คดีค้ามนุษย์ “โรฮิงญา” ปัญหาที่ซุกใต้พรม -ช่องทางนักการเมืองฉกสร้างผลงาน

คดีค้ามนุษย์ "โรฮิงญา" ปัญหาที่ซุกใต้พรม -ช่องทางนักการเมืองฉกสร้างผลงาน

ย้อนกลับไปเมื่อ ปี 2558 ทางการไทยพบค่ายกักกันโรฮิงญาที่เขาแก้ว จ.สงขลา ครั้งแรก ครั้งนั้นภาพของการเชื่อมโยงเส้นทางผ่านของขบวนการค้ามนุษย์ ในประเทศไทยชัดเจนยิ่งขึ้น เมื่อวันที่ 1 พ.ค.2558 มีการค้นพบแคมป์ที่พัก ซึ่งอยู่กลางป่าบนภูเขา พื้นที่ชายแดนรอยต่อไทย-มาเลเซีย อ.สะเดา จ.สงขลา เมื่อตรวจสอบโดยละเอียดพบว่าเคยเป็นสถานที่ควบคุมชาวโรฮิงญา ซึ่งทางการ คาดว่าเคยมีชาวโรฮิงญา มาพักเพื่อผ่านไปต่อประเทศที่สาม มากกว่า 10,000 คน นอกเหนือจากการค้นพบ “ที่พัก” แล้วยังมีการค้นพบ “หลุมศพ”ชาวโรฮิงญา 36 ศพ ถูกฝังไว้คาดว่าเสียชีวิตเพราะขาดอาหาร โดยยังพบร่องรอยถูกทำร้ายตามร่างกาย

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ส่ง พล.ต.ต.ปวีณ พงศ์สิรินทร์ รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 8 ในขณะนั้น ลงมาสืบสวน และสืบคดีจนพบว่านี่คือขบวนการขนาดใหญ่ มีทั้งพลเรือน ตำรวจ ทหาร และนักการเมืองท้องถิ่นเข้ามาเกี่ยวข้อง พล.ต.ต.ปวีณ ทำเอกสารมหาศาลมากกว่า 1 แสนหน้า รัดกุมทุกมิติ จนคนร้ายไม่สามารถดิ้นได้ ก่อนจะออกหมายจับผู้ต้องหาทั้งหมด 155 คน (เสียชีวิตไปแล้ว 2 คน เหลือ 153 คน) โดยในจำนวนนี้ หลายคนเข้ามามอบตัว แต่บางคนก็ทำการหลบหนี หนึ่งในบุคคลที่เป็นตัวละครสำคัญของเรื่องนี้ คือ พล.ม. มนัส คงแป้น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก ที่เป็นหนึ่งในหัวหน้าทีมค้ามนุษย์ โดยศาลตัดสินให้เขา มีความผิดฐานค้ามนุษย์ จำคุก 82 ปี และ มีความผิดฐานฟอกเงิน มีความผิด 20 ปี การโดนลงโทษของผู้ใหญ่ในกองทัพ ทำให้ฝั่งทหารมีความเสื่อมเสียอย่างมาก

พล.ต.ต.ปวีณ อธิบายว่า ขบวนการค้ามนุษย์ใหญ่ขนาดนี้ มีการขนคนเข้าน่านน้ำไทยจำนวนมากระดับพันกว่าคน แต่จับนายทหารได้แค่ไม่กี่คน ดังนั้นมีโอกาสเป็นไปได้ ที่จะมีคนอยู่เบื้องหลัง พล.ท.มนัสอีก เพราะนายทหารคนเดียว จะคุมทั้งทะเลอันดามัน ไม่น่าจะเป็นไปได้ หลังจากติดคุกได้ระยะหนึ่ง พล.ท.มนัส คงแป้น ผู้ต้องหาคนสำคัญกลับเสียชีวิตด้วยภาวะหัวใจล้มเหลวที่โรงพยาบาลราชทัณฑ์ สังคมจึงเกิดคำถามว่า มีการฆ่าตัดตอนใดๆ หรือไม่ แต่นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรม อธิบายว่า พล.ท.มนัส เสียชีวิตด้วยโรคประจำตัว และโรงพยาบาลก็มีกล้องวงจรปิด ไม่ได้มีอะไรแอบแฝง หรือเสียชีวิตอย่างปริศนาตามที่ถูกกล่าวอ้างแต่อย่างใด

