กทม. ไล่ตรวจเข้มท่าเทียบเรือ-โป๊ะรอบกรุง พบใช้งานไม่ได้ 68 ท่า

กทม. ไล่ตรวจเข้มท่าเทียบเรือ-โป๊ะรอบกรุง พบใช้งานไม่ได้ 68 ท่า รองรับเทศกาลลอยกระทงศุกร์นี้

นายสกลธี ภัททิยกุล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมคณะผู้บริหาร ลงพื้นที่ตรวจสอบความปลอดภัยท่าเทียบเรือและโป๊ะ บริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา จำนวน 6 ท่า ได้แก่ ท่าเรือท่าช้าง / ท่าเรือสะพานพระพุทธยอดฟ้า เขตพระนคร / ท่าเรือวัดอรุณราชวราราม เขตบางกอกใหญ่ / ท่าเรือวังหลัง (ฝั่งธนบุรี) / ท่าเรือสะพานพระปิ่นเกล้า (ฝั่งธนบุรี) เขตบางกอกน้อย / และท่าเรือสะพานพระราม 8 เขตบางพลัด เพื่อรองรับและดูแลปลอดภัยของประชาชนในช่วงเทศกาลงานลอยกระทง ประจำปี 2564 ซึ่งจะมีขึ้นในวันศุกร์ที่ 19 พ.ย. 64

 

 

โดยในปีนี้กรุงเทพมหานครได้ประกาศจัดงานใหญ่ 2 จุดหลักคือ คลองโอ่งอ่าง และใต้สะพานพระราม 8 โดยสำรวจทั่วทั้ง กทม. มีท่าเรือและโป๊ะอยู่ที่ 437 ท่า ใช้งานได้ 369 ท่า / ใช้งานไม่ได้ 68 ท่า / โดยโป๊ะและท่าเรือริมแม่น้ำเจ้าพระยามีทั้งสิ้น 260 ท่า มีสภาพปกติสามารถใช้ได้ 230 ท่า / แบ่งเป็นท่าเรือเอกชน 169 ท่า / ท่าเรือสาธารณะ 59 ท่า / ไม่มีเจ้าของ 2 ท่า ขณะที่มีท่าเรือชำรุดต้องปรับปรุงซ่อมแซม 30 ท่า โดยทุกท่าจะต้องมีป้ายบอกว่าสามารถใช้งานได้ และแสดงจำนวนผู้โดยสารที่โป๊ะสามารถรับน้ำหนักได้ จำกัดผู้ที่จะลงไปในท่าเรือโป๊ะ 1 คนต่อ 1 ตารางเมตร เพื่อความปลอดภัยไม่ให้เกิดความหนาแน่นจนเกินไป ติดตั้งยางกันกระแทก ตรวจสอบกล้องวงจรปิด (CCTV) ให้พร้อมใช้งาน อีกทั้งยังวางกำลังพลประจำจุดเพื่อดูแลความปลอดภัยให้กับประชาชน เช่นเดียวกับในส่วนเทศกิจ 1,800 นายก็จะกระจายอยู่ตามจุดต่างๆ เพื่อเฝ้าระวังไม่ให้ประชาชนจุดพลุ ประทัด และปล่อยโคมลอย หากฝ่าฝืนโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

สำหรับมาตราการดูแลความปลอดภัยทั้งทางบกและทางน้ำ ตลอดการจัดการงาน โดยสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ร่วมกับ สำนักการแพทย์เรือดับเพลิงและกู้ชีวิตลาดตระเวนดูความเรียบร้อยตลอดแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่สะพานพระราม 7 ถึงสะพานพระราม 9 ระยะทาง 20.4 กิโลเมตร โดยในปีนี้ กทม.ยังคงรณรงค์ให้ใช้ 1 ครอบครัวต่อ 1 กระทง ซึ่งแนวโน้มการใช้กระทงตั้งแต่ปี 2561-2563 ลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยพบว่าร้อยละ 96 เป็นกระทงแบบธรรมชาติ

ด้านโรงพยาบาลสังกัด กทม. ทั้ง 11 แห่ง จะจัดเตรียมต้องฉุกเฉิน อุปกรณ์และบุคลากรทางการแพทย์เพื่อรองรับเหตุที่อาจจะเกิดขึ้น ขณะที่สำนักอนามัยก็ได้จัดเตรียมมาตรการเพื่อรองรับการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ให้ประชาชนสวมใส่หน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง และแสดงผลฉีดวัคซีนครบ 2 โดส หรือผลตรวจ Antigen Test Kit (ATK) ก่อนเข้างานด้วย โดยในปีนี้ยังคงเข้มงวด ไม่ให้ประชาชนเข้าไปใกล้ริมแม่น้ำและลงไปเก็บกระทง ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่คอยอำนวยความสะดวกในการใช้กระชอนหรืออุปกรณ์ช่วยในการวางกระทง

 

 

ด้านนายณรงค์ เรืองศรี รองปลัดกรุงเทพมหานคร กำกับบริหารราชการสำนักการระบายน้ำ ยังระบุถึงสถานการณ์น้ำหนุนในแม่น้ำเจ้าพระยาในวันลอยกระทงว่า แม่น้ำเจ้าพระยาจะขึ้นสูงสุดเวลา 17.13 น. อยู่ในเกณฑ์ที่ไม่มีผลกระทบต่อพื้นที่กทม.

นอกจากนี้ กทม. ยังได้ตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์กรุงเทพมหานครในช่วงวันลอยกระทง ประจำปี 2564 โดยแต่งตั้งคณะกรรมการ ประกอบด้วยหน่วยงานทุกภาคส่วน และองค์กรภาคีเครือข่าย บูรณาการเตรียมความพร้อม เจ้าหน้าที่ อุปกรณ์ และยานพาหนะ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานร่วมกันของแต่ละหน่วยงาน ทั้งนี้ หากประชาชนพบเห็นเหตุสาธารณภัย สามารถแจ้งเพื่อขอความช่วยเหลือได้ทางโทรศัพท์สายด่วนหมายเลข 199 และ 1555 ตลอด 24 ชั่วโมง

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"พระปีนเสา" เล่านาที ถูกทำร้ายหน้าช่อง 8 เจ็บจนเห็นดาวเห็นเดือน โร่แจ้งความตำรวจ สน.บางเขน
"กลุ่มชายปริศนา" แหวกวงล้อมสื่อ เข้ารุมทำร้าย "พระปีนเสา" ขณะให้สัมภาษณ์
เปิดตัว "TKR Connect" แพลตฟอร์มจัดหางานครบวงจร สร้างมิติใหม่รองรับแรงงานต่างด้าวอย่างถูกกม.
ออกหมายจับ "หมอบุญ" พร้อมพวกรวม 9 คน “ฉ้อโกง-ฟอกเงิน” ปลอมลายเซ็นอดีตลูกสะใภ้กู้เงิน 8 พันล้าน
ระทึกกลางดึก ไฟไหม้ "ร้านกาแฟ" เผาวอดทั้งหลัง เสียหายกว่า 7 แสนบาท
"อุตุฯ" เผย "เหนือ-อีสาน-กลาง" อากาศเย็นตอนเช้า เตือนใต้ยังรับมือฝนตก
แม่ทัพภาคที่ 2 ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนครอบครัวกำลังพล ห่วงใยไปถึงบ้าน เพราะเราคือครอบครัวกองทัพบก
สวนนงนุชพัทยาเปิดเวที CHONBURI PROUD EXPO 2024 หนุน SMEs ชลบุรีสู่ตลาดโลก
“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น