นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า กระบวนการตรวจหาเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนนั้น ต้องใช้เวลาตรวจ เนื่องจากยังไม่มีน้ำยาตรวจเฉพาะเหมือนสายพันธุ์อื่น โดยจะใช้เทคนิคการตรวจหาตำแหน่งพันธุกรรมจากน้ำยาตรวจของอัลฟา และเบตาแทน หากให้ผลเป็นบวก สันนิษฐานว่าติดเชื้อโอมิครอน เนื่องจากตำแหน่งของรหัสพันธุกรรมบางตัวของอัลฟา และเบตามีตรงกับโอมิครอน จากนั้นจึงจะนำมาสู่กระบวนการด้วยหาพันธุกรรมทั้งตัวด้วยจีโมน ซึ่งต้องใช้เวลาในการตรวจยืนยัน และเมื่อพบก็จะรายงานผลให้ GISAID ด้วย ทุกขั้นตอนต้องใช้เวลา หากพบคนติดเชื้อโอมิครอน กระทรวงสาธารณสุขไม่ปกปิดแน่นอน ส่วนกรณีเคสพบชาวแอฟริกันป่วยและรักษาที่สถาบันบำราศนราดูรนั้น ผลการตรวจยืนยันว่า ติดเชื้อเดลตา
นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า ขณะนี้ทั่วโลกเริ่มพบเชื้อโอมิครอน ก็มีความเป็นไปได้หากจะมีการพบเชื้อมากับผู้เดินทางเข้ามา แต่ทุกอย่างต้องมีการตรวจยืนยันให้แน่ใจก่อน และไม่อยากให้ประชาชนตื่นตระหนก เพราะกระบวนการป้องกันยังเหมือนเดิม ทั้งสวมหน้ากากและรักษาระยะห่าง และการล้างมือ และกระบวนการรักษาก็ยังเหมือนเดิม วัคซีนยังเป็นกลไกสำคัญช่วยลดความรุนแรง.