สภาพัฒน์ เผยโควิดยืดเยื้อ กระทบแรงงาน MSMEs-ท่องเที่ยว-เด็กจบใหม่

เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระบุต้องติดตามผลกระทบของโควิด-19 ที่ยืดเยื้อ อาจทำให้เศรษฐกิจไม่สามารถขยายตัวได้ตามเป้าหมาย แรงงานในธุรกิจ MSMEs และภาคท่องเที่ยว อาจตกงานมากขึ้น และตำแหน่งงานอาจไม่พอรับนักศึกษาจบใหม่

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ เปิดเผยถึง ประเด็นที่ต้องติดตามในปี 2564 ได้แก่
1. ผลกระทบของโควิด-19 ระลอกใหม่ต่อเศรษฐกิจและการจ้างงาน การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยืดเยื้อและมีความรุนแรงเป็นระยะ ๆ อาจทำให้เศรษฐกิจไม่สามารถขยายตัวได้ตามเป้าหมาย เนื่องจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ลดลง โดยแนวโน้มการเดินทางที่ลดลงจากข้อมูล Apple Mobility Index พบว่า จากการระบาดระลอกใหม่นี้ใกล้เคียงกับการระบาดในระลอกที่ 1 เมื่อปี 2563 ทั้งนี้ การระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่อาจส่งผลกระทบต่อกลุ่มแรงงาน ดังนี้
(1) แรงงานในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (MSMEs) อาจตกงานมากขึ้นหรือถูกลดชั่วโมงการทำงาน โดยธุรกิจ MSMEs ได้รับผลกระทบตั้งแต่ปี 2563 ซึ่งทำให้ GDP ของ MSMEs ปรับตัวลดลงสูงถึงร้อยละ 9.1 หากไม่สามารถควบคุมการระบาดได้อย่างรวดเร็ว ธุรกิจฯ อาจไม่ สามารถประคองตัวต่อไปได้ รวมถึงการเลิกจ้างแรงงาน และโอกาสการกลับมาฟื้นตัวอาจใช้เวลานานมากขึ้น

(2) แรงงานในภาคการท่องเที่ยวอาจถูกเลิกจ้างมากขึ้น และต้องหาอาชีพใหม่ โดยศูนย์วิจัยด้านการตลาด ท่องเที่ยวของ ททท. คาดว่าการท่องเที่ยวจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติในปี 2569 ซึ่งผลกระทบของ COVID-19 จะทำให้ การกลับเข้าสู่ภาวะปกติต้องเลื่อนออกไป และส่งผลกระทบต่อแรงงานในภาคการท่องเที่ยวที่มีอยู่กว่า 7 ล้านคน โดยหากแรงงานถูกเลิกจ้างจะไม่สามารถกลับเข้ามาทำงานในสาขาเดิมได้ในระยะเวลาอันใกล้ และอาจต้อง เปลี่ยนอาชีพ และ

(3) ตำแหน่งงานอาจไม่เพียงพอจะรองรับนักศึกษาจบใหม่ โดยเศรษฐกิจที่มีแนวโน้ม เติบโตต่ำกว่าเป้าหมาย จะทำ ให้ผู้ประกอบการเลื่อนการขยายตำแหน่งงานใหม่ออกไป กระทบกับการหางาน ของนักศึกษาจบใหม่ในปี 2564 ประมาณ 4.9 แสนคน ขณะที่โครงการจ้างงานกลุ่มผู้จบการศึกษาใหม่และ แรงงานคืนถิ่นภายใต้ พ.ร.ก. เงินกู้ฯ ในปี 2563 ซึ่งมีระยะเวลาการจ้างงานประมาณ 12 เดือนกำ ลังจะสิ้นสุดลง อาจส่งผลกระทบต่อแรงงานภายใต้โครงการประมาณ 1.4 แสนตำแหน่ง

2. ผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของแรงงาน เศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้า ชั่วโมงการทำงานที่ลดลง 6 ไตรมาสติดต่อกัน และการว่างงานเพิ่มขึ้น สะท้อนว่าแรงงานมีรายได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ผู้ว่างงานจากผลกระทบ ของโควิด-19 มีแนวโน้มเป็นผู้ว่างงานระยะยาวมากขึ้น การว่างงานเป็นเวลานานจะส่งผลกระทบต่อรายได้ และทำให้ทักษะแรงงานลดลง
นอกจากนี้ แรงงานในระบบที่ถูกเลิกจ้างจำนวนมากได้กลายเป็นแรงงานนอกระบบ ตั้งแต่การระบาดรุนแรงในปี 2563 ซึ่งเป็นกลุ่มที่ไม่ได้รับการคุ้มครอง และขาดหลักประกันทางสังคม

3. การเตรียมพร้อมรับมือกับสภาวะการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศที่จะมีผลต่อการประกอบอาชีพ ของเกษตรกรไทย ภาคเกษตรที่มีแรงงานอยู่มากกว่า 1 ใน 3 ของกำลังแรงงานในประเทศ โดยเฉพาะในช่วง ที่มีการแพร่ระบาดฯ ภาคเกษตรเป็นสาขาที่ดูดซับแรงงานส่วนเกินจากนอกภาคเกษตร โดยมีการคาดการณ์ สภาพภูมิอากาศในปี 2564 ว่าปริมาณน้ำฝนจะมากกว่าค่าปกติส่งผลดีต่อภาคเกษตรของไทย แต่บางพื้นที่อาจ มีโอกาสสูงในการเกิดสถานการณ์น้ำท่วมได้ หากภาครัฐได้มีการส่งสัญญาณเตือนเกษตรกรล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำ จะสามารถลดความเสี่ยงของเกษตรกรจากความเสียหายจากภัยทางธรรมชาติได้อย่างทันท่วงที

สำหรับสถานการณ์แรงงานไตรมาสหนึ่ง ปี 2564 กำลังแรงงานมี จำนวนทั้งสิ้น 38.8 ล้านคน เพิ่มขึ้นจาก ช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1.5 จากการเข้าสู่ตลาดแรงงานของผู้อยู่นอกกำลังแรงงานอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ ผู้มีงานทำมีจำนวนทั้งสิ้น 37.6 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 จากการขยายตัวของการจ้างงานในภาคเกษตรกรรม ที่ดูดซับแรงงานบางส่วนที่ถูกเลิกจ้างจากภาคเศรษฐกิจอื่นมาตั้งแต่ปี 2563

ประกอบกับราคาสินค้าเกษตร มีการปรับตัวสูงขึ้นมาก จูงใจให้แรงงานย้ายเข้ามาทำงานในภาคเศรษฐกิจนี้เพิ่มขึ้น โดยผู้มีงานำทำภาคเกษตรกรรม มีจำนวน 11.07 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่นอกภาคเกษตรกรรม การจ้างงานปรับตัวลดลงเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.6
นายดนุชา กล่าวถึง การว่างงาน ในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระซึ่งเป็นกลุ่มที่มีรายได้ไม่แน่นอน เพิ่มขึ้นสูง โดยผู้ว่างงาน มีจำนวน 0.76 ล้านคน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 1.96 สูงขึ้นอีกครั้ง สะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบจาก COVID-19 ที่ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง

สำหรับการว่างงานของแรงงานในระบบ พบว่า ผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานของผู้ประกันตนมาตรา 33 มีจำนวน 3.46 แสนคน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3.1 ของผู้ประกันตนมาตรา 33 สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่การระบาดยังไม่รุนแรง โดยเป็นผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานรายใหม่ ประมาณ 0.8 แสนคน ในเดือนมีนาคม 2564 ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับสูง และลูกจ้างของสถานประกอบการที่ขอใช้ มาตรา 75 ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มีจำนวน 82,346 คน ลดลงเป็นไตรมาสที่ 3 ติดต่อกัน

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น