การันตีมืออาชีพคนจักสานทำมือ ณ เมืองอ่างทอง จากอาชีพเสริม ต่อยอดงานพรีเมี่ยมระดับสากล

สคช. เริ่มแล้วการันตีมืออาชีพคนจักสานทำมือ ณ เมืองอ่างทอง จากอาชีพเสริม ต่อยอดสู่งานพรีเมี่ยมระดับสากล หนุนคนรุ่นใหม่ในท้องถิ่นร่วมสืบทอดภูมิปัญญา

วันที่ 21 เม.ย. 68 สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) หรือ สคช. ร่วมกับพัฒนาชุมชนจังหวัดอ่างทอง, อบต.ตลาดใหม่และ อบต.บางเจ้าฉ่า จังหวัดอ่างทอง เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านการอนุรักษ์งานศิลปหัตถกรรมและงานพื้นบ้าน จำนวน 5 คน ประกอบด้วย ผศ.ดร.อนุชา ทีรคานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน), ดร.กรกลด คำสุข รองคณบดีฝ่ายวิชาการและรักษาการแทน ผู้อำนวยการสำนักวิชาการสร้างสรรค์ วิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, นายพรชัย บุญรื่น ประธานกลุ่มสานศิลป์บางเจ้าฉ่า, นางสาวฐิติพัชร์ รวยทรัพย์ ประธานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตจักสานหวาย ตำบลบ้านใหม่ และนางปราณี จันทวร ที่ปรึกษากลุ่มจักสานผักตบชวาบ้านบางตาแผ่น ตำบลคลองวัว อำเภอเมืองจังหวัดอ่างทอง ลงพื้นที่จัดการประเมินสมรรถนะของบุคคล เพื่อให้การรับรองว่าผู้ประกอบอาชีพจักสานมีทักษะ ความรู้เทคนิคที่เป็นไปตามที่มาตรฐานอาชีพผู้ผลิตเครื่องจักสานสำหรับงานอนุรักษ์ ระดับ 5 และอาชีพผู้ผลิตเครื่องจักสานร่วมสมัย ระดับ 6 กำหนดไว้ (ระดับ 5 เทียบเคียงได้กับวุฒิการศึกษาระดับ ปวส. และระดับ 6 เทียบเคียงวุฒิการศึกษาในระดับปริญญาตรี) และวันนี้มีผู้ผ่านการประเมิน รวมทั้งสิ้น 43 คน ใน 3 อำเภอ ได้แก่ การประเมิน ณ ที่ทำการ อบต.ตลาดใหม่ อ.วิเศษชัยชาญ, การประเมิน ณ ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนตำบลบางเจ้าฉ่า อ.โพธิ์ทอง ซึ่งเป็นแหล่งหัตถกรรมจักสานจากไม้ไผ่ที่ขึ้นชื่อของจังหวัดอ่างทอง มีการพัฒนางานฝีมือได้ตามความต้องการของลูกค้าเฉพาะกลุ่มที่ต้องการความเป็นเอกลักษณ์ร่วมกับแบรนด์ดังระดับโลก และจุดสุดท้ายคือ การประเมิน ณ ที่ทำการกลุ่มจักสานผักตบชวาบ้านบางตาแผ่น อ.เมือง จ.อ่างทอง

 

ข่าวที่น่าสนใจ

การลงพื้นที่ในวันนี้ได้รับความสนใจจากผู้ประกอบอาชีพร่วมประเมินทักษะ ความสามารถและโชว์ผลงานของตนเอง เพื่อการันตีความเป็นมาตรฐานของคนทำงานฝีมือ ทั้งประเภทจักสานไม้ไผ่,หวาย และผักตบชวา ซึ่งอ่างทองเป็น 1 ในจังหวัดที่มีการประกอบอาชีพจักสานที่เลื่องชื่ออีกแห่งหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งนอกจากที่จะการันตีมืออาชีพแล้ว สถาบันและท้องถิ่น จ.อ่างทอง ยังหวังสร้างแรงจูงใจแก่คนรุ่นใหม่ในชุมชน ให้เห็นคุณค่าของสมบัติด้านภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่มีมายาวนาน และเข้ามาร่วมกันสร้างผลงาน ต่อยอดทั้งช่องทางการจัดจำหน่าย และขยายฐานการตลาด ใช้เอกลักษณ์ท้องถิ่นนำมาผลิตให้ร่วมสมัยมากขึ้น ก่อนที่จะสูญสิ้นไปกับคนรุ่นปู่ย่าตายาย

 

 

ดร.กรกลด คำสุข หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญจากวิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กล่าวว่า การรับรองคุณวุฒิวิชาชีพแก่ผู้ที่ประกอบอาชีพนั้น แสดงให้เห็นว่าคนๆนั้นมีมาตรฐานในการทำงานเทียบเท่าระดับสากล ซึ่งนั่นเป็นสิ่งสำคัญในการต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชนไปสู่ตลาดในต่างประเทศ ก็จะช่วยยกระดับและเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์ได้ จึงไม่เพียงแต่เป็นการอนุรักษ์งานศิลปหัตถกรรมไทยให้คงอยู่ แต่ยังเป็นการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ให้ร่วมสมัย มีการดีไซน์ที่โดดเด่น และสร้างรายได้ให้คนในชุมชนได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เปิดชมฟรี 5 วันเต็ม "รมว.ปุ๋ง" ชวนสัมผัสเสน่ห์พิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน รื่นเริง การแสดงศิลปวัฒนธรรมแบบเต็มอิ่ม งานฉลอง 243 ปี กรุงรัตนโกสินทร์
"อัยการคุ้มครองสิทธิฯ" เยี่ยมครอบครัวเหยื่อ ตึก สตง.ถล่ม
ศาลอนุญาตให้ประกัน 3 ผู้ต้องหาคนไทย คดีนอมินีไชน่า เรลเวย์ฯ แล้ว
"ทบ." ขอแสดงความเสียใจ ครอบครัวผู้เสียชีวิต ปมอุบัติเหตุรถยนต์ทหาร เฉี่ยวชนกับจยย.พ่วงข้าง
สำนักวาติกันเตรียมจัดพิธีศพโป๊ปเสาร์นี้
"นายกฯ" ถกเข้มมาตรการสวมสิทธิ์สินค้าไทย จ่อปรับ กม.-เพิ่มบทลงโทษ
สหรัฐจ่อเก็บภาษีโซลาร์เซลล์ไทย 375%
ไฟไหม้เที่ยวบินเดลต้าเร่งอพยพผู้โดยสารอเมริกัน
โป๊ปสิ้นพระชนม์จากภาวะหัวใจล้มเหลว
“พิชัย” เปิดเวที Agri Plus Award 2025 ปลุกเร้านักคิดไทย ร่วมพัฒนานวัตกรรมใหม่ เพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร แข่งตลาดโลก

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น