สธ.ห้ามรพ.เอกชนเก็บค่ารักษาผู้ป่วยโควิด ชี้ยังป่วยฉุกเฉิน

สธ.ห้ามรพ.เอกชนเก็บค่ารักษาผู้ป่วยโควิด ชี้ยังป่วยฉุกเฉิน จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงประกาศกระทรวง

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 65 นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ตามที่ สธ.ได้เตรียมการปรับให้ผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 (COVID -19) ให้ได้รับสิทธิการรักษาตามระบบปกติ เนื่องจากความรุนแรงของโรคโควิด-19 ลดลง ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถดูแลรักษาที่บ้านได้ โดยไม่จำเป็นต้องเข้าพักที่สถานพยาบาล ซึ่งจะช่วยให้การบริหารจัดการเตียงสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงจากโรคโควิด-19 หรือโรคอื่นๆ เป็นไปอย่างเหมาะสม

นพ.ธเรศ กล่าวว่า โดยคาดว่าจะมีการออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขเพื่อรองรับสิทธิการรักษาของผู้ป่วยโรคโควิด-19 ในช่วงเดือนมีนาคม 2565 แต่ในขณะนี้ กลับพบว่า มีสถานพยาบาลเอกชนบางแห่งที่มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนทำการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลจากผู้ป่วยโรคโควิด-19 หรือญาติ ซึ่งต้องขอชี้แจงว่า ในขณะนี้ ยังไม่มีเปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 แต่อย่างใด

นพ.ธเรศ กล่าวว่า ดังนั้น หากสถานพยาบาลเอกชนมีการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลจากผู้ป่วยโควิด-19 หรือญาติ ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกประกาศฉบับเดิม ก็จะถือว่ากระทำผิดพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) สถานพยาบาล พ.ศ.2541 ซึ่งผู้ประกอบกิจการและผู้ดำเนินการสถานพยาบาล จะต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

ข่าวที่น่าสนใจ

นพ.ธเรศ กล่าวว่า สำหรับการเปลี่ยนแปลง หรือออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับใหม่นั้น จะต้องมีการประชุมหารือร่วมกับ กองทุนสุขภาพทั้ง 4 กองทุน ประกอบด้วย กรมบัญชีกลาง สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำนักงานประกันสังคม (สปส.) และกองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ เสียก่อน เพื่อเตรียมความพร้อมของสถานพยาบาลตามสิทธิผู้ป่วย และสถานพยาบาลภาครัฐ ในการรองรับผู้ป่วยตามสิทธิ หรือผู้ป่วยที่มีปัญหาไร้สิทธิหรือสถานะได้อย่างเต็มศักยภาพ ทั้งนี้ สธ.จะดำเนินการจัดทำยูเซ็ป พลัส (UCEP Plus) ขึ้น เพื่อรองรับการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคโควิด-19 โดยเฉพาะ

นพ.ธเรศ กล่าวว่า ซึ่งจะกำหนดให้ผู้ป่วยด้วยโรคโควิด-19 ที่มีอาการฉุกเฉินวิกฤติเข้าข่ายสีเหลือง หรือสีแดง อาทิ ผู้ป่วยที่มีอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจซึ่งต้องใช้ออกซิเจน หรือผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการรักษาในหออภิบาลผู้ป่วยหนัก (ICU) สามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลกับสถานพยาบาลทุกแห่ง ส่วนผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการ หรือสีเขียว ก็จะมีการสนับสนุนให้รักษาแบบกักตัวอยู่ ณ ที่พัก (Home Isolation) กักตัวในชุมชน (Community Isolation) หรือสถานที่กักตัวในโรงแรม (Hotel Isolation) ต่อไป

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ยูเครนลั่นไม่ทำลายทุ่นระเบิดอ้างถูกรัสเซียรุกราน
ผบ.ตร.สั่งตรวจสอบดำเนินคดี “กลุ่มน้ำไม่อาบ” ทุกมิติ พร้อมเอาผิดตามหลักฐานคลิปที่ปรากฏ
ขุนเขา ‘ฮว่าซาน’ ่ของจีนสวยสะกดยามห่มหิมะขาว
ทหารพรานจัดกำลังตรวจค้นเก็บกู้บ่วงดักสัตว์ป่า
ผลักดัน ! แรงงานต่างด้าวมากกว่า 100 ราย ออกนอกประเทศ หวั่นเกรงมาสร้างความวุ่นวายในพื้นที่
เมืองคอนน้ำท่วมหนักหลายพื้นที่ หากผลไม่หยุดตกคืนนี้ตัวเมืองอ่วมอรทัยแน่นอน-ในเบื้องต้นนายอำเภอ,นายกเล็กฯจับมือศูนย์ข่าวนคร 24 ชั่วโมงสมาคมสื่อมวลชนและชมรมรถจิ๊ปลุยช่วยชาวบ้านแล้ว-เรียกร้องเจ้าพนักงานที่ดินเด้งตรวจสอบนายทุนถมลำคลองปิดกั้นทางน้ำว่าออกโฉนดที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
โซเชียลถามกลับ “พรรคส้ม” รู้ยังมีทหารไว้ทำไม? หลังเกิดเหตุการณ์ "กลุ่มว้าแดงและทหารไทย"
ผบ.สอ.รฝ.ประดับเครื่องหมายเลื่อนยศ นักรบต่อสู้อากาศยาน 46 นาย
‘สามารถ’ คอตกศาลไม่ให้ประกัน เตรียมส่งเข้าเรือนจำ ส่วน ‘แม่’ วางเงิน 5 แสนบาท ได้รับปล่อยตัว
"กองทัพภาคที่ 3" แถลงข่าวแจงพื้นที่ "กองกำลังว้าแดง" ตั้งฐานปฏิบัติการลุกล้ำไทย ยังไม่มีการสำรวจ หรือปักปันเขตแดน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น