“ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์” เผยไวรัสโควิด “โอไมครอน” คือเชื้อร้ายกลายพันธุ์ไร้ขีดจำกัด!

"ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์" เผยไวรัสโควิด "โอไมครอน" คือเชื้อร้ายกลายพันธุ์ไร้ขีดจำกัด!

วันที่ 29 พฤศจิกายน 2564 ทางด้านเพจ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ Chulabhorn Royal Academy ได้ออกมาโพสต์ข้อความผ่านทางเพจเฟซบุ๊กว่า โอไมครอน เชื้อร้ายกลายพันธุ์ไร้ขีดจำกัด Ho!Ho!Ho! OMICRON is Coming to Town การปรากฏตัวของเชื้อโควิด-๑๙ สายพันธุ์ใหม่ โอไมครอน (Omicron) หรือ “B.1.1.529” สร้างความกังวลให้กับเหล่านักวิทยาศาสตร์เป็นอย่างมาก เนื่องจากเจ้าไวรัสตัวใหม่นี้มีการกลายพันธุ์ถึง ๓๒ ครั้งในโปรตีนส่วนหนาม ซึ่งอาจส่งผลให้เชื้อสามารถหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ดีกว่าเดิม ติดเชื้อได้ง่ายขึ้น แพร่กระจายได้เร็วกว่าและเป็นอันตรายอย่างยิ่งสำหรับกลุ่มที่ยังไม่เคยฉีดวัคซีนหรือยังไม่ได้ฉีดเข็มกระตุ้น

The emergence of Omicron, or the COVID-19 super variant B.1.1.529, has caused great concern among the scientific community, because it has 32 mutations in the spike protein, that may help the virus evade immunity, enhance transmissibility, and spread rapidly. The most evolved strain of the virus so far may pose a life-threatening harm particularly to both unvaccinated people and booster-awaiting recipients.

ขณะนี้มีผู้ติดเชื้อโอไมครอน ๑๐๗ รายใน ๔ ประเทศ โดยพบที่ประเทศแอฟริกาใต้ ๑๐๐ ราย บอสวานา ๔ ราย ฮ่องกง ๒ ราย และอิสราเอล ๑ ราย มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้องค์การอนามัยโลกเพิ่มเชื้อโอไมครอนเป็นเชื้อตัวที่ ๕ ในกลุ่มสายพันธุ์ที่น่ากังวลเทียบเท่าอัลฟา แกมมา เดลตาและเบตา เนื่องจากลักษณะการกลายพันธุ์ที่น่ากลัวแบบนี้ยังไม่เคยปรากฏมาก่อน โดยเฉพาะการกลายพันธุ์ในโปรตีนส่วนหนาม ดร.ทอม พีค็อก (Tom Peacock) นักไวรัสวิทยาแห่งอิมพีเรียลคอลเลจลอนดอนกล่าวว่า เชื้อตัวนี้มีการกลายพันธุ์ของโปรตีนส่วนหนามมากอย่างไม่น่าเชื่อ ยิ่งกว่านั้น ยังมีการกลายพันธุ์ที่เอนไซม์ที่ทำหน้าที่ตัดทะลวงเข้าเซลล์เพื่อทำให้ติดเชื้อ (Furin Cleavage Site) ถึง ๒ จุด คือจุด P681H แบบที่พบในสายพันธุ์อัลฟา มิว แกมมาและ B.1.1.318 และจุด N679K เหมือน C.1.2 ไวรัสกลายพันธุ์ในแอฟริกา ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่พบการกลายพันธุ์ ๒ จุดในเชื้อตัวเดียว สิ่งที่ต้องเฝ้าระวังในตอนนี้ก็คือเชื้อตัวใหม่จะทำให้เกิดการแพร่ระบาดในวงกว้างหรือจะเป็นแค่คลัสเตอร์ในวงจำกัด

At present, 107 cases in four countries have been spotted by genomic sequencing – 100 in South Africa, four more in Botswana, two in Hong Kong, and one in Israel. The new cases are growing and look likely to be fast and furious. The World Health Organization currently lists B.1.1.529 as a “variants of concern” like Alpha, Gamma, Delta and Beta. The super variant with an “extremely high number” of mutations in spike proteins may outstrip its older siblings. Dr Tom Peacock, a virologist at Imperial College London, noted that the incredibly high amount of spike mutations suggests this variant could be a major concern. It contains not one, but two furin cleavage site mutations – P681H (seen in Alpha, Mu, some Gamma, B.1.1.318) combined with N679K (seen in C.1.2 amongst others). This is the first time two of these mutations was detected in a single variant. Therefore, it should be closely monitored to find out if it may turn out to be just an “odd cluster” or a highly transmissible strain.

