สปสช.ชี้แจง ผู้ประกันตน กรณีเงินช่วยเหลือแพ้วัคซีนโควิดล่าช้า

สปสช.เขต 13 กทม. ประสานดูแล “ผู้ประกันตนร้องผ่านสื่อ สปสช.ช่วยเหลือเบื้องต้นแพ้วัคซีนโควิด-19 ล่าช้า” เผยเตรียมนำเข้าอนุกรรมการฯ พิจารณา 15 ธ.ค. นี้ ย้ำกระบวนการอยู่ภายใน 30 วัน พร้อมแจงล่าช้า เหตุเร่งพิจารณาคำร้องผู้ประกันตนฯ ใน กทม. ค้างสะสมกว่า 300 ราย จากข้อติดขัดกฎหมายจากประกาศ สปส. ก่อนหน้านี้

ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ในฐานะโฆษก สปสช. กล่าวว่า ตามที่สื่อมวลชนได้นำเสนอปัญหาร้องเรียน “รอ สปสช. เยียวยาผลข้างเคียงฉีดวัคซีน” โดยใช้ชื่อว่าสุรชัย ที่ให้ข้อมูลระบุว่าการช่วยเหลือจาก สปสช.ต้องใช้เวลา 2-3 เดือน ทั้งที่มีนโยบายการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 โดยเร็วนั้น สปสช.ได้ประสานไปยังสื่อมวลชนเพื่อขอข้อมูลเพื่อติดต่อผู้ร้องเรียนเพิ่มเติม และได้โทรพูดคุยและชี้แจงกับผู้ร้องเรียนรายนี้แล้ว

ทั้งนี้ผู้ร้องเรียนกรณีนี้เป็นผู้มีสิทธิประกันสังคม ภายหลังรับบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 เกิดอาการไม่พึงประสงค์ขึ้น และได้เข้ายื่นเรื่องขอรับการช่วยเหลือเบื้องต้นจากผลกระทบที่เกิดขึ้นภายหลังจากการเข้ารับบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่ สปสช.เขต 13 กทม. เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2564 โดย สปสช.เขต 13 กทม. ได้นำเรื่องเข้าสู่กระบวนการพิจารณาตามขั้นตอนต่อไป

อย่างไรก็ตามด้วยก่อนหน้านี้ที่เกิดปัญหาติดขัดทางกฎหมาย เนื่องจากสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ได้ออกประกาศคณะกรรมการการแพทย์ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่ผู้ประกันตนที่ได้รับความเสียหายจากการรับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2564 เพื่อเป็นการดูแลผู้ประกันตนที่ได้รับความเสียหายจากการรับวัคซีนโควิด-19 ส่งผลให้ผู้ประกันตนไม่สามารถรับเงินช่วยเหลือตามประกาศของ สปสช. เรื่อง หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น กรณีผู้รับบริการได้รับความเสียหายจากการรับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) พ.ศ. 2564 ได้ และต่อมาในเดือนตุลาคม 2564 ทาง สปส. จึงได้มีการแก้ไขโดยออกประกาศฉบับใหม่ ที่ให้ผู้ประกันตนมารับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นฯ ตามประกาศ สปสช. แทน

ในช่วงเวลาดังกล่าวประมาณ 3 เดือน ส่งผลให้มีผู้ประกันตนที่ยื่นคำร้องขอรับการช่วยเหลือฯ รอการพิจารณาอยู่เป็นจำนวนนับพันราย ซึ่งภายหลังจากที่ สปส. ได้ส่งข้อมูลคำร้องของผู้ประกันตนมายัง สปสช. แล้ว ทาง สปสช. ได้รีบเร่งกระบวนการพิจารณา เพื่อให้ผู้ประกันตนที่ยื่นคำร้องเหล่านี้ได้รับการช่วยเหลือฯ โดยเร็วที่สุด

“เฉพาะในพื้นที่ เขต 13 กทม. มีผู้ประกันตนที่ยื่นคำร้องและรอการพิจารณาถึง 300 ราย สปสช.เขต 13 กทม. จึงจำเป็นต้องพิจารณาคำร้องผู้ประกันตนที่ค้างสะสมก่อน ซึ่งค้างมาตั้งแต่เดือน ก.ค. 64 และจากการเร่งดำเนินการ เมื่อวันที่ 9 ธ.ค. ที่ผ่านมา ทางอนุกรรมการฯ ได้พิจารณาคำร้องแล้วเสร็จทั้งหมด 300 รายแล้ว หลังจากนี้จะเป็นการเริ่มพิจารณาคำร้องของผู้ประกันตนตามระบบคิวปกติ รวมถึงคำร้องผู้ร้องเรียนรายนี้ด้วย ซึ่งจะเข้าสู่การพิจารณาอนุกรรมการฯ ในวันที่ 15 ธ.ค. นี้ โดยยังอยู่ในระยะเวลาเข้าสู่การพิจารณาไม่เกิน 30 วัน” รองเลขาธิการ สปสช. กล่าวและว่า ภายหลังจากที่มีมติช่วยเหลือ สปสช.จะทำการโอนเงินช่วยเหลือภายใน 5 วัน

ทพ.อรรถพร กล่าวว่า นอกจากผู้ประกันตนแล้ว ยังมีประชาชนสิทธิอื่นๆ ที่เกิดภาวะไม่พึงประสงค์หลังฉีดวัคซีนโควิด-19 และได้ยื่นคำร้องขอรับการช่วยเหลือเบื้องต้นฯ มายัง สปสช. จำนวนมากเช่นกัน ทำให้มีคำร้องขอรับการช่วยเหลือเบื้องต้นฯ มีเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตามประชาชนสามารถตรวจสอบคิวการพิจารณาคำร้องฯ ได้ ผ่านช่องทาง Line สปสช.เขต 13 กทม. @ucbkk และสายด่วน สปสช. 1330

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ทักษิณ" ลั่นอย่าฟังเสียงนกเสียงกา "รัฐบาล" ใกล้พัง หยันฝันลมแล้งยุบสภา จวกขาประจำด่านายกฯระวังให้ดี
"พิพัฒน์" รับยังไม่พอใจ ผลผลักดันขึ้นค่าแรง 400 บาท คาดหวังจะได้หลายจังหวัดกว่านี้
ตร.ไซเบอร์ บุกทลาย "เว็บพนันรายใหญ่" เมืองเชียงราย พบเงินหมุนเวียน 200 ล้านต่อเดือน
เพจดังโคตรแสบ! ตั้งฉายา สส.พรรคส้ม แห่กระทืบไลก์ “มะขิ่น ขอสไลด์”
จีนเตือน ‘ฟิลิปปินส์’ ถอนระบบขีปนาวุธสหรัฐฯ ตามคำมั่น
ซานต้าเริ่มตระเวนแจกของขวัญในวันคริสต์มาสอีฟ
บริกส์รับไทยเป็นหุ้นส่วนอย่างเป็นทางการมกราคมปีหน้า
ตำรวจเปรูปลอมตัวเป็น “เดอะ กริ๊นช์” ทลายแก๊งยาเสพติด
ปูตินเผยคืบหน้าแผนพัฒนาดินแดนยึดครองรัสเซีย
อธิบดีกรมการจัดหางาน รับมีการซื้อใบรับรองแพทย์ 'ตรวจโรคต่างด้าว' ขอความร่วมมือนายจ้างเข้มงวด หวั่นเกิดโรคระบาด

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น