จากกรณี “หนุ่มประสบอุบัติเหตุ ถูกใส่กุญแจมือ คุมตัวไปเป่าเมาสุดท้ายเสียชีวิต”พ.ต.อ.เอกภพ อินทวิวัฒน์ โฆษกตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี ชี้แจงรายละเอียดกรณีข่าวที่ปรากฏทางสื่อสังคมออนไลน์ กรณี“ญาติสงสัย หนุ่มประสบอุบัติเหตุ ตำรวจคุมตัวเป่าเมา ตรวจปัสสาวะ สุดท้ายเสียชีวิต” และ นางวรรณนภา กลัดเสนาะ มารดาผู้เสียชีวิต ได้ร้องขอความเป็นธรรมต่อผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2564 เวลาประมาณ 19.00 น. นายธนวัชร์ กลัดเสนาะ ได้ขับขี่รถจักรยานยนต์ ยี่ห้อยามาฮ่า หมายเลขทะเบียน 1กฆ 5843 ชลบุรี มาตามถนนสุขุมวิท ฝั่งมุ่งหน้าเข้าเมืองชลบุรี เมื่อมาถึงบริเวณหน้าศูนย์มิซูบิชิ ได้เกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชนกับรถจักรยานยนต์อีกคันหนึ่งซึ่งขับขี่ตัดหน้า หลังเกิดเหตุมูลนิธิได้นำคู่กรณีส่งโรงพยาบาลบางละมุง ส่วนนายธนาวัชร์ฯ ซึ่งไม่มีบาดแผลภายนอก จึงไม่ได้นำตัวส่งโรงพยาบาล แต่พลเมืองดีได้ช่วยกันนำตัวไปนั่งพักบริเวณข้างถนน ต่อมาพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรบางละมุง มาถึงที่เกิดเหตุ แต่ไม่สามารถทำการสอบสวนนายธนวัชร์ฯ ได้ จึงได้นำตัวไปยังสถานีตำรวจภูธรบางละมุง ระหว่างนำตัวไปได้มีการใส่เครื่องพันธนาการในลักษณะมือไพล่หลัง และให้นั่งที่กระบะรถยนต์ เพื่อตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์และสารเสพติดในร่างกาย ผลการตรวจไม่พบปริมาณแอลกอฮอล์และสารเสพติดในร่างกายแต่อย่างใด หลังจากนั้นได้ปล่อยให้นายธนวัชร์ฯ นอนอยู่บริเวณกระบะรถยนต์ของเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยยังมีเครื่องพันธนาการไพล่หลังอยู่ จนกระทั่งเวลา 23.50 น. นายธนวัชร์ฯ มีอาการบาดเจ็บเลือดออกทางจมูกและหมดสติไป เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้รีบนำตัวส่งไปรักษาที่โรงพยาบาลบางละมุง และ เวลา 04.00 น. ได้ส่งตัวไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลชลบุรี แต่พนักงานสอบสวนไม่มีข้อมูลของนายธนาวัชร์ ฯ ทำให้ไม่สามารถติดต่อญาติเพื่อตัดสินใจรักษาด้วยการผ่าตัดเร่งด่วนได้ เป็นเหตุให้ นายธนวัชร์ฯ เสียชีวิตในเวลาต่อมา และ ในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 นางวรรณนภา กลัดเสนาะ มารดาผู้เสียชีวิต ได้มาพบผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี ร้องขอความเป็นธรรมจากการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
จากกรณีที่เกิดขึ้น พล.ต.ต.อรรถสิทธิ์ กิจจาหาญ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี ได้แต่งตั้งคณะพนักงานสืบสวนสอบสวน เพื่อทำการสอบสวนในคดีจราจรที่เกิดขึ้น และออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าว โดยกำชับให้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายใน 7 วัน
เมื่อมาถึงบริเวณหน้าศูนย์มิซูบิชิ ได้เกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชนกับรถจักรยานยนต์อีกคันหนึ่งซึ่งขับขี่ตัดหน้า หลังเกิดเหตุมูลนิธิได้นำคู่กรณีส่งโรงพยาบาลบางละมุง ส่วนนายธนาวัชร์ฯ ซึ่งไม่มีบาดแผลภายนอก จึงไม่ได้นำตัวส่งโรงพยาบาล แต่พลเมืองดีได้ช่วยกันนำตัวไปนั่งพักบริเวณข้างถนน ต่อมาพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรบางละมุง มาถึงที่เกิดเหตุ แต่ไม่สามารถทำการสอบสวนนายธนวัชร์ฯ ได้ จึงได้นำตัวไปยังสถานีตำรวจภูธรบางละมุง ระหว่างนำตัวไปได้มีการใส่เครื่องพันธนาการในลักษณะมือไพล่หลัง และให้นั่งที่กระบะรถยนต์ เพื่อตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์และสารเสพติดในร่างกาย ผลการตรวจไม่พบปริมาณแอลกอฮอล์และสารเสพติดในร่างกายแต่อย่างใด หลังจากนั้นได้ปล่อยให้นายธนวัชร์ฯ นอนอยู่บริเวณกระบะรถยนต์ของเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยยังมีเครื่องพันธนาการไพล่หลังอยู่ จนกระทั่งเวลา 23.50 น. นายธนวัชร์ฯ มีอาการบาดเจ็บเลือดออกทางจมูกและหมดสติไป เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้รีบนำตัวส่งไปรักษาที่โรงพยาบาลบางละมุง และ เวลา 04.00 น. ได้ส่งตัวไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลชลบุรี แต่พนักงานสอบสวนไม่มีข้อมูลของนายธนาวัชร์ ฯ ทำให้ไม่สามารถติดต่อญาติเพื่อตัดสินใจรักษาด้วยการผ่าตัดเร่งด่วนได้ เป็นเหตุให้ นายธนวัชร์ฯ เสียชีวิตในเวลาต่อมา และ ในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 นางวรรณนภา กลัดเสนาะ มารดาผู้เสียชีวิต ได้มาพบผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี ร้องขอความเป็นธรรมจากการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
จากกรณีที่เกิดขึ้น พล.ต.ต.อรรถสิทธิ์ กิจจาหาญ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี ได้แต่งตั้งคณะพนักงานสืบสวนสอบสวน เพื่อทำการสอบสวนในคดีจราจรที่เกิดขึ้น และออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าว โดยกำชับให้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายใน 7 วัน