“นพ.ธีระวัฒน์”เผย 7 ข้อ เปิดประเทศ 1 พ.ย. นี้ น่าเป็นห่วงหรือไม่?

"นพ.ธีระวัฒน์"เผย 7 ข้อ เปิดประเทศ 1 พ.ย. นี้ น่าเป็นห่วงหรือไม่?

นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ระบุว่า เปิดประเทศหนึ่งพฤศจิกายน..ต้องห่วงหรือไม่?
หมอดื้อ
27/10/64
สภาพพื้นฐาน
1- เปิดประเทศหมายความรวมถึงคนไทยและคนต่างประเทศในการใช้ชีวิตและเดินทางสัญจร
2- ตัวเชื้อ: ตัวเลขการติดเชื้อมีความเป็นไปได้สูงที่มากกว่าตัวเลขที่รับทราบในปัจจุบัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการตรวจมากหรือน้อยและการใช้ ATK ซึ่งมีข้อจำกัดและหลุดรอดได้มาก
เชื้อที่อาจหลุดรอดจากต่างประเทศมีความเป็นไปได้ และลักษณะหน้าตาจะผิดเพี้ยนจากที่มีในประเทศและประสมควบรวมกันต่อไป
3- การตรวจ: ในปัจจุบันแทบเป็นไปไม่ได้เลยที่จะมีการตรวจคัดกรองโดยไม่มีพิธีรีตองโดยกระบวนการพีซีอาร์ ที่ต้องทำได้ทั่วทุกหัวระแหง
ทำให้ไม่สามารถสะท้อนสถานการณ์ความเป็นจริงที่อาจจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆได้ และไม่สามารถนำไปสู่การแยกตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4-การแพร่กระจาย: ผลกระทบจากการแพร่ แม้จะไม่มีอาการก็ตาม เปิดโอกาสให้ไวรัสมีการปรับแต่งตัวเองและอาจนำไปสู่ความสามารถในการติดและการดื้อวัคซีนมากขึ้น
5- วัคซีน: จำนวนสองเข็ม ที่ ขณะนี้ 40% ควรต้องพิจารณาถึงสองเข็มที่ฉีดไปนานแล้วโดยเฉพาะที่เป็นเชื้อตาย ดังนั้น ตัวเลข ผู้ที่ยังคงมีภูมิป้องกันการติดเชื้อ จะน้อยกว่า
และนอกจากนั้น เชื้อที่พัฒนาขึ้นมีความเป็นไปได้สูงที่จะดื้อวัคซีน โดยที่ประสิทธิภาพจะลดลงเรื่อยๆ จนน้อยกว่า 50% หรือแทบไม่ได้เลยโดยเฉพาะกับวาเรียนท์ เบต้า
การฉีดรวดเร็วเชิงรุกคลุม 80-90% และปลอดภัยสูงเป็นการฉีดเข้าชั้นผิวหนังโดยที่ พิสูจน์แล้วทั้งที่เป็นเข็มกระตุ้นตามสองเข็มแรก ที่ไม่ใช่สูตรไขว้ SV AZ ซึ่งได้ผลไม่ดี
การฉีดเข้าชั้นผิวหนังมีการทดสอบแล้วตั้งแต่เป็นเข็มแรกที่เป็น MDN
ถ้าไม่สามารถแก้ไขการฉีดวัคซีนทั่วถึงและอย่างปลอดภัยได้ โอกาสที่การติดเชื้อจะแพร่ระบาดลุกลามไปได้ทุกพื้นที่และอาการสีเหลืองส้มและสีแดงจะเห็นได้ชัดขึ้นเรื่อยๆ
6- การรักษา: ที่ควรต้องทำอย่างยิ่ง คือการใช้สมุนไพรในประเทศในลักษณะของการให้ ตั้งแต่นาทีแรกที่ติดหรือน่าจะติด ทั้งนี้ต้องพิจารณาอย่างรีบด่วน และถ่องแทั ถึงยาทางเลือกตัวอื่น ที่มีข้อขัดแย้งและข้อสนับสนุนในเรื่องประสิทธิภาพ ทั้งๆที่ไม่ติดสิทธิบัตรและสามารถผลิตในประเทศไทยได้เองโดยสามารถทำให้ราคาไม่กี่บาท
สิ่งเหล่านี้จะช่วยตรึงไม่ให้อาการของโรคยกระดับขึ้นจนต้องเข้า โรงพยาบาล และสถานพยาบาลในระดับต่างๆและนำไปสู่การรักษา ด้วยฟาวิพิราเวีย โมลนูพิราเวีย ทั้งนี้ต้องไม่ลืมว่ายาเหล่านี้จะช่วยในกรณีที่อาการเป็นสีเหลืองหรือเหลืองแก่จะดีที่สุดและการใช้อย่างมหาศาล เป็นไปได้ที่จะมีการดื้อยาเกิดขึ้น ยาแอนตี้บอดี้ ที่ยับยั้งไวรัสได้ชั่วคราวรวมทั้งที่ลดการอักเสบมีราคาสูงมาก
7- วินัย: สถานการณ์ที่มีการประกาศทุกวัน ถึงตัวเลขที่ลดลง ความรุนแรงที่ดูน้อยลงตามวัฎจักรของโควิด ที่จะบรรเทาเบาบาง ไประยะหนึ่งเมื่อความหนาแน่นของการติดเชื้อมากขึ้นพร้อมกับการ ผันแปรของรหัสพันธุกรรม จึงจะเห็นตัวจริงอีกครั้ง
สภาพประหนึ่ง เสมือนว่าคลี่คลายบวกกับสภาวะทางเศรษฐกิจที่พังสลายทำให้ต้องมีกิจกรรมทางสังคมและในชุมชนต่างๆเกิดขึ้นรวมทั้งการเปิดโรงเรียน
ผลกระทบ
ถ้าไม่สามารถยกระดับความเข้มแข็งทั้งวัคซีน การตรวจ และการรักษาตั้งแต่นาทีแรกได้
ในระยะไม่นาน อาจเผชิญกับสถานการณ์ดื้อวัคซีนด้วยเชื้อ subvariants จนถึง เชื้อใหม่จากการควบรวมสายต่างๆเข้าด้วยกัน และนำไปสู่วิกฤติของระบบสาธารณสุข ที่กระทบคนป่วยทั้งที่เป็นและไม่เป็นโควิด

