“นายกฯตู่” สั่งกระทรวงยุติธรรม 3 ข้อ แก้ปมอภัยโทษ!

"นายกฯตู่" สั่งกระทรวงยุติธรรม 3 ข้อ แก้ปมอภัยโทษ!

วันที่ 19 มกราคม 2565 นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มีข้อสั่งการเกี่ยวกับข้อเสนอแนะของคณะกรรมการตรวจสอบการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการอภัยโทษ ดังนี้ ตามที่นายกรัฐมนตรีมีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 337/2564 ลงวันที่ 16 ธันวาคม 2264 แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการอภัยโทษ (คณะกรรมการ) ขึ้นดำเนินการตรวจสอบการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวและเสนอแนะแนวทางการดำเนินการที่เหมาะสมนั้น

คณะกรรมการได้รายงานผลการตรวจสอบและมีข้อเสนอแนะต่อนายกรัฐมนตรีภายในระยะเวลาที่กำหนด สรุปความได้ว่า การขอพระราชทานอภัยโทษทุกครั้งที่ผ่านมาดำเนินการตามแนวทางเดียวกัน อย่างไรก็ดี ได้มีข้อเสนอแนะให้หน่วยงานที่รับผิดชอบ โดยเฉพาะกระทรวงยุติธรรม รับไปดำเนินการ ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ในการอภัยโทษ การเว้นช่วงเวลาในการอภัยโทษ การกำหนดสัดส่วนการลดโทษ การกำหนดระยะเวลาปลอดภัย การกำหนดหลักเกณฑ์สำหรับการอภัยโทษเฉพาะสำหรับฐานความผิดบางฐาน รวมทั้งการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบผู้ซึ่งจะได้รับพระราชทานอภัยโทษ

นายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้ว ได้มีข้อสั่งการให้กระทรวงยุติธรรมรับข้อเสนอแนะของคณะกรรมการไปพิจารณาดำเนินการให้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว เพื่อให้การขอพระราชทานอภัยโทษในวโรกาสสำคัญที่จะมีขึ้นต่อไป เป็นไปโดยปราศจากข้อห่วงกังวลของสาธารณชน ในกรณีต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติราชทัณฑ์หรือกฎระเบียบใดให้เป็นไปตามหลักการนี้ก็ขอให้เสนอมาด้วย และได้มีข้อสั่งการให้กระทรวงยุติธรรมพิจารณาเพิ่มเติมในประเด็นดังต่อไปนี้ด้วย

1. ผู้อยู่ในข่ายจะได้รับการเสนอชื่อเพื่อขอรับพระราชทานอภัยโทษควรต้องให้ความสำคัญแก่ทัศนคติหรือความสำนึกผิดชอบชั่วดีในความผิดที่ตนได้กระทำลง และการกระตือรือร้นเต็มใจจะกลับตนเป็นพลเมืองดีของสังคมมากกว่าการเป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อยหรือไม่ก่อความวุ่นวายในระหว่างต้องโทษซึ่งโดยปกติผู้ต้องโทษต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้สำหรับผู้ต้องโทษอยู่แล้ว ซึ่งจะต้องพิจารณาเป็นรายกรณีไป และบุคคลดังกล่าวควรต้องรับโทษตามคำพิพากษาอันถึงที่สุดมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 และสัดส่วนการลดโทษนั้น ควรเสนอลดโทษไม่เกิน 1 ใน 4 ทั้งนี้ เพื่อให้การลงโทษอาญาแก่ผู้กระทำความผิดเป็นไปตามเจตนารมณ์ของหลักการลงโทษอาญาที่เป็นสากล และเพื่อรักษาความปลอดภัยของสังคม

2. ปรับปรุงกระบวนการจัดชั้นและเลื่อนชั้นนักโทษ การตรวจสอบรายชื่อ รวมทั้งพฤติกรรมที่แสดงให้เห็นถึงความสำนึกผิดชอบชั่วดีของผู้จะเสนอชื่อ เพื่อรับพระราชทานอภัยโทษ โดยให้พนักงานอัยการหรือศาลเข้ามามีส่วนร่วมในการประเมินพฤติกรรมและให้ความเห็นประกอบด้วย

3. ให้กระทรวงยุติธรรม กรมราชทัณฑ์ นำเสนอแนวปฏิบัติ ปรับปรุงกฎระเบียบตามข้อ 1, 2 นำเสนอให้ นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี ทราบโดยเร็วที่สุด ให้มีความพร้อมดำเนินการ อย่างมีประสิทธิภาพ รัดกุม รอบคอบ และโปร่งใส เพื่อไม่ให้เกิดเป็นข้อวิพากษ์วิจารณ์ขึ้นในสังคมเหมือนอย่างที่ผ่านมาเป็นอันขาด

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"บิ๊กต่าย" ฮึ่มใส่ลูกชาย"นายกเบี้ยว" อยู่ในสังคมยาก พฤติกรรมน่ารังเกียจ ขับรถไล่เบียดชนลุงป้าเจ็บ
"นายกฯ" ถึงร้องโอ้ว โซเชียลแชร์ภาพคู่ ลูกชาย "นายกเบี้ยว"
สัมพันธ์จีน-กัมพูชาแข็งแกร่ง หนุนกัมพูชารักษาเอกราชเชิงยุทธศาสตร์
จีน-มาเลเซียมุ่งมั่นสนับสนุน 'อาเซียน'
"นายกเบี้ยว" รุดเยี่ยม 2 ลุงป้า แจงติดต่อลูกชายไม่ได้ ปกติเป็นคนขับรถดีมาก
จีนเมิน 'เกมภาษี' ของสหรัฐฯ ชี้ไร้ค่า-พร้อมตอบโต้เด็ดขาด
"หาน จื้อเฉียง"ทูตจีนโต้สหรัฐฯ ขึ้นภาษีส่งออกกดดันโลก ชี้ไม่ใช่ความยุติธรรม แต่เป็นการใช้อำนาจบีบบังคับคู่ค้า
"อนุทิน" ลั่นชัดลูกใคร ทำผิดกม.โดนหมด ถาม"นายกเทศมนตรี"ใหญ่กว่ามหาดไทยมั๊ย!
ลุงป้าเปิดใจ หลังถูก "บีเอ็มป้ายแดง" ลูกนักการเมืองดัง ปาดหน้าจนเกิดอุบัติเหตุ เผยยกมือไหว้ก็ไม่ยอมจบ
โฆษกภูมิใจไทย แจง "เอกราช" สส.ขอนแก่น โดนศาลสั่งจำคุก 5 ปี 93 เดือน คดียักยอกเงินสหกรณ์ครู ไม่เกี่ยวข้องพรรคนานแล้ว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น