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ หลังจากทำคดีค้ามนุษย์ ได้ 6 เดือน พล.ต.ต.ปวีณ กลับถูกโยกย้ายให้ไปปฏิบัติราชการในจังหวัดชายแดนใต้ เจ้าตัวมองว่านี่คือเหตุการณ์ผิดปกติ และอาจมีการเพ่งเล็งเพื่อลอบสังหารเขาก็เป็นได้ เนื่องจากไปขัดกับผู้มีอิทธิพลในเรื่องผลประโยชน์จากการค้ามนุษย์โรฮิงญา สุดท้าย พล.ต.ต.ปวีณ จึงลาออกจากราชการ แล้วบินหนีไปที่สิงคโปร์ ก่อนจะขอลี้ภัยไปอยู่ออสเตรเลียในที่สุด โดยก่อนหน้านี้ พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ในขณะนั้น) กล่าวถึง พล.ต.ต.ปวีณว่า ท่านไปอ้างว่าท่านทำงานเยอะ คดีเยอะ ศัตรูเยอะ แล้วเจ้าหน้าที่ตำรวจที่จับโจรมาตลอดชีวิต ผมเองก็จับโจรมาเยอะก็ยังเดินลอยหน้าลอยตาได้ ไม่เห็นมีใครมายิงผมเลย … ผมรับราชการมาทั้งชีวิต เพิ่งเคยเห็นตำรวจลี้ภัย เคยเห็นแต่นักการเมืองลี้ภัย เพิ่งเคยเจอครั้งนี้ที่ขอลี้ภัย ตกใจเหมือนกัน

 

ผู้สื่อข่าวท็อปนิวส์ โทรศัพท์ไปสอบถาม พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ซึ่งบอกเพียงสั้น ๆ ว่า ไม่ได้ยุ่งเกี่ยวอะไรกับคดีนี้แล้วเพราะเกษียณอายุราชการแล้ว ขณะเดียวกับทีมข่าวท็อปนิวส์ ได้โทรศัพท์ สอบถาม พล.ต.อ.เอก อังสนานนท์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.) ที่รับผิดชอบด้านการค้ามนุษย์ ได้รับทราบว่า พล.ต.อ.เอก เดินทางไปประเทศดูไบ

สำหรับ โรฮิงญา คือ กลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งที่นับถืออิสลาม ส่วนใหญ่อาศัยในรัฐยะไข่ ทางตะวันตกของพม่า ในขณะที่โรฮิงญาอ้างว่าพวกเขาอาศัยในประเทศพม่ามาหลายชั่วอายุคน แต่รัฐบาลพม่าจะตอบโต้เสมอว่าจริงๆแล้ว โรฮิงญาเป็นคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย และไม่ยอมรับว่าเป็นพลเมือง พม่าเคยระบุไว้ในปี 2535 ว่าพม่ามี 135 ชาติพันธุ์ในประเทศ แต่โรฮิงญาไม่ใช่หนึ่งในนั้น นั่นทำให้ชาวโรฮิงญาไม่ได้รับสวัสดิการจากรัฐ ทั้งการรักษาพยาบาลและการศึกษา ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของชาวโรฮิงญาตกต่ำลงเรื่อยๆ รัฐบาลพม่ากระทำการรุนแรงกับชาวโรฮิงญาในรัฐยะไข่บ่อยขึ้น ทำให้ชาวโรฮิงญาจำนวนมากหนีภัยสงครามอพยพย้ายถิ่นฐานไปประเทศอื่นโดยล่องเรือผ่านทางทะเลอันดามัน เพื่อไปเริ่มต้นชีวิตใหม่ ในแผ่นดินไทย หรือในแผ่นดินมาเลเซีย