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"หลวงพี่น้ำฝน" แจงสั่งตามลูกศิษย์ ส่งตัวให้ตร. ยืดอกรับผิด ย้ำไม่สนับสนุนความรุนแรง เตือน "พระปีนเสา" ปากจะพาเดือดร้อน
"ศปช." ย้ำ "ภาคใต้" ฝนกระหน่ำต่อเนื่อง “ภูมิธรรม” กำชับเร่งช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย
"ภรรยา-ลูกสาว" ของหมอบุญ เข้ามอบตัวกับตร. ตามหมายจับร่วมกันฉ้อโกง กว่า 7.5 พันล้านบาท
“บิ๊กก้อง” สั่ง ปอศ.ส่งสำนวน ‘หมอบุญ’ ฉ้อโกงปชช.-หลอกลวงลงทุน ให้ดีเอสไอ เป็นคดีพิเศษ
"พิชัย" นำทีมพณ.เจรจา รมต.การค้า 7 เขตเศรษฐกิจเอเปค เพิ่มเชื่อมั่นไทยเป็นศูนย์กลางผลิตสินค้าอุตฯสมัยใหม่
หนุ่มเจ้าของบริษัท ผวา พบวัตถุต้องสงสัยคล้ายระเบิดซุกซ่อนอยู่ใต้ท้องรถยนต์เก๋ง
แนะยุบ กกต.ทิ้ง เทพไท แฉ เลือกตั้ง อบจ.เมืองคอนซื้อเสียงเปิด เผย โวย กกต.นั่งดูตาปริบๆ แนะยุบทิ้งดีกว่ามั้ย
"เชน ธนา" พาสื่อทัวร์โกดัง ยันสินค้าอยู่ครบ ไม่ได้แอบขายเอาเงินไปใช้ตามข่าว ย้ำชัดไม่ได้โกงคู่กรณี
ตร.จ่อเรียก “เอก สายไหมฯ” สอบอีกครั้ง หลังให้การขัดแย้งพยาน
"สปป.ลาว" ออกแถลงการณ์ "เสียใจสุดซึ้ง" ปม นทท.เสียชีวิตดื่มเหล้าเถื่อน ยันเร่งนำตัวคนร้ายมาลงโทษ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น