ก.แรงงาน แจงดูแลแรงงานต่างด้าว ครบทุกมิติ ไม่เลือกปฏิบัติ!

ก.แรงงาน แจงดูแลแรงงานต่างด้าว ครบทุกมิติ ไม่เลือกปฏิบัติ!

เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2564 นายวรรณรัตน์ ศรีสุขใส รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เปิดเผยว่า จากการที่ น.ส.ธนพร วิจันทร์ แกนนำเครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน นำแรงงานต่างด้าวกัมพูชาจำนวนกว่า 30 คน มาร้องเรียนที่กระทรวงแรงงานเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2564 ที่ผ่านมาและตำรวจได้ดำเนินคดีนั้น ขอชี้แจงว่า กระทรวงแรงงานในแต่ละวันมีประชาชนมาติดต่อราชการเป็นจำนวนมาก การที่ น.ส.ธนพร วิจันทร์ นำกลุ่มแรงงานต่างด้าวเข้ามาภายในกระทรวงแรงงาน เจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งมีหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยภายในบริเวณกระทรวงแรงงาน ได้พบเห็นการรวมตัวของกลุ่มแรงงานต่างด้าว จึงได้ตรวจสอบตามหน้าที่พบว่า แรงงานต่างด้าว จำนวน 7 คน ไม่มีเอกสารประจำตัวใด ๆ จึงได้นำตัวไปสอบสวนที่ สน.ดินแดง ส่วนที่เหลือมีเอกสารครบถ้วน ตำรวจจึงได้ปล่อยตัวไป ต่อมาภายหลังมีการตรวจโควิด-19 พบว่า มีแรงงานต่างด้าว จำนวน 2 คน มีผลตรวจโควิด-19 เป็นบวก
นายวรรณรัตน์ กล่าวต่อว่า จากการตรวจสอบพบว่าแรงงานต่างด้าวทั้ง 7 คน ไม่มีคุณสมบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2564 อาทิ ไม่มีนายจ้าง ไม่มีเอกสารประจำตัวใด ๆ อีกทั้ง มติ ครม. ดังกล่าว ยังไม่มีประกาศของกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงแรงงานมารองรับ จึงยังไม่มีผลบังคับใช้

นอกจากนั้นจากการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่พบว่า เครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชนไม่ได้จดทะเบียนกับหน่วยงานของรัฐให้ถูกต้องตามกฎหมาย เหมือนองค์กรอื่น ๆ แต่อย่างใด อีกทั้งพบว่า ที่ผ่านมาองค์กรนี้ยังได้รับการสนับสนุนการดำเนินการจากกลุ่มการเมืองบางกลุ่ม รวมทั้งมีพฤติการณ์ในการดำเนินการชักชวน รวมกลุ่ม เพื่อก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยในสังคม

ทั้งนี้ การนำกลุ่มผู้ใช้แรงงานโดยเฉพาะแรงงานข้ามชาติไปเคลื่อนไหวเพื่อหวังผลทางการเมือง กลุ่มผู้ใช้แรงงานอื่น ๆ อาทิ สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ก็ไม่เห็นด้วยกับการนำแรงงานข้ามชาติไปประท้วงในลักษณะที่สุ่มเสี่ยงต่อสิทธิเสรีภาพของแรงงานข้ามชาติ การที่ องค์กรเครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชนอ้างว่า กระทรวงแรงงานไม่ปฏิบัติตามอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) นั้น ในความเป็นจริง หลักการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของผู้ใช้แรงงาน ผู้ใช้แรงงานเองจะต้องไม่กระทำการฝ่าฝืนกฎหมายที่มุ่งดูแลความสงบเรียบร้อยของประเทศนั้น ๆ เช่นเดียวกันด้วย

ที่ผ่านมา รัฐบาล มีความห่วงใยนายจ้าง ผู้ประกอบการ ผู้ใช้แรงงาน โดยกระทรวงแรงงาน ได้จัดมาตรการดูแลเยียวยานายจ้าง ผู้ประกอบการ ผู้ใช้แรงงาน มาโดยตลอด สำหรับผู้ใช้แรงงานต่างด้าวนั้นคณะรัฐมนตรีได้มีมติถึง 3 ครั้ง ในการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าว ให้สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย
มีการดูแลคุณภาพชีวิต เยียวยาค่าจ้าง สนับสนุนอาหาร การตรวจ การฉีดวัคซีน และการรักษาโควิด-19 ทั้งนี้
เพื่อช่วยเหลือนายจ้าง ผู้ประกอบการ ผู้ใช้แรงงานให้ก้าวข้ามวิกฤตโควิด-19 และร่วมกันขับเคลื่อนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศต่อไป”นายวรรณรัตน์ กล่าวในท้ายสุด

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

บริษัท บลูสโตน ครีเอชั่นส์ จำกัด ร่วมกับ สมาคมคนพิการภาคตะวันออก จัดกิจกรรม CSR ประจำปี 2567 มอบสิ่งของแก่คนพิการ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี
2อุทยานฯ ร่วมมือปราบปราม การลักลอบขุดหาแร่ทองคำ
ปิดหีบเลือกตั้ง "นายก อบจ.สุรินทร์" เริ่มนับคะแนน รอลุ้นผล
ชาวบ้านแห่ส่องเลขเด็ดคึกคัก ในพิธีอัญเชิญ “เจ้าพ่อพระศรีนครเตาท้าวเธอ” เจ้าเมืองคนแรกของชาวอำเภอรัตนบุรี
"บิ๊กจ้าว" ลงดาบ "ผกก.สน.หนองค้างพลู" สั่งปลดออกจากราชการ ชี้มูลผิดวินัยร้ายแรง ม.157
สีกากียอมรับ "บิ๊กต่าย" ไม่หวั่นโดนบางฝ่ายบีบวางมาตรฐานแต่งตั้ง "ตร." "เอก อังสนานนท์" คือผู้ยืนยัน
"หลวงพี่น้ำฝน" แจงสั่งตามลูกศิษย์ ส่งตัวให้ตร. ยืดอกรับผิด ย้ำไม่สนับสนุนความรุนแรง เตือน "พระปีนเสา" ปากจะพาเดือดร้อน
"ศปช." ย้ำ "ภาคใต้" ฝนกระหน่ำต่อเนื่อง “ภูมิธรรม” กำชับเร่งช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย
"ภรรยา-ลูกสาว" ของหมอบุญ เข้ามอบตัวกับตร. ตามหมายจับร่วมกันฉ้อโกง กว่า 7.5 พันล้านบาท
“บิ๊กก้อง” สั่ง ปอศ.ส่งสำนวน ‘หมอบุญ’ ฉ้อโกงปชช.-หลอกลวงลงทุน ให้ดีเอสไอ เป็นคดีพิเศษ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น