นายแพทย์อดิศัย ภัทตาตั้ง ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีพร้อมด้วยแพทย์หญิงพนิดา ศรีสัตน์ รองผู้อำนวยการด้านการแพทย์ /และแพทย์หญิงปิยรัชน์ สันตะรัตติวงศ์ หัวหน้ากลุ่มงานกุมารเวชศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ แถลงถึงสถานการณ์โควิด-19สายพันธุ์โอมิครอนในเด็กว่า ณ. สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ระบุภาพรวมของเชื้อไวรัส covid-19 สายพันธุ์โอมิคอนที่คาดว่าจะระบาดมากกว่าสายพันธุ์เดลต้าที่มีเพียงร้อยละ10 ถึง1ใน3ของผู้ป่วยทั้งหมดเนื่องจากในช่วงอายุ 5-11ปียังไม่ได้วัคซีนไฟเซอร์และจะเริ่มมีการระดมฉีดในเดือนกุมภาพันธ์นี้ แต่อาการในเด็กจะไม่รุนแรงหากเทียบกับผู้ใหญ่ ซึ่งกลุ่มที่ต้องเฝ้าระวังพิเศษ คือ เด็กที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับสมอง หัวใจ และระบบประสาทโดยล่าสุด ปลัด สธ. สั่งการเตรียมความพร้อมรองรับผู้ป่วยเด็กทั่วประเทศ หากเป็นเด็กโต สามารถใช้เตียงผู้ใหญ่ได้ / ส่วนใน กทม. มีเตียงรองรับเด็กป่วยโควิด ทั้งในโรงพยาบาลและศูนย์เครือข่าย รวม 100 เตียง/ สำหรับโรงพยาบาลเด็กได้จัดเตรียมไว้ 70 เตียงและ สามารถรองรับผู้ป่วยเด็ก อาการหนักหรือระดับสีแดง รวม 13 เตียง แบ่งเป็นทารก 6 เตียง และเด็กโต 7 เตียงล่าสุด มีเด็กติดเชื้อรักษาระบบ 60 กว่าคน ส่วนผู้ป่วยใน 32คน / ใช้ระยะเวลาในการรักษาผู้ป่วยเด็ก ประมาณ 3-4 วัน และกักตัวในความดูแลของผู้ปกครองอีก 14วันตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข
แพทย์หญิงปิยรัชน์ระบุว่า อาการของสายพันธุ์โอมิคอนมีอาการน้อยจนไปถึงไม่มีอาการแม้จะมีเปอร์เซ็นต์ผู้ติดเชื้อสูงขึ้นแต่ได้มีการเตรียมพร้อมในทุกด้าน แต่ขอให้ผู้ปกครองสังเกตุบุตรหลาน ว่าถ้าหากมีอาการไข้หรือสงสัยให้เข้ารับการตรวจATKหรือRT-PCRในทันทีซึ่งขณะนี้ระบบการตรวจก็มีอย่างครอบคลุม และถ้าหากอาการเป็นผู้ป่วยสีเขียวสามารถเข้าสู่ ระบบHome Solution
ด้านแผนการจัดสรรวัคซีนไฟเซอร์เด็กในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 นั้น แพทย์หญิงพนิดา เดินหน้าฉีดให้กลุ่มเสี่ยงที่มีโรคเรื้อรังก่อนโดยใช้หลักเกณฑ์เดียวกับผู้ใหญ่ตามแผนของราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยและจะระดมฉีดให้โรงเรียนด้วย