นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า วันนี้ได้ลงพื้นที่มาตรวจติดตามโครงการภูเก็ต sandbox จากการรับฟังสรุปรายงานจากผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต และภาคเอกชนทุกภาคส่วนแล้ว ทำให้เกิดความมั่นใจว่าเราเดินมาถูกทางแล้ว จากตัวเลขข้อมูลต่างๆที่ได้รับยืนยันว่าภูเก็ตแซนด์บอกซ์เดินหน้าได้อย่างดีและจะขยายผลไปจังหวัดข้างเคียงคือพังงาและกระบี่เร็วๆนี้ โดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลระบบ ICT สมัยใหม่มาใช้ในการติดตามตัวนักท่องเที่ยวและควบคุมมาตรการต่างๆให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพโดยเชื่อว่าสิ่งที่ได้เดินหน้าโครงการมาแล้วทำให้เกิดความมั่นใจแก่คนไทยว่าเราสามารถเปิดประเทศได้ตามนโยบายพลเอกประยุทธ์จันทร์โอชานายกรัฐมนตรีและรมวกลาโหมที่เคยพูดไว้ว่าจะเปิดประเทศภายใน 120 วันซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เศรษฐกิจในประเทศเดือนหน้าได้ต่อไปและกลับมาใช้ชีวิตปกติให้ได้เร็วที่สุดขอให้คนไทยทุกคนเชื่อมั่น
ส่วนปัญหาขั้นตอนการตรวจคัดกรองเชื้อโควิคก่อนเข้าเมืองภูเก็ตที่มีความยุ่งยากจะมีการปรับขั้นตอนให้สะดวกรวดเร็วขึ้นง่ายต่อการเข้ามาท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ตหรือไม่นั้นถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งยังคงต้องระมัดระวังควบคุมมาตรการการเดินทางเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อการระบาดของโควิด ซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องตรวจหาเชื้อด้วยชุด Antigen Test Kitหรือ ATK และติดตามเรื่องการฉีดวัคซีนให้ครบก่อนจะเดินทางแต่สุดท้ายจะต้องมีการผ่อนปรนมาตรการซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตจะมีการหารือในต่อไปว่าจะมีมาตรการต่างๆออกมาเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัดให้ดียิ่งขึ้น และเรื่องการใช้การตรวจแบบ rt-pcr กับนักท่องเที่ยวที่ค่อนข้างราคาสูงมากต่อครั้งอยู่ที่ 2,600 บาท ถ้าตรวจ 2 ครั้งก็อยู่ที่ 5,200 บาทแล้วและยังต้องมีค่าประกันสุขภาพด้วย ซึ่งถือเป็นเงินจำนวนมากเป็นภาระต่อนักท่องเที่ยวทำให้คนไม่อยากมาเที่ยว จึงคิดว่าน่าจะลองทบทวนการใช้ ATK แทน RTt-PCR ได้หรือไม่เนื่องจากประเทศไทยมีการยอมรับเรื่องการใช้ ATK แล้วและ Rapid test ซึ่งมีความสะดวกและราคาถูกกว่าประมาณ 100-200 บาท ซึ่งตนจะนำเสนอต่อที่ประชุมสปกต่อไปเนื่องจากได้ข้อมูลรายงานมาและหลังจากนี้หากมีการขยายพื้นที่ท่องเที่ยวไปหลายจังหวัดมากขึ้นปัญหาคือการเชื่อมโยงข้อมูลนักท่องเที่ยวกันระหว่างจังหวัด เชื่อมโยงมาตรการให้เป็นเนื้อเดียวกันควรจะต้องมีคอมมานด์ เซ็นเตอร์ เป็นศูนย์รวมข้อมูลที่เดียว โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมาเชื่อมโยงข้อมูลให้เป็นหนึ่งเดียวกัน
สำหรับการคาดการณ์ว่าจะมีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวภูเก็ตประมาณวันละ 10,000 คน ประกอบกับการโปรโมทการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นและผ่อนปรนมาตรการและลดค่าใช้จ่ายก็จะสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวมาภูเก็ตได้มากขึ้นและหากมีการขยายแหล่งท่องเที่ยวให้ข้ามไปถึงพังงาและกระบี่ด้วยจะยิ่งสร้างรายได้ให้กิจการท่องเที่ยวและโรงแรม ที่พักต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น
เรื่องการเชื่อมโยงข้อมูล อยากให้ประเทศไทยเป็น One Country One Platform One Country One Application มีแค่ 1 แอปพลิเคชันเนื่องจากพบปัญหาว่าแต่ละหน่วยงานมีแอปของตัวเองทำให้นักท่องเที่ยวต้องโหลดแอปฯหลายแอปและข้อมูลไม่เชื่อมโยงกัน ต้องลดความซ้ำซ้อน และอำนวยความสะดวกให้ประชาชนมากยิ่งขึ้น เชื่อว่าจะมีการขยายพื้นที่ในการเปิดรับการท่องเที่ยวเพิ่มเติมไปหลายพื้นที่รวมถึงจังหวัดชลบุรี ไปอ.หัวหินจ.ประจวบคีรีขันธ์ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี รวมถึงกรุงเทพฯที่จะเปิดรับการท่องเที่ยวได้ ซึ่งภูเก็ตเปิดให้ดื่มแอลกอฮอล์ในร้านได้แล้วซึ่งต้องมาติดตามกับผู้ว่าราชการจังหวัดว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไรซึ่งเชื่อว่าจะไม่มีการแพร่ระบาดโควิด จะมีมาตรการอื่นคอยระวังดูแลอยู่แล้วซึ่งถือเป็นวิถีชีวิตของนักท่องเที่ยวเมื่อมาพักผ่อนก็จะมีการดื่มสังสรรค์กันบ้างเพื่อกระตุ้นให้คนอยากมาเที่ยวมากขึ้น
นอกจากนี้ระบบควบคุมการติดตามตัวนักท่องเที่ยว หากนักท่องเที่ยวโหลดแอปหมอชนะแล้วแต่มีการหนีออกจากพื้นที่ sandbox ก่อนเวลา 14 วันระบบจะสามารถรู้ได้ว่านักท่องเที่ยวคนใดหนีเนื่องจากมีการติดตั้งระบบติดตามตัวทุกคน รวมถึงมีการรายงานข้อมูลกลุ่มเสี่ยงที่ใกล้ชิดผู้ติดเชื้อโควิดสามารถติดตามตัวได้เช่นกัน
ขณะที่นายณรงค์ วุ่นซิ้ว ผู้ว่าราชการจ.ภูเก็ต กล่าวว่า ระบบรักษาความปลอดภัยมีกล้อง CCTV ระบบตรวจจับใบหน้าบริเวณด่านทางเข้าเชื่อมโยงความปลอดภัยด้านต่าง ๆ สามารถตรวจจับใบหน้าและสามารถควบคุมตัวผู้กระทำผิดได้หลายคดีมาแล้ว ซึ่งระบบทั้งหมดสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยวได้ทางเข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต จะเกิดความปลอดภัย