‘หมอยง’ ชี้อีก 2 สัปดาห์รู้คำตอบ โควิดสายพันธุ์ “โอมิครอน” รุนแรงหรือไม่?

'หมอยง' ชี้อีก 2 สัปดาห์รู้คำตอบ โควิดสายพันธุ์ “โอมิครอน” รุนแรงหรือไม่?

วันที่ 7 ธ.ค. ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กข้อความว่า โควิด-19 “โอมิครอน” คำถามที่ต้องการคำตอบ ทั่วโลกให้ความสนใจกับโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน เป็นสายพันธุ์ที่พบใหม่ มีการกลายพันธุ์เป็นจำนวนมาก สิ่งที่ต้องการคำตอบ เร่งด่วนคือ 1. โอมิครอน ติดต่อง่ายจริงหรือไม่ /ขณะนี้หลังจากพบสายพันธุ์โอมิครอน ที่แอฟริกาตอนใต้ ไวรัสนี้ ได้แพร่กระจาย พบในประเทศต่างๆ นอกทวีปแอฟริการวมแล้วเกือบ 50 ประเทศรวมทั้งประเทศไทย แสดงให้เห็นว่าสายพันธุ์นี้แพร่กระจายได้ง่าย กว่าสายพันธุ์ Delta อย่างแน่นอน โดยมีอำนาจการแพร่กระจายโรคมากกว่าสายพันธุ์เดลต้าอย่างน้อย 2 เท่าขึ้นไป และในอนาคตสายพันธุ์นี้จะเข้ามาแทนที่สายพันธุ์เดลต้า

ศ.นพ.ยงกล่าวว่า 2.โอมิครอน หลบหลีกภูมิต้านทานจากการติดเชื้อเดิม หรือวัคซีนได้หรือไม่ /ผู้ป่วยติดเชื้อที่พบขณะนี้ มีจำนวนหนึ่งฉีดวัคซีนครบแล้ว 2 เข็ม และอีกจำนวนหนึ่งถึงแม้ว่าจะเคยเป็นโรคโควิด-19 มาก่อน ก็สามารถติดเชื้อได้ แสดงว่าภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นป้องกันได้แบบไม่สมบูรณ์ จึงเกิดการติดเชื้อได้ แต่เกือบทั้งหมดมีอาการลดลงหรือ ไม่มีอาการเลย วัคซีนยังสามารถป้องกันความรุนแรงของโรคได้ 3.โอมิครอน ความรุนแรงของโรคเป็นอย่างไร /ในผู้ป่วยที่พบ นอกทวีปแอฟริกา จำนวนมากกว่าพันราย ส่วนใหญ่มีอาการน้อยหรือไม่มีอาการ ในทวีปแอฟริกาเอง มีการรายงานเบื้องต้น ในถิ่นระบาดของโรค พบว่าส่วนใหญ่เกือบครึ่งหนึ่งไม่มีอาการ และที่เหลือส่วนใหญ่มีอาการน้อย อย่างไรก็ตาม คงต้องรอ เพราะในระยะเริ่มต้นการติดเชื้อ อาจจะยังมีอาการน้อย การเกิดปอดบวม หรือต้องเข้าโรงพยาบาล จะต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง คำถามข้อนี้จึงยังไม่สามารถสรุปได้ ว่ามีความรุนแรงอย่างไร คงต้องรอคำตอบอีกประมาณ 2 สัปดาห์ก็น่าจะรู้เรื่อง แต่แนวโน้มความรุนแรงลดลง

ศ.นพ.ยงกล่าวอีกว่า ความสำคัญของโอมิครอนอยู่ที่ “ความรุนแรงของโรค” ว่าเชื้อนี้จะลดความรุนแรงลงหรือไม่ ถึงแม้ว่าโรคนี้จะแพร่กระจายได้เป็นจำนวนมาก และหลบหลีกภูมิต้านทานได้เป็นบางส่วน ผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้ว หรือผู้ที่เคยป่วยมาก่อน มีอาการน้อยมากหรือไม่มีอาการ เมื่อติดเชื้อแล้วไม่มีอาการ หรือมีอาการน้อย ก็จะช่วยกระตุ้นภูมิต้านทาน เหมือนกับโรคทางเดินหายใจที่พบอยู่ขณะนี้ และในอนาคตความจำเป็นในการต้องตรวจกรองผู้สัมผัสทั้งหมด ก็ไม่มีความจำเป็น จะเป็นโรคทางเดินหายใจ ที่มักจะเป็นในเด็กที่ไม่มีภูมิต้านทาน หรือเคยติดเชื้อมาก่อน และเมื่อติดเชื้อแล้ว ก็จะมีภูมิต้านทานเกิดขึ้น การติดเชื้อครั้งต่อไปก็จะไม่มีอาการ เป็นเพียงเสริมภูมิต้านทานให้แข็งแรงยิ่งขึ้น และเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ ส่วนใหญ่จะมีภูมิต้านทาน

ศ.นพ.ยงกล่าวต่อว่า โรคไวรัสทางเดินหายใจในผู้ที่แข็งแรง ที่พบส่วนใหญ่ในขณะนี้จึงไม่ได้เป็นปัญหาสำคัญ จะเป็นปัญหาในกลุ่มเสี่ยงหรือร่างกายไม่แข็งแรง ในระยะเวลาอีกไม่นานก็คงรู้คำตอบจากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ทั้งหมดที่ขณะนี้ทุกคนตั้งใจรอ

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สิ้น "หลวงปู่มี ฐิตสาโร" สิริอายุ 113 ปี เกจิอายุยืนสุดในภาคอีสาน
"ประเสริฐ" เผย"ดีอี" เร่งศึกษายกพนัน​ออนไลน์​ขึ้นบนดิน สกัดกั้นบัญชีม้า ฟอกเงิน ก๊วนคอลเซ็นเตอร์
เฮยหลงเจียงทำสถิติผลิตอาหารมากสุดในประวัติศาสตร์จีน
เขมรเหิม! หอบลูกเมียสร้างหมู่บ้านล้ำแดน ตกดึกย่องเข้าบ้านขโมยของคนไทย
สุดล้ำ! จีนโชว์ ‘เชิดสิงโตลอยฟ้า’ บนฟลายบอร์ดที่กว่างซี
"ประเสริฐ" ฮึ่ม สั่ง PDPC ตรวจสอบปมร้านเหล้าย่านบางใหญ่ ขายข้อมูลลูกค้า ยันผิดกฎหมายมีโทษปรับสูง
ประมงสมุทรสงครามยกโครงการ "สิบหยิบหนึ่ง" คืบหน้าช่วยเกษตรกรแก้ปัญหาปลาหมอคางดำ
สุดเศร้า 'หมาพุดดิ้ง' อำลาเจ้านาย หน้าแท่นไว้อาลัยกลางกรุงโซล หลังเสียชีวิตยกครัว 9 ราย เหตุ 'เช จูแอร์'
เปิดวงจรปิด สภาพการจราจรแยก อสมท. ญาติโต้กลับ 'อส.ชุดแดง' อ้างรถติดนำผู้ป่วยวิกฤติส่งผิดรพ.
เหนือ-อีสาน อากาศหนาวจัด ยอดดอยเจอน้ำค้างแข็ง กทม.ลมแรง อุณหภูมิลดอีก ต่ำสุด 18 องศา

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น