‘มหาดไทย’ สั่งผู้ว่าฯทั่วปท. รับมือพายุ “ไลออนร็อก”

‘มหาดไทย’ สั่งผู้ว่าฯทั่วปท. รับมือพายุ “ไลออนร็อก”

วันที่ 9 ต.ค.2564 พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่การกระทรวงมหาดไทย ในฐานะผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ มีคำสั่งด่วนที่สุด ถึง ผู้ว่าราชการจังหวัด/ผู้อำนวยการจังหวัด ทุกจังหวัด เรื่องการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์และผลกระทบจากพายุ “ไลออนร๊อก” จากการติดตามสภาพอากาศร่วมกับกรมอุตุนิยมวิทยาพบว่า เมื่อเวลา 12.00 น. ของวันที่ 8 ตุลาคม 2564 พายุโซนร้อน “ไลออนร็อก” บริเวณทะเลนใต้ตอนบน มีศูนย์กลางอยู่ห่างประมาณ 50 กิโลเมตร ทางตะวันออกของเกาะไหหลำ ประเทศจีน มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

คาคว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนในช่วงวันที่ 10-11 ตุลาคมนี้ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันตามัน ภาคโต้ และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามัน และอ่าวไทยตอนบน มีกำลังแรงขึ้น จึงให้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด ถือปฏิบัติตามแนวทางตามหนังสือที่อ้างถึง ตลอดจนข้อสั่งการในที่ประชุม กองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2564 โดยเคร่งครัด พร้อมทั้งดำเนินการตามแนวทางดังนี้

1.ให้คณะทำงานติดตามสถานการณ์ของจังหวัด ติดตามปริมาณฝนที่ตกในพื้นที่ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่เคยประสบอุทกภัย น้ำท่วมชัง และดินโคลนถล่ม จากกรณีฝนตกหนัก หรือต่อเนื่องในพื้นที่ ที่เป็นเขตเศรษฐกิจของจังหวัด พื้นที่ท้ายเขื่อน อ่างเก็บน้ำ ฝายที่มีปริมาณน้ำมาก และพื้นที่เชิงเขา พร้อมจัดทำข้อมูลแผนที่เส้นทางน้ำที่อาจส่งผลกระทบชุมชนเขตเศรษฐกิจ ให้ครอบคลุม เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการสนับสนุนการตัดสินใจของผู้อำนวยการในแต่ละระดับให้สามารถแจ้งเตือนประชาชน ตลอดจนบูรณาการจัดกำลังเจ้าหน้าที่เข้าป้องกันการเกิดน้ำท่วม และเข้าให้ความช่วยเหลือประชาชนได้ตรงจุดอย่างมีประสิทธิภาพ

2. กำชับกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในแต่ละระตับ ปรับแผนเผชิญเหตุอุทกภัยให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในพื้นที่ และให้แบ่งมอบพื้นที่ภารกิจ หน่วยงานรับผิดขอบในการดูแลความเป็นอยู่ของประชาชนให้ชัดเจน หากกำลังเจ้าหน้าที่ เครื่องจักรกลสาธารณภัย ไม่เพียงพอให้ประสานการปฏิบัติกับหน่วยทหาร และศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต เพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชนให้พร้อมตลอด 24 ชั่วโมง 3.เมื่อเกิดเหตุสาธารณภัยในพื้นที่ให้จัดชุดปฎิบัติการจากหน่วยต่างเข้าเร่งคลี่คลายสถานการณ์ พร้อมดูแลความเป็นอยู่ประชาชน

4. หากสถานการณ์มีแนวโน้มรุนแรง ให้สั่งการอพยพประชาชนไปยังพื้นที่ปลอดภัย หรือศูนย์พักพิงที่จัดเตรียมไว้ทันที ทั้งนี้ปฏิบัติการควบคูไปกับมาตรการของกระทรวงสาธารณสุขในการป้องกันและควบคุมโรคโควิด 5. สำหรับจังหวัดที่มีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ หรือติดชายฝั่งทะเลให้มอบหมายหน่วยงาน ที่มีหน้าที่กำกับดูแล เช่น บริเวณน้ำตก ถ้ำ กำหนดมาตรการในการแจ้งเตือนการปิดกั้น หรือห้ามบุคคลใดเข้าพื้นที่ เพื่อให้เกิดความปลอดภัย

6. ให้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดที่ได้รับผลกระทบสรุปสถานการณ์ และรายงานให้กระทรวงมหาดไทยทราบอย่างต่อเนื่องทุกวัน จนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติ หรือจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงจึงเรียนมาเพื่อดำเนินการต่อไป

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น