อ.จุฬาฯ ยัน ร.5-6 พระราชทานที่ดินสร้างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อาจารย์มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ยืนยันในหลวงรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 พระราชทานที่ดินกว่า 700 ไร่ให้กับมหาวิทยาลัย จวกสื่อบางช่องเสนอข่าวสิทธิเสรีภาพควรใช้วิจารณญาณความถูกต้องและกาลเทศะของการนำเสนอ

จากกรณีที่ ม.จ.จุลเจิม ยุคล หรือ ท่านใหม่ ได้มีการโพสต์รูปโฉนดที่ดินพร้อมข้อความผ่านทางเฟซบุ๊ก ซึ่งมีเนื้อหาใจความระบุถึงพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ไพศาลของปวงชนชาวไทยและนิสิตจุฬาฯ ตั้งรุ่น 1 ลงมาจนปัจจุบัน ที่ล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 ทรงมีวิสัยทัศน์กว้างไกลเกินกว่าใครๆ ในหล้าทรงพระราชทานที่ดิน 700 ไร่ให้เป็น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถานศึกษาระดับอุดมศึกษาแห่งที่เป็นไปตามหลักมาตรฐานสากล รวมไปถึงการออกมาปกป้องชาติบ้านเมืองและสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างเป็นรูปธรรมของผู้บริหารจุฬานั้น

 

 

วันนี้ 26 ต.ค. 2564 ทีมข่าวท็อปนิวส์ ลงพื้นที่ไปยัง ม.จุฬาฯ และพื้นที่บริเวณย่านดังกล่าวสอบถามหาข้อเท็จจริงและความรู้สึกของชาวชุมชน เนื่องมหาวิทยาลัยจุฬาอยู่ใกล้ชิดกับชาวชุมชนเป็นอย่างมาก โดยได้พบกับ ดร.อมร วาณิชวิวัฒน์ อาจารย์สอนวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ จึงเข้าทำการสอบถามถึงประวัติเรื่องราวความเป็นมาของพื้นที่ของมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์และบริเวณโดยรอบ

โดย ดร.อมร ได้กล่าวถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ไทยในหลวงรัชกาลที่ 5 ที่พระองค์ทรงมีพระเนตรยาวไกลเกี่ยวกับเรื่องสถาบันการศึกษา ได้เห็ดได้เล็งเห็นถึงการมีองค์ความรู้เท่านั้นที่จะสามารถชนะภัยคุกคามจากการล่าอาณานิคมในสมัยยุคของพระองค์ท่านได้จึงพระราชทานโฉนดพร้อมที่ดินที่มีมากกว่า 700 ไร่รวมไปถึงพื้นที่บริเวณรอบใกล้เคียงกับสถาบันมอบให้กับทางมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์อีกทั้งยังมอบพื้นที่โดยรอบให้มหาวิทยาลัย สืบเนื่องกันจนมาถึงในหลวงรัชกาลที่ 6 ซึ่งเป็นโอรสของในหลวงรัชกาลที่ 5 ได้ดำเนินการจัดการเปิดให้มีการเช่าเพื่อสร้างรายได้ให้กับทางมหาวิทยาลัยเพื่อที่จะนำเงินไปส่งเสริมสถาบันการศึกษา ถือเป็นสถาบันแห่งแรก มหาวิทยาลัยจุฬาต้องอยู่ร่วมกับชุมชนและสามารถพึ่งพาตนเองได้เป็นมหาวิทยาลัยที่ไม่กี่แห่งที่พึ่งพาตนเองโดยไม่ต้องอาศัยงบประมาณของแผ่นดิน ซึ่งพระองค์ท่านได้นำแนวความคิดที่ไปร่ำเรียนจากต่างประเทศมหาวิทยาลัย oxford มาเป็นแนวทางในการบริหารมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ ซึ่งทั้งหมดถือเป็นเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่สะท้อนให้เห็นว่าสถาบันพระมหากษัตริย์มีความพยายามที่จะปลูกฝังความรู้ให้กับประชาชนในประเทศ