ข้อมูลระหว่างปี 2549 – 2554 ระบุว่า มีโรฮิงญาที่ลักลอบอพยพเข้าสู่ประเทศไทย แล้วโดนทางการจับได้มากกว่า 15,000 คน โดยโรฮิงญาเหล่านี้ ไม่ถูกมองว่าเป็นผู้ลี้ภัย แต่เป็นผู้ลักลอบเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย ดังนั้นรัฐบาลจึงมีวิธีตอบโต้ 2 วิธี คือถ้าโรฮิงญาขึ้นแผ่นดินได้แล้ว จะส่งต่อให้ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองดำเนินคดี แต่ถ้าโรฮิงญาลอยอยู่บนน้ำ ภาครัฐจะให้อาหาร น้ำ เชื้อเพลิง และผลักดันออกจากชายฝั่งไทยต่อไป ปัญหาของโรฮิงญาที่รัฐบาลไทยแก้ไม่ได้ คือพวกเขาไม่ถูกรับรองสัญชาติจากใครเลย จะส่งคืนให้พม่า พม่าก็ไม่ยอมรับว่าเป็นพลเมืองของตัวเอง ดังนั้นสิ่งที่รัฐบาลไทยจะทำได้ คือต้องกักกันไว้ในพื้นที่พิเศษ สำหรับผู้ลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมายที่รอการผลักดันกลับเพียงแค่นั้น เรื่องนี้กลายเป็นปัญหาที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก กล่าวคือฝั่งไทยส่งคืนใครก็ไม่ได้ และไม่สามารถรับมาเป็นพลเมืองไทยได้เช่นกัน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ปลาหมอคางดำ" แก้เป็นระบบเดินหน้าครบ 5 มาตรการ จบปัญหา หนุนคืนความสมดุลสู่ระบบนิเวศ 
ผลงานชิ้นโบว์แดง "หิมาลัย" เผย "พีระพันธุ์-เอกนัฏ" ผสานกำลังปลดล็อก "โซลาร์รูฟท็อป" ได้สำเร็จ
“อรรถวิชช์-พงศ์พล-ฐิติภัสร์” พร้อมใจโพสต์ปกป้อง “พีระพันธุ์-เอกนัฏ” หลังสื่อทำเนียบตั้งฉายา “พีระพัง” ลั่นพร้อมพังทุกรูปแบบการโกงกิน
"การรถไฟฯ" ออกแถลงการณ์ ยันเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ "ที่ดินเขากระโดง" เดินหน้าทวงคืนตามกม. ไม่ใช่ละเมิดสิทธิปชช.
‘อี้ แทนคุณ’ พาเหยื่อร้องปคม. ถูกหลอกข้ามแดนลวงเปิดบัญชีม้า หลังพบมีหมาย 450 คดี
คืนส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2568 รถไฟฟ้าบีทีเอส - สายสีทอง ขยายเวลาให้บริการถึงตี 2
“เพื่อไทย” จัดเต็ม ชาวเชียงใหม่เรือนหมื่นแห่ฟัง “ทักษิณ” สว.ก๊องมั่นใจ พ่อใหญ่แม้วช่วยหาเสียงชนะแน่
ชาวบ้านทรุดก้มกราบ “ทักษิณ” ขอปรึกษาปัญหาชีวิต การ์ดรีบยกตัวออก
เกมแล้ว! หนุ่มแต่งรถประดับไฟสี ธีมคริสต์มาส ขับเฉิดฉายทั่วถนน ปรับฉ่ำๆ 2 ข้อหา
แจ้ง 4 ข้อหาหนัก 'อส.เมากร่าง' ยิงสนั่นกลางร้านข้าวต้ม ดับ 2 ศพ เปิดวงจรปิดอีกมุม เห็นวินาทีก่อเหตุชัด

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น