รมว.กระทรวงเกษตรฯ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและติดตามความคืบหน้า โครงการอ่างเก็บน้ำหนองช้างใหญ่ ที่ จ.อุบลฯ

รมว.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและติดตามความคืบหน้า โครงการอ่างเก็บน้ำหนองช้างใหญ่ ที่ จ.อุบลฯ พร้อมแจกพันธุ์ปลาตะเพียนจำนวน 1 แสนตัว ให้กับประชาชนใน 8 หมู่บ้านที่อยู่บริเวณรอบอ่าง เพื่อนำไปเลี้ยงประกอบเป็นอาชีพ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 12.30 น. วันที่ 8 ตุลาคม 2564  ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน ดร.ศุภชัย ศรีหล้า ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (ผู้ริเริ่มโครงการ) พร้อมคณะตรวจเยี่ยมและคณะติดตาม ได้ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าโครงการอ่างเก็บน้ำหนองช้างใหญ่ บ้านนาดี ต.ยางสักกระโพหลุ่ม อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี โดยมี นายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี นายสัมพันธ์ เดือนศิริรัตน์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานอุบลราชธานี สำนักงานชลประทานที่ 7 กรมชลประทาน หัวหน้าส่วนราชการทุกหน่วงงาน และประชาชนที่อยู่ในชุมชนโดยรอบอ่างเก็บน้ำหนองช้างใหญ่กว่า 100 คนให้การต้อนรับ

สำหรับจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นพื้นที่ที่รองรับน้ำจากลำน้ำทุกสายในภาคอีสาน ทำให้เกิดสภาพน้ำท่วมซ้ำซากทุกปี จนกระทั่งปี พ.ศ. 2562 ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ลงพื้นที่เพื่อมารับทราบปัญหา พร้อมเสนอแนะแนวทางในการแก้ปัญหาความเดือดร้อนของราษฎรชาวจังหวัดอุบลราชธานี และได้ผลักดันสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการขุดลอกและปรับปรุงโครงการอ่างเก็บน้ำหนองช้างใหญ่ เพื่อเป็นแก้มลิงรองรับน้ำ ไม่ให้มวลน้ำลงไปยังลำเซบก ป้องกันไม่ให้ท่วมพื้นที่อำเภอตระการพืชผล อีกทั้งชาวบ้านในอำเภอม่วงสามสิบและใกล้เคียงยังได้รับประโยชน์มีแหล่งน้ำสำหรับการเกษตรอย่างเพียงพอและทั่วถึง พร้อมกันนี้ ยังเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ และแหล่งเช็คอินแห่งใหม่แห่ง จ.อุบลราชธานีอีกด้วย

โดย ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แจกพันธุ์ปลาตะเพียนจำนวน 1 แสนตัว ให้กับประชาชนใน 8 หมู่บ้านที่อยู่บริเวณรอบอ่างเพื่อนำไปเลี้ยงประกอบเป็นอาชีพต่อไป

ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กล่าวว่า อ่างเก็บน้ำหนองช้างใหญ่ ทางกระทรวงเกษตรฯ ได้จัดให้เป็นโมเดลระดับประเทศในการพัฒนาพื้นที่แหล่งน้ำที่มีอยู่ ให้สามารถเก็บกักน้ำได้เพิ่มขึ้นกว่า 200 เปอร์เซ็นต์ และจะเป็นการป้องกันอุทกภัย พร้อมแก้ปัญหาภัยแล้งภายในตัว และเป็นต้นแบบเพื่อให้ทุกที่ได้มาดูว่า การเพิ่มต้นทุนน้ำโดยพื้นที่ที่มีอยู่ที่ก่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุดเป็นอย่างไร โดยหลังจากสร้างเสร็จจะไม่เพียงเป็นการส่งเสริมการเกษตรเพียงอย่างเดียว ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของ จ.อุบลราชธานี และยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลา กุ้ง ให้พี่น้องประชาชนได้จับนำไปประกอบอาหาร และยังเป็นรายได้เสริมได้อีกต่อไป.

 

ภาพ/ข่าว  ทีมข่าว ศูนย์ข่าวภูมิภาค TOP NEWS ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ชลบุรี หนุ่มโรงงานหัวร้อน อ้างถูกเพื่อนร่วมงานไม่ให้เกียรติก่อนกลับบ้าน คว้าปืนมายิงกลางร้านอาหาร
เพื่อไทยประกาศชัยชนะ เลือกตั้งนายกอบจ.อุดรธานี "ศราวุธ" คะแนนทิ้งห่าง "คณิศร" จากพรรคปชน.
เลือกตั้งนายกอบจ.นครศรีธรรมราช “น้ำ วาริน” คะแนนนำ “กนกพร” โค่นแชมป์เก่า
เล็ก ฝันเด่น มอบสิ่งของที่มีสารไอโอดีนให้ ทรภ.1 นำสู่น้อง ๆ สู่พื้นที่ภาคเหนือ
รพ.สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ จัดงานวันเบาหวานโลก “World Diabetes Day 2024”
เลือกตั้ง นายก ทต. ท่าพริกเนินทราย คึกคัก
รถบรรทุก 6 ล้อ ไหลลงเนินเขา เบรกไม่อยู่ พุ่งชนร้านค้า โชคดีไร้ผู้บาดเจ็บ
“ปานเทพ” แนะ “หมอบุญ” กลับไทยยังไม่สาย ลั่นหากคิดว่าตัวเองไม่ผิด ก็มาแสดงความบริสุทธิ์
"แสวง" เลขากกต.รับ ผู้มาใช้สิทธิ์เลือกนายกอบจ.อุดรธานี บางตา ย้ำรู้ผลคะแนนไม่เกิน 3 ทุ่มวันนี้
สดุดีทหารกล้า สละชีวิตเหตุคนร้ายซุ่มยิงทหารพราน ในพื้นที่ยะลา

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น