นอกจากนี้ ดร.อมร ได้กล่าวถึงการเลือกสรรฝ่ายบริหาร ขององค์กรทรัพย์สินของทางมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ โดนใช้หลักการสรรหาบุคคลที่จะมาดูแลบริหารจัดการ แทนวิธีการเลือกตั้ง ซึ่งมีความแตกต่างจากมหาวิทยาลัยอื่น สำหรับการสรรหา จะคัดเลือกบุคคลที่มีแวว หรือมีผลงานทางด้านการบริหาร รวมไปถึงผู้ที่ศึกษาอยู่ในระดับชั้นปริญญาเอกที่เป็นศาสตราจารย์หรือรองศาสตราจารย์และมีความจงรักภักดีของความเป็นข้าราชการอยู่แล้วโดยจะมีการประกาศเชิญชวนและเปิดให้มีการกรอกใบสมัคร หากผ่านคุณสมบัติหรือเป็นไปตามหลักเกณฑ์ก็จะได้มาดูแลบริหารจัดการ

ส่วนหลักของการเช่า ผู้ที่จะสนใจมาเช่าพื้นที่หรือที่ดินก็จะต้องไปติดต่อที่สำนักงานทรัพย์สินของทางจุฬาที่จะมีฝ่ายบริหารงานทรัพย์สินอยู่ ซึ่งตนเองไม่อยากลงลึกแต่คาดว่าน่าจะเหมือนการเช่าในทั่วไป
จากนั้นทางทีมข่าวจึงถามต่อว่าทางมหาวิทยาลัยรวมถึงคณะครูอาจารย์ได้มีการอบรมให้ความรู้กับนักศึกษาในเรื่องประวัติความเป็นมาของพระองค์ทั้งสองท่านหรือไม่ ดร.อมร กล่าวยอมรับว่าในช่วงหลังนี้ทั้งด้านการเมืองได้มีการเข้ามาแทรกแซงภายในมหาวิทยาลัยรวมถึงนักศึกษาเป็นอย่างมาก และมีเรื่องไม่บริสุทธิ์เข้ามาพัวพัน ตนเองก็ไม่อยากวิจารณ์พวกคณาจารย์ด้วยกัน แต่เราต้องมีเสรีภาพที่ถูกต้อง ตนเองไม่ได้บอกว่าเป็นคนดี แต่ก็ไม่เชื่อว่าคนส่วนใหญ่จะกลืนกินวัฒนธรรมต่างชาติจนเกินไป แต่การที่คณะครูบาอาจารย์บางท่านไปแสดงความสนใจในเรื่องบางเรื่องในการแสดงออกของนิสิตนักศึกษาจนเกินงาม มันก็ไม่ต่างกับการที่เราไปให้การสนับสนุน และตนเองก็ไม่อยากที่จะพูดลงลึกในประเด็นดังกล่าวนี้เพราะเกรงว่าจะเป็นประเด็นต่อไป แต่บุคคลทีาเป็นครูบาอาจารย์ต้องมีจิตสำนึกอยู่แล้วจะแสดงออกอะไรที่มีผลในวงกว้างหรือเป็นบุคคลที่สังคมด้วยความนับถือการพูดมีอิทธิพล

 

 