ศ.ระวี คุปตะ (Ravi Gupta) นักจุลชีววิทยาทางคลินิกแห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์พบว่า การกลายพันธุ์ที่พบในเชื้อ B.1.1.529 ทำให้ติดเชื้อง่ายขึ้นและหลบหลีกแอนติบอดีได้ดียิ่งขึ้น และสิ่งที่น่ากังวลก็คือ เรายังไม่รู้แน่ชัดว่าไวรัสที่พบใหม่นี้จะติดเชื้อได้ง่ายขนาดไหนหรือแบบเดียวกับเดลต้าหรือเปล่า ในขณะที่ศ.ฟรังซัวส์ บัลยูซ์ (Francois Balloux) ผู้อำนวยการแห่งศูนย์พันธุศาสตร์ UCL กล่าวว่า เชื้อตัวนี้อาจจะเกิดการกลายพันธุ์ซ้ำซ้อนระหว่างการติดเชื้อเรื้อรังในผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่นผู้ป่วยเอชไอวีที่ไม่ได้รับการรักษา

Prof Ravi Gupta, a clinical microbiologist at Cambridge University, found that the mutations on B.1.1.529 increased infectivity and reduced antibody recognition, although the extent of its infectiousness like Delta variant is still in question. Meanwhile, Prof Francois Balloux, the director of the UCL Genetics Institute, said that the large number of mutations in the variant apparently accumulated in a “single burst”, suggesting it may have evolved during a chronic infection in a person with a weakened immune system, possibly an untreated HIV/Aids patient.

ไม่ว่าเชื้อไวรัสโคโรนา SARS-CoV-2 จะกลายพันธุ์กี่ครั้ง หรือตัวล่าสุดนี้จะทำให้เกิดการระบาดรุนแรงกว่าเดิมหรือไม่ สิ่งที่ยังคงต้องดำเนินการต่อไปคือการกระจายวัคซีนทั้งปฐมภูมิและกระตุ้นภูมิให้ครอบคลุมและรวดเร็ว เพื่อให้ทุกคนมีระดับภูมิคุ้มกันในตัวที่พอดี ทั่วทั้งประเทศและทั่วทุกประเทศ มิฉะนั้น เจ้าเชื้อไวรัสก็จะสามารถแอบไปกลายพันธุ์ในกลุ่มประชากรที่ภูมิคุ้มกันอ่อนแอหรือไม่มีภูมิคุ้มกันต่อไป

No matter how many versions of SARS-CoV-2 there will be or whether the super variant will exacerbate the pandemic soon enough, the rollouts of primary and booster vaccines must be carried out vastly and widely. All in all, vaccine-induced immunity will protect people not only in one country but also around the world. Widespread vaccination will prevent the deadly virus to secretly mutate among immunocompromised people or those with primary immunodeficiency.

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"นายกฯ" เผย ครม.อนุมัติ 2.5 พันล้าน ฟื้นฟูเกษตรกร หลังน้ำลด
หนุ่มขับรถกระบะไปส่งหมู หลับในขับรถพุ่งชนฟุตบาท พลิกคว่ำตีลังกาชนเสาไฟ ดับคารถพร้อมเพื่อนต่างด้าวที่นั่งมาด้วยกันเสียชีวิต 2 ศพ
ครม.ตั้ง “บิ๊กรอย” นั่งที่ปรึกษาภูมิธรรม “คารม-ศศิกานต์” เป็นรองโฆษกรบ.
พบแล้ว "สุสานหรู" ถูก "ซินแส" ใช้ลวงเหยื่อ ซื้อที่ดินต่อดวงชะตาชีวิต ก่อนสูญเงินกว่า 30 ล้านบาท
"นายกฯ" ลั่นไม่แทรกแซง หลังป.ป.ช.ขอเวชระเบียน "ทักษิณ"
ตร.แจ้งเอาผิด "พี่เลี้ยง"ทำร้ายเด็ก 5 ขวบ อ้างสั่งสอนเพราะดื้อ
เคาะวันแล้ว กกต. เปิดแผนงานเลือกตั้งนายก-สมาชิกอบจ.
"เคนโด้" นำ "กลุ่มผู้เสียหาย" ค้านประกันตัว "แม่ตั๊ก-ป๋าเบียร์" หวั่นคุกคามเหยื่อ
วัดพิบูลสัณหธรรม เตรียมจัดงานวันลอยกระทงเพื่อสมทบทุนบูรณะต่อเติมศาลาการเปรียญให้แล้วเสร็จ เพื่อใช้ประโยชน์ ในการประกอบศาสนกิจของวัด ใช้ประกอบพิธีในพระพุทธศาสนา
ชื่นชม หนุ่มใหญ่จิตอาสาชาวชะอำ จ.เพชรบุรี เดินลุยฝนเก็บขยะอุดตันตามท่อ เพื่อช่วยระบายน้ำท่วม

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น