วันที่ 7 มี.ค. 2565 ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ได้มีการโพสต์เฟซบุ๊กระบุว่าจากประสบการณ์ของผมที่เคยมีคดีกว่า 20 คดี “การพูดความจริง” เป็นสิ่งที่ดีที่สุด หากเริ่มต้นด้วยการโกหกในชั้นตำรวจ ก็ต้องโกหกต่อไปในชั้นอัยการ ศาล เมื่อมีคดีความเกิดขึ้นทุกคนต้องการเอาตัวรอด โดยเฉพาะคดีดังๆ ที่อยู่ในกระแสสนใจของสังคม ไม่ว่าคดีลุง คดีหวย หรือคดีที่ทุกคนสนใจในขณะนี้ มักเกิดความเครียดทำให้มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเลือกไม่พูดความจริง หรือพูดความจริงผสมความเท็จ แต่คดีที่มีผู้เกี่ยวข้องเกิน 2 คน หากเลือกจะโกหกแล้ว ก็ต้องโกหกให้เหมือนกัน ซึ่งเป็นไปไม่ได้ เพราะจะต้องมีคนใดคนหนึ่ง “หลุด” ยิ่งบางคดีดันมีกันตั้ง 5 คน ตอนแรกก็ร่วมมือเตี๊ยมกันโกหกอย่างดี แต่พอตอนหลังเห็นท่าไม่ดี จะมีคนพูดเพื่อเอาตัวรอดตามสันดานของคนมีคดีที่มัก “โทษคนตาย” ไม่ยอมรับว่าตัวเองผิด
‘ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์’ ให้ความเห็นว่า เมื่อโกหกแล้ว ต้องโกหกตลอดไป จากประสบการณ์ของผมที่เคยมีคดีกว่า 20 คดี "การพูดความจริง"
ข่าวที่น่าสนใจ
นี่เป็นเพราะตอนเกิดเหตุตกใจ เลยไปขอ “คำแนะนำ” จาก “ผู้รู้” แท้ๆ ถึงได้คำโกหกที่ไม่สมเหตุสมผล ไม่มีตรรกะ ตอนนี้ความซวยกำลังจะมาเยือน หากมีใครคนใดคนหนึ่งเกิดกลัวยอมพูดความจริงขึ้นมา จากเดิมที่จะไม่ติดคุกเพราะเป็นแค่คดีประมาท คราวนี้จะติดคุกเอา เพราะข้อหาให้การเท็จ ส่วนคนที่เหลือแม้จะนั่งยันนอนยันว่าที่พูดมาก่อนหน้านี้เป็นความจริงแล้ว ท้ายสุดก็จะโยนกันไปมาพากันลงเหวหมด ถ้าพูดความจริงเสียตั้งแต่แรก คงไม่ซวยแบบนี้ เพราะการพูดความจริง จะให้พูดอีกกี่ครั้งก็ย่อมเหมือนกันทุกครั้ง แต