ กล่าวในที่ประชุมของสำนักงานส่งเสริมความสามารถ ในการรับมือภัยพิบัติแห่งชาติ โดยชี้ให้เห็นถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น จากแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ และความกังวลของประชาชน ต่อโครงสร้างพื้นฐานที่เสื่อมสภาพลง โดยสำนักข่าวเกียวโด รายงานว่า รายงานคาดการณ์ที่เผยแพร่เมื่อวันจันทร์ที่ 31 มี.ค.ที่ผ่านมา เกี่ยวกับงบประมาณที่วางแผนไว้ จากทั้งภาครัฐ และภาคธุรกิจ มีเป้าหมายเพื่อเร่งปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานที่เสื่อมสภาพ และเตรียมพร้อมรับมือภาวะน้ำท่วม และแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ ที่อาจจะเกิดขึ้น (โดยเพิ่มขึ้นจาก 15 ล้านล้านเยน ที่ใช้ในช่วงปีงบประมาณ 64-68) สะท้อนให้เห็นถึงต้นทุนการก่อสร้าง และราคาวัสดุที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งรัฐบาลมีแผนจะอนุมัติในเดือน มิ.ย.68

นายกรัฐมนตรี ชิเงรุ อิชิบะ กล่าวว่า เราจำเป็นต้องดำเนินมาตรการ เพื่อลดความเสียหายอย่างต่อเนื่อง เพราะแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ จากรอยเลื่อนนังไก ในมหาสมุทรแปซิฟิก อาจทำให้มีผู้เสียชีวิตสูงถึง 298,000 คน  นอกจากนี้ ท่อระบายน้ำใต้ดินที่เสื่อมสภาพ ยังเป็นสาเหตุของหลุมยุบ ในเมืองยะชิโอ จังหวัดไซตามะ ใกล้กรุงโตเกียว ส่งผลให้รถบรรทุก และคนขับ ตกลงไปเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา

 

ส่วนเหตุแผ่นดินไหวรุนแรง ที่คาบสมุทรโนโตะ (เมื่อวันที่ 1 ม.ค.67) ครั้งนั้นทำให้ระบบประปาหยุดชะงักเป็นเวลานาน รัฐบาลจึงมีแผนปรับปรุงท่อน้ำ และท่อระบายน้ำ ให้สามารถทนต่อแรงสั่นสะเทือนได้ 34% ภายในปีงบประมาณ 73 (เพิ่มขึ้นจาก 15% ในปีงบประมาณ 66)  ขณะเดียวกัน สะพานและถนนราว 92,000 แห่ง ที่อยู่ภายใต้การดูแลของรัฐบาลกลางและท้องถิ่น ในระยะเริ่มต้น จะได้รับการซ่อมแซมจำนวน 80% ภายในปี 73 (ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 55% ที่ได้รับการซ่อมแซมในปี 66 อีกด้วย

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

จีนตั้งผู้แทนเจรจาการค้าคนใหม่ท่ามกลางสงครามภาษี
"กรมทรัพยากรธรณี" เตือน 7 จังหวัด เฝ้าระวังดินถล่ม-น้ำป่าไหลหลาก 16-18 เมษายนนี้
"สว.วีระพันธ์" ชี้ 6 ปัญหาใหญ่ เหตุหมอทยอยลาออก ลั่นไม่รีบแก้สาธารณสุขไทยวุ่นแน่
ตรวจหวย ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 16 เมษายน 2568
"ทวี" แจงตีความผิดโมเดล"ซินเจียง" ยันไม่มีแนวคิดแยก 3 จว.ชายแดนใต้เป็นเขตปกครองพิเศษ
"ศปถ." ปรับแผนรองรับการเดินทางกลับ กทม. ของปชช. กำชับเจ้าหน้าที่เข้มงวดความปลอดภัย
"YGL" คัดเลือก"นายกฯอิ๊งค์" เป็น 1 ใน 114 ผู้นำอายุน้อยกว่า 40 ที่สร้างการเปลี่ยนแปลง
สีจิ้นผิงถึงมาเลเซีย หวังกระชับมิตรภาพ ก้าวสู่ 50 ปีทองรอบใหม่
"2 หนุ่ม ชาวประมง" หวั่นเรือเสียหาย พายเรือแคนูออกตรวจกลางดึก ถูกคลื่นซัดเรือล่ม รอด 1 เสียชีวิต 1 ราย
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) จีนพาชม 'ห้องสมุดลอยน้ำ' แลนด์มาร์กที่ไหหลำ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น