รมช.สธ. เผยควิดสายพันธุ์ใหม่ “โอไมครอน” ยังไม่เข้าไทย ย้ำขออย่าตื่นตระหนก

รมช.สธ. เผยควิดสายพันธุ์ใหม่ "โอไมครอน" ยังไม่เข้าไทย ย้ำขออย่าตื่นตระหนก

วันนี้ (29พ.ย.64) นายสาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ในช่วงเช้าที่ผ่านมาที่ประชุมศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคโควิด (EOC) มีการพูดคุยกัน โดยนายอนุทินชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ร่วมประชุมจากต่างประเทศโดยได้มีการกำชับให้เตรียมการเข้มข้น

โดยเฉพาะการตรวจหาซึ่งการตรวจจับการค้นหาเชื้อ “โอไมครอน”ที่จะเข้ามาในประเทศไทยก็จะมีความเข้มข้นมากขึ้น ทันต่อสถานการณ์ ซึ่งอาจจะมีการทบทวนการตรวจค้นหาเชื้อสำหรับผู้ที่เดินทางเข้าประเทศให้ตรวจ RT-PCR เป็นหลักเพื่อความเข้มข้นในการตรวจจับค้นหา “โอไม่ครอน” ซึ่งตนได้สั่งการไปที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ทุกศูนย์และภาคีเครือข่ายจะต้องมีวิธรการตรวจจับหาโอไมครอนให้ดีที่สุด ซึ่งขณะนี้โดยเทคนิคมีการประเมินว่าหากเชื้อออกมาเป็นเชื้อเบต้าหรืออัลฟ่าให้ตั้งข้อสังเกตว่าเป็นโอไมครอน แต่ในขั้นตอนต่อไปเราจะมีขั้นตอนในการใช้น้ำยาตรวจสอบโอไมครอนโดยตรง

ทั้งนี้ ตอนนี้ยอมรับว่าเราไม่มีวัคซีนและยาที่จะสามารถดักจับไวรัสได้ครอบคลุมทุกสายพันธุ์ แต่เราจะใช้วิธีติดตามข้อมูลให้ไวที่สุด ส่วนหน้าที่การป้องกันบริษัทผลิตวัคซีนคงจะเร่งคิดค้น และต้องมีข้อมูลที่มากพอในการคิดค้นศึกษาวิจัยให้มีวัคซีนเพื่อสู้กับการกลายพันธุ์ ดังนั้นไม้ตายของประชาชนก็ยังคงต้องใช้คำว่ามาตรการครอบจักรวาลในการป้องกัน ซึ่งจะสามารถป้องกันไวรัสได้ทุกสายพันธุ์ หลังจากนั้นก็จะติดตามและรอวัคซีนที่จะมาสู้กับสายพันธุ์นี้

อย่างไรก็ตาม รมช.สาธารณสุขขอประชาชนอย่าตื่นตระหนก เพราะข้อมูลยังไม่มากพอว่าไวรัสโอไมครอน จะมีการแพร่กระจายได้เร็วมากกว่าเดลต้ากี่เท่าหรือไม่อย่างไร อีกครั้งเท่าที่เห็นยังไม่มีชัดเจนว่าอาการจะรุนแรงมากขึ้น ในกลุ่มประชาชนที่อายุเท่าใด ดังนั้นต้องรอข้อมูลที่ชัดเจน ว่าหากแพร่ระบาดได้เร็วและเสียชีวิตได้เร็วถึงเวลานั้นอาจต้องตื่นตระหนกกัน

ดังนั้นตอนนี้ต้องดูแลตัวเองให้ดีและยืนยันได้ว่าโอไมครอนยังไม่หลุดเข้ามาในประเทศไทย โดยแลปที่อยู่ในเครือข่าย 300 กว่าแลปก็ยังไม่มีข้อมูลเข้ามา แต่แจ้งตามตรงว่าการแพร่ระบาดของทุกไวรัสป้องกันได้ยาก สามารถหลุดเข้ามาได้ทุกเมื่อ และช่องทางธรรมชาตินั้นเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะหลุดรอดเข้ามา ดังนั้นเราต้องตรวจจับให้ดีที่สุดจึงถือเป็นการป้องกันที่เข้มข้น การป้องกันที่ดีที่สุดคือการหยุดการเดินทางทั่วโลก แต่ไม่สามารถทำได้เพราะปัจจัยปัญหาเศรษฐกิจ สุดท้ายก็คือมาตรการป้องกัน

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ผบก.ภ.ปทุมฯ ยันแจ้ง 4 ข้อกล่าวหา "พีช บีเอ็ม" แค่เบื้องต้น เร่งสอบสภาพรถ คำให้การลุงป้า นำพิสูจน์ฟ้องผิด
นิวัฒน์ ศรีสวัสดิ์ เจ้าของฉายา "สิงห์สนามศุภฯ" เสียชีวิตแล้วในวัย 77 ปี
"กองทัพบก" เสียใจ สูญเสีย "พ.อ.พิฆราช" นายทหารจิตอาสาพระราชทาน ร่วมกู้ภัยเหตุตึกสตง.ถล่ม ตั้งแต่ 28 มี.ค.จนนาทีสุดท้าย ไม่เคยหยุดภารกิจ
อย่าหลงเชื่อ "คลิปวัดร่องขุ่นถล่ม" ว่อนโซเชียลฯ "อ.เฉลิมชัย" ลั่น AI มันร้าย
"ไพศาล" เผย "อนุทิน" พูดเองภท.ไม่มีปัญหาร่วมรัฐบาล ยังสนิทแน่นแฟ้น "ทักษิณ"
"ท็อป วราวุธ"นำประชุมพรรคชาติไทยพัฒนา เผยยึดคำพ่อบรรหาร เน้นทำงานให้ปชช. สร้างพันธมิตรการเมือง
"นายกฯ" ขอบคุณทุกภาคส่วน พอใจนโยบายลดตายเจ็บ 7 วันอันตราย ลดลงกว่าปีที่แล้วกว่า 25%
"นทท.ต่างชาติ" ต้องลงทะเบียนบัตร ตม.6 แบบดิจิทัล เริ่ม 1 พ.ค.นี้ ตามกฎใหม่
เปิดเทอมนี้ ครูทุกคนต้องมี “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู” หลังออกมาตรการ 5 ต. คุมเข้มทุกโรงเรียนทั่วไทย
"อุตุฯ" เตือน 49 จังหวัด รับมือฝนฟ้าคะนอง-ลมกระโชกแรง กทม.โดนด้วย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น