สธ.เตรียมรับมือ โควิดระบาดระลอก 5 ห่วงบางจังหวัดยังฉีดวัคซีนน้อย

สธ.เตรียมพร้อมยา-เตียง-ความพร้อมสายด่วน รับมือโควิดระบาดระลอก 5 ห่วงจังหวัดฉีดวัคซีนน้อย

ที่กรมการแพทย์ นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวถึงมาตรการด้านการแพทย์รองรับสถานการณ์โควิด-19 ว่า ดร.สันต์ ศรีอรรฆ์ธำรง อาจารย์พิเศษคณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้า ซึ่งทำงานร่วมกัน ได้รายงานสถานการณ์การติดเชื้อโควิดขึ้นเร็วมาก และมาเร็วกว่าที่คาดการณ์ กราฟค่อนข้างชัน เป็นระลอกที่ 5 ขณะนี้เข้าสู่การระบาดระลอกใหม่แล้ว เพราะยังมียอดตรวจ ATK เป็นบวก 3,000 กว่าราย วันนี้ที่กลัวคือจังหวัดที่มีการฉีดวัคซีนน้อย อย่างไรก็ตามเชื้อโอมิครอนยืนยันว่าอาการไม่มาก โดยจากการรักษาคนติดโอมิครอนในไทย 100 ราย มี 7 คนเชื้อลงปอด แต่ไม่ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ ไม่ต้องใส่ออกซิเจนไฮโฟลว์ ส่วนใหญ่พบไอ 54% เจ็บคอ 37% มีไข้ 29% ปวดกล้ามเนื้อ 15% มีน้ำมูก 12% ปวดศีรษะ 10% หายใจลำบาก 5% ได้กลิ่นลดลง 2% พบครึ่งหนึ่งมีอาการ ครึ่งหนึ่งไม่มีอาการ ดังนั้นจากนี้การตรวจวัดไข้ก่อนเข้าสถานที่ต่างๆ นั้นไม่ได้ผลแล้ว ขอให้คัดกรองอย่างอื่นด้วย นอกจากนี้ อาการของผู้ติดเชื้อโอมิครอนแยกได้ยากกับโรคหวัดทั่วไป ดังนั้นใครที่มีอาการหวัดขอให้ตรวจ ATK และไม่พบปะผู้อื่น

นายแพทย์สมศักดิ์ ยืนยันยาฟาวิพิราเวียร์มีประสิทธิภาพ รักษาโรคโควิดสายพันธุ์อื่นๆ โดยคนเริ่มมีอาการได้รับยา 3 วันอาการดีขึ้น ทั้งนี้ หากตัวเลขผู้ติดเชื้อเป็นไปตามที่กรมควบคุมโรคคาดการณ์ ในกรณีหนักสุดติดเชื้อวันละ 30,000 รายนั้นยังรับไหว ซึ่งขณะนี้เราเตรียมเตียงดูแลผู้ติดเชื้อทุกระดับ 52,300 เตียง โดยในรอบนี้จะเน้นการรักษาที่บ้าน หรือ Home Isolation และศูนย์ดูแลในชุมชน หรือ Community Isolation และประสานเข้าระบบผ่าน 1330 ซึ่งจะดำเนินการจับคู่โรงพยาบาลให้ และประเมินอาการควรอยู่ที่บ้านหรือส่งต่อรักษาในโรงพยาบาล รับประกันภายใน 6 ชั่วโมง จะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ หากคลินิกไหนทำไม่ได้จะดำเนินการถอดออกจากระบบการดูแล แต่หากอาการหนักให้โทร.1669 เพื่อรับส่งต่อรักษาในโรงพยาบาล ขณะนี้ นายแพทย์เกียรติถูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เตรียมศูนย์ประสานงานในทุกจังหวัดไว้แล้ว

ทั้งนี้ คาดการณ์ว่ารอบนี้จะเกิดการระบาดในเด็กเยอะ เพราะเด็กยังไม่ได้ฉีดวัคซีน แต่ย้ำว่าเด็กติดได้แต่อาการไม่รุนแรง หากไม่มีโรคประจำตัว ขณะนี้มีการประสาน กทม.ให้จัดทำเตียง ศูนย์ดูแลในชุมชน สำหรับเด็กและครอบครัวเอาไว้ 6 โซน โซนละ 1 แห่ง แห่งละอย่างน้อย 50 เตียง และ 1 ห้องเด็กอยู่ร่วมกัน 3-4 คน มีพื้นที่ให้ทำกิจกรรมได้ พร้อมทั้งมอบสถาบันเด็กแห่งชาติมหาราชราชินี ในการเตรียมยาน้ำฟาวิพิราเวียร์สำหรับเด็กทั่วประเทศ โดยโรงพยาบาลแต่ละแห่งสามารถทำได้เอง ไม่ต้องสำรอง พร้อมทั้งจัดหมอเด็กเพื่อเป็นที่ปรึกษาให้ด้วย นอกจากนี้ยังเตรียมศูนย์ดูแลในชุมชนสำหรับแรงงานต่างด้าวด้วย โซนละ 1 แห่ง แห่งละประมาณ 100 เตียง

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ฝนตกหนัก "อนุทิน" กำชับ "ผู้ว่าฯ เชียงราย" ติดตามสถานการณ์น้ำแม่น้ำสายใกล้ชิด
"รมว.สุดาวรรณ" นำชมนิทรรศการ สาธิตวิถีชีวิต ประเพณีวัฒนธรรมโดดเด่นชาวนครพนม ชูเส้นทางตามรอยศรัทธาธรรม 7 วันสักการะ 8 พระธาตุประจำวันเกิด
"สรรเพชญ" ผนึก "สุพิศ" นายกอบจ.สงขลา ร่วมขับเคลื่อนพัฒนาท้องถิ่นทุกมิติ มั่นใจยกระดับคุณภาพชีวิตปชช.
"นฤมล" ลงพื้นที่เยี่ยมชาวสวนลิ้นจี่ นครพนม ชื่นชมสร้างมูลค่าส่งออก ยันพร้อมหนุนทุกปัจจัย ดูแลผลไม้ไทย
สส.สัตหีบ เร่งประสานอีสวอเตอร์ แก้ไขปัญหาท่อน้ำประปาแตกบ่อย น้ำไหลเบา เพิ่มแรงดันน้ำพื้นที่โซนสูง
"ศุภมาส" เดินหน้าขับเคลื่อน Soft Power จัดแข่งวาดภาพ Thai Youth Street Art รุดให้กำลังใจ 6 สถาบัน เข้าประชันฝีมือ
สวนสัตว์เปิดเขาเขียว จัดกิจกรรมคลายร้อนให้สัตว์ ด้วยหวานเย็นผลไม้ พร้อมเสริมกิจกรรมต่างๆ เพื่อกระตุ้นพฤติกรรมธรรมชาติ
"สมศักดิ์" ให้กำลังใจทีมแพทย์- พยาบาล รพ.บึงกาฬ พร้อมเปิดห้องรับฟังความเห็น หลังเกิดปัญหาบุคลากรทางการแพทย์ขาดแคลน
กรรมการ บ.ไมนฮาร์ทฯ ผู้รับออกแบบตึกสตง. ให้ข้อมูลดีเอสไอ รับมีการสั่งแก้แปลนอาคาร ผนังปล่องลิฟท์ พร้อมร่วมมือให้ทุกอย่าง
PEA เตือนภัย! ประชาชนพื้นที่เสี่ยงระวังภัย "พายุฤดูร้อน"

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น