หลังจากมีกระแสข่าวในสังคมออนไลน์แชร์เรื่องราวถึงผู้ป่วยโควิด โพสต์ข้อความบอกเล่าถึงการเข้ารับการรักษาเนื่องจากติดโควิด 19 ในโรงพยาบาลเอกชนแต่กลับถูกเรียกค่ารักษาพยาบาล กรณีดังกล่าวทีมข่าวท็อปนิวส์ ได้สัมภาษณ์ นพ.เฉลิม หาญพาณิชย์ นายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงว่า จริง ๆ แล้วเมื่อผู้ป่วยโควิดเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเอกชน จะต้องเสียค่าใช้จ่ายตามที่ปรากฎเป็นข่าวหรือไม่
นพ.เฉลิม ยืนยัน รพ.เอกชนไม่มีการเรียกเก็บค่ารักษาโควิด เหตุรัฐยังไม่ยกเลิกยูเซปโควิด หากมีการเรียกเก็บประชาชนสามารถร้องเรียนขอเงินคืนได้ ยอมรับสถานการณ์โควิดขาขึ้นคนไข้ตึงมือ แม้เน้นระบบ HIและฮอทพิเทล
ข่าวที่น่าสนใจ
นพ.เฉลิม ระบุ ยังไม่พบข้อร้องเรียนว่ามี รพ.ในสังกัด ทั้ง 338 แห่งเรียกเก็บค่ารักษาโควิด-19 เนื่องจากรัฐบาลยังไม่ได้ยกเลิกหลักเกณฑ์ “ยูเซปโควิด” ที่ประชาชนมีสิทธิ์รักษาฟรี ทุกโรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชนที่รัฐบาลเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายให้ ในราคากลางที่ สปสช.และภาคีกำหนดร่วมกัน โดยเฉพาะกรุงเทพและปริมณฑล ที่เอกชนเป็นผู้ดูแลเกือบทั้งหมดแต่หากมีการยกเลิกยูเซปโควิด จะเป็นอีกเรื่องหนึ่ง และหากพบมี รพ.เอกชนหรือสถานพยาบาลเรียกเก็บเงินประชาชนสามารถร้องเรียนและขอเงินคืนได้จากรพ.ที่เข้ารักษาในกรณีที่ไม่สามารถตกลงได้ก็ทำหนังสือที่กรมสนับสนุนบริการสุขภาพได้ หลังจากนั้นโรงพยาบาลดังกล่าวจะต้องได้รับการสอบสวนตามข้อกฎหมายและทำการคืนเงินให้กับประชาชน
ส่วนสถานการณ์เตียงของรพ.เอกชนที่ใช้รองรับโควิด-19 นั้น นพ.เฉลิม ระบุโรงพยาบาลเอกชนในสังกัดมีอยู่ประมาณ4หมื่นเตียงยอมรับว่ามีคนไข้ค่อนข้างแน่น เพราะมีผู้ติดเชื้อสูงจึงทำให้เตียงในโรงพยาบาลเต็มเกือบหมดแต่จะว่างอยู่บ้างในเตียงผู้ป่วยหนักและถึงแม้อัตราจะไม่ร้ายแรงเท่ากับสายพันธุ์เดลต้าแต่มีฐานการระบาดที่มากกว่า แตืรพ.เอกชนยังมีเครื่องมือฮอทพิเทลอยู่จึงทำให้ยังพอที่จะดูแลผู้ป่วยได้
นายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชนยังชี้แจงการใช้ ATK ในการเข้ารักษา ว่ายังไม่สามารถใช้เพียงอย่างเดียวได้ ต้องมีผลRT-PCRยืนยันในการเข้ารักษาในโรงพยาบาล เนื่องจากยังไม่แม่นยำร้อนเปอร์เซ็นต์หากผลATKเป็นผลลวงและนำผู้ป่วยไปปะปนกับผู้ติดเชื้อเลย โรงพยาบาลอาจมีโอกาสถูกฟ้องร้องได้ นอกจากเป็นกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยสีเขียวที่เข้าสู่ระบบการรักษาแบบHome Isolation(Hl)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
-