ขณะเดียวกันตนเองก็รู้สึกแปลกใจว่าเหตุใดสำนักข่าวบางแห่งจึงมีการติดตามทำข่าวเรื่องราวของนักศึกษากลุ่มหนึ่งที่มีพฤติกรรมยกเลิกประเพณีอัญเชิญพระเกี้ยวตามที่เป็นประเด็นอยู่ณ.ขณะนี้ อย่างใกล้ชิดจนเกินไป จึงดูขัดแย้งในเรื่องของของสิทธิเสรีภาพของความเป็นสื่อมวลชน กับการนำเสนอ โดยการนำเสนอข่าวสารนั้นไม่ใช่เรื่องที่ผิดแต่ควรที่จะถูกกาละเทศะและความเหมาะสมซึ่งตนเองมองว่าการนำเสนอข่าวบางเรื่องไม่จำเป็นต้องยัดเยียดให้ผู้รับสารรู้สึกเห็นต่าง หน้าที่ของสื่อมวลชนนั้นควรนำเสนอความจริง แล้วจะเห็นว่าในปัจจุบันข่าวตาม social มักมีข่าวลวงและข่าวหลอกมีการกล่าวหากันอย่างร่องลอย ซึ่งตนเองก็โดนบ่อยและโดนเยอะมาก แต่ขณะนี้ ยังไม่ถึงเวลาที่ตนเองจะต้องออกมาแก้ปัญหาหรือตอบโต้อย่างจริงจัง หากมีความจำเป็นก็ต้องว่ากันไป แต่วันนี้ยังคงรอมชอมกันอยู่พยายามที่จะให้ทุกอย่างสงบอยู่เพียงภายในมหาวิทยาลัย แต่อย่ารังแกกันจนเกินไป พอไม่แสดงออกหรือนิ่งก็นึกว่าเกรงขามแต่จริงๆแล้วตนเองต้องการรักษาชื่อเสียงกิตติภูมิของมหาวิทยาลัยเอาไว้ แต่หากทำอะไรที่เกินขอบเขตอันสมควรเราก็มีสิทธิ์ที่จะต่อสู้ในทางกฎหมายหลายอย่าง

จากนั้นทางทีมข่าวจึงอยากทราบความคิดเห็นของประชาชนในย่านพื้นที่ของมหาวิทยาลัยจุฬา จึงเดินทางไปสอบถามกับแม่ค้าขายข้าวย่าน ถ.บรรทัดทองซึ่งเป็นร้านค้าที่ขายอาหารตามตึกอาคารพาณิชย์อยู่ติดริมถนน โดยแม่ค้าคนดังกล่าวได้เล่าว่าตนเองเป็นคนต่างจังหวัดและได้มาทำมาหากินในกรุงเทพฯ จึงมาเช่าร้านอยู่ เพื่อประกอบอาชีพทำมาหากินโดยการเปิดร้านขายข้าว ซึ่งก่อนหน้านี้ ตนเองเคยได้ยินคนเก่าแก่ หรือชาวบ้านแถวนี้เขาคุยกันว่าพื้นที่แห่งนี้เป็นของในหลวงรัชกาลที่ 5 และ ในหลวงรัชกาลที่ 6 ก่อนที่จะเปลี่ยนมือมาเป็นของมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ ซึ่งตนเองก็เช่าบริการในราคาต่อเดือนกว่า 30,000 บาท ซึ่งในช่วงที่ตนเองมาเช่านั้นเป็นช่วงที่มีการระบาดของโควิด19 พอดีการค้าขายจึงค่อนข้างจะติดลบมาตั้งแต่แรก ปัจจุบันการค้าขายก็ยังคงเป็นไปด้วยความยากลำบาก ไหนจะต้องแบกรับในเรื่องของลูกน้องอีก 2 คนดังนั้นหากเป็นไปได้ตนเองอยากให้ทางเจ้าของได้ลดค่าเช่าลงเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันเพื่อให้ตนเองสามารถประกอบอาชีพไปต่อได้

ถัดมาที่ สวนหลวงสแควร์ แหล่งการค้าย่านใจกลางเมือง ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่การบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ ทีมข่าวได้พูดคุยกับคุณแนน เจ้าของร้านขนมเบิร์นชีส ร้านในย่านสวนหลวงสแควร์ กล่าวว่าได้ดำเนินการขายของอยู่ในสวนหลวงสแควร์แห่งนี้มากกว่า 2 ปีแล้ว ได้กล่าวเล่าว่าพื้นที่แห่งนี้เป็นพื้นที่เก่าแก่โดยคนที่มาเช่าขายตรงนี้จะมีสัญญาแต่ละคนแตกต่างกันไปของตนเองนั้น ทำสัญญาไว้ที่ 3 ปีโดยช่วงแรกต้องมีการมัดจำค่าเช่าล่วงหน้าเป็นเวลา 3 เดือนแล้วหลังจากนั้นก็ชำระค่าบริการเป็นรายเดือนเดือนละประมาณ 30,000 บาทยังไม่รวมค่าส่วนกลางและค่าน้ำค่าไฟเบ็ดเสร็จแล้วโดยรวมต่อเดือนประมาณ 45000 บาทถึง ช่วงนี้คาดว่าการหารายได้เป็นไปอย่างหนักหนาสาหัสแต่ในช่วงที่มีการระบาดตนเองได้รับส่วนลดจำนวนครึ่งนึง 50 เปอร์เซ็นต์แต่ก็ยังไม่เพียงพออีกครั้งตอนนี้นักศึกษาก็ต้องเรียนออนไลน์คนก็จะเดินน้อยลงได้รับผลกระทบโดยตรงซึ่งตนเองก็รู้สึกเหนื่อยอยากขอให้ทำธุระได้มีการลงมติใหม่ในเรื่องของการลดค่าบริการเช่าในแต่ละเดือนเพราะทุกคนช่วยกันอย่างเต็มที่อยากให้เห็นใจพวกการบ้าง

โดยไม่ค่อยทราบแน่ชัดในเรื่องของประวัติความเป็นมาของเจ้าของพื้นที่ แต่ทราบเพียงว่าเป็นพื้นที่ของทรัพย์สิน ซึ่งตนเองก็ไม่ได้ศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์แห่งนี้แต่มีเพื่อนที่ศึกษาอยู่ก็ได้เล่าให้ฟังว่ากลุ่มเพื่อนได้มีการศึกษาถึงประวัติความเป็นมากับการยกเลิกพิธีขบวนอัญเชิญพระเกี้ยวซึ่งตนเองอยู่ในช่วงยุค gen ใหม่จึงไม่ค่อยยึดติดคำโบราณตนเองอยู่ตรงกลางจึงรับฟังระหว่างสองฝั่ง

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

นอนคุกต่อ ศาลไม่อนุญาตประกันตัว "ทิวากร" ผู้ต้องขัง คดี 112 โพสต์หมิ่นสถาบันฯ
"รมว.คลัง" เผยนัด "ผู้ว่าฯธปท." หารือสถานการณ์ค่าเงินบาท-ดอกเบี้ย พร้อมถกกรอบเป้าหมาย "เงินเฟ้อ" สัปดาห์หน้า
"รทสช." แถลงจุดยืนยึดความซื่อสัตย์สุจริต ไม่แก้มาตรฐานจริยธรรม
สาวอ้างเป็นหมอUN หลอกเหยื่อให้รัก โอนเงินสูญนับล้าน
"ภูมิใจไทย" แถลงจุดยืน ไม่แก้รธน.รายมาตรา หนุนทำทั้งฉบับผ่านสสร.​ ​มอง​จริยธรรม เป็นคุณสมบัติจำเป็นนักการเมือง
เจ้าของฟาร์มจระเข้ชื่อดังลำพูน จำใจเชือดจระเข้พ่อพันธุ์-แม่พันธุ์นับร้อยตัว เพื่อป้องกันหลุดจากบ่อ
กลุ่มศปปส.-เต้ อาชีวะ ไม่ทน บุกตึกพรรคส้ม ยื่นหนังสือปมอุ้มแรงงานพม่า
CPF เพิ่มขีดความสามารถคู่ค้าธุรกิจ เตรียมความพร้อมสร้างโอกาสเติบโตสู่เวทีการค้าโลก
คณะแพทย์ จุฬาฯ จับมือ มาเทรีย เมดดิคัล พัฒนานวัตกรรมการแพทย์เพื่อสุขภาพยั่งยืน
เปิดรายชื่อ ประธานกมธ.สามัญ วุฒิสภา 21 คณะ สว.สายสีน้ำเงินครอง 20 คณะ ปล่อย “อังคณา” สายอิสระ นั่งกมธ.พัฒนาการเมืองฯ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น