“ดร.อนันต์” เผยเคสน่าสนใจติด “โอมิครอน” ทั้งคู่ แต่คุณสมบัติต่างกัน!

“ดร.อนันต์” เผยเคสน่าสนใจติด "โอมิครอน" ทั้งคู่ แต่คุณสมบัติต่างกัน!

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ หรือ ไบโอเทค สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กเรื่อง เคสน่าสนใจของโอมิครอนในประเทศไทย พร้อมเปิดเผยภาพเปรียบเทียบการตรวจพบเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนของผู้ติดเชื้อ 2 คน แต่กลับพบว่าเชื้อมีคุณสมบัติแตกต่างกัน รวมถึงผลการตรวจATK ของผู้ติดเชื้อทั้ง 2 คน ที่พบว่า อีกคนเชื้อในร่างกายลดลงเร็วกว่าอีกคน

โดย ดร.อนันต์ เล่าว่า เมื่อช่วงหยุดยาวปีใหม่ที่ผ่านมา J และ K ได้เดินทางไปพักผ่อนที่เกาะแห่งหนึ่งในภาคใต้ของไทย กลับมาทั้งคู่มีอาการน่าสงสัยเลยไปซื้อ ATK มาตรวจพบผลเป็นบวกทั้งคู่ ทั้งคู่อาศัยอยู่ด้วยกันตลอด จึงเป็นไปได้สูงว่าจะติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์เดียวกัน ในวันเดียวกันทั้งคู่ได้ส่งตัวอย่างน้ำลายมาให้ผมเพาะเชื้อ และ ตรวจ ATK ทุกวัน เพื่อดูระดับของไวรัสในร่างกาย ซึ่งตั้งแต่วันแรกที่เริ่มตรวจพบเชื้อ K มีอาการไม่มาก ในขณะที่ J มีอาการชัดเจนกว่า แต่ไม่หนักมาก ทั้งคู่ home isolation อยู่ด้วยกัน

ทั้งนี้เมื่อนำตัวอย่างน้ำลายมาเพาะเชื้อแล้วพบสิ่งที่น่าสนใจมาก ตัวอย่างไวรัสจาก J สามารถติดเชื้อเข้าเซลล์ได้อย่างรวดเร็ว มีการหลอมรวมกันของเซลล์เหมือนที่พบได้ในเซลล์ที่ติดไวรัสเดลตา ขณะที่ไวรัสจาก K ติดเชื้อได้ไม่ดี เซลล์เปลี่ยนแปลงรูปร่างไม่ชัด และใช้เวลาหลายวันกว่าเชื้อจะเพิ่มจำนวนจนตรวจสอบได้ ทำให้คาดว่า J คงติดเดลตามา และ K อาจติดโอมิครอน แต่เมื่อนำ RNA ของไวรัสมาตรวจสอบเพิ่มเติม พบว่า ไวรัสของทั้ง 2 คน เป็นโอมิครอนทั้งคู่ แต่ โอมิครอนของทั้ง 2 คน มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน ของ K เหมือนกับหลายที่รายงานว่า ติดเซลล์ได้ช้าและไม่ทำให้เซลล์เกิดการรวมตัวกัน ในขณะที่ J เป็น โอมิครอนที่มีลักษณะเหมือนที่พบในไวรัสเดลตา

ผลจากการตรวจ ATK เป็นประจำทุกวันของทั้ง 2 คน เหมือนจะสอดคล้อง คือ ปริมาณไวรัสในตัว K ลดลงไวมากภายใน 3 วัน ขณะที่ปริมาณไวรัสใน J เป็นแถบสีเข้มมากเป็นเวลานานถึง 8 วัน ก่อนเริ่มลดลงอย่างเห็นชัดในวันที่ 9 ซึ่งบ่งชี้ว่าปริมาณไวรัสใน J มีสูงและอยู่ในร่างกายนานกว่า K ชัดเจน ที่น่าสนใจคือ K ได้รับวัคซีนแอสตราเซเนกา มา 2 เข็ม ในขณะที่ J ได้วัคซีนไฟเซอร์ เข็มที่ 3 มาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขณะนี้กำลังอยู่ในช่วงการศึกษาข้อมูลเชิงลึก โดยการถอดรหัสพันธุกรรมของไวรัสทั้ง 2 สายพันธุ์ ซึ่งเชื่อว่ามีความแตกต่างกันอย่างแน่นอน ทีมวิจัยคงรวบรวมผลวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในเร็วๆนี้

ดร.อนันต์ ทิ้งท้ายว่า ไวรัสโอมิครอนดูเหมือนจะมีความหลากหลายในตัวเอง ข้อมูลส่วนใหญ่ที่มีตอนนี้มาจากสายพันธุ์หลักที่ระบาดเป็นวงกว้าง ขณะที่โอมิครอนสายพันธุ์ย่อยอาจมีความแตกต่างกันทางไวรัสวิทยาอย่างชัดเจน ในประเทศไทยก็สามารถตรวจพบโอมิครอนที่แตกต่างกันได้ เราต้องทำความรู้จักไวรัสตัวนี้ให้มากขึ้นกว่านี้มาก ก่อนจะมีข้อสรุปอะไรที่ชัดเจน

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ทักษิณ" ลั่นอย่าฟังเสียงนกเสียงกา "รัฐบาล" ใกล้พัง หยันฝันลมแล้งยุบสภา จวกขาประจำด่านายกฯระวังให้ดี
"พิพัฒน์" รับยังไม่พอใจ ผลผลักดันขึ้นค่าแรง 400 บาท คาดหวังจะได้หลายจังหวัดกว่านี้
ตร.ไซเบอร์ บุกทลาย "เว็บพนันรายใหญ่" เมืองเชียงราย พบเงินหมุนเวียน 200 ล้านต่อเดือน
เพจดังโคตรแสบ! ตั้งฉายา สส.พรรคส้ม แห่กระทืบไลก์ “มะขิ่น ขอสไลด์”
จีนเตือน ‘ฟิลิปปินส์’ ถอนระบบขีปนาวุธสหรัฐฯ ตามคำมั่น
ซานต้าเริ่มตระเวนแจกของขวัญในวันคริสต์มาสอีฟ
บริกส์รับไทยเป็นหุ้นส่วนอย่างเป็นทางการมกราคมปีหน้า
ตำรวจเปรูปลอมตัวเป็น “เดอะ กริ๊นช์” ทลายแก๊งยาเสพติด
ปูตินเผยคืบหน้าแผนพัฒนาดินแดนยึดครองรัสเซีย
อธิบดีกรมการจัดหางาน รับมีการซื้อใบรับรองแพทย์ 'ตรวจโรคต่างด้าว' ขอความร่วมมือนายจ้างเข้มงวด หวั่นเกิดโรคระบาด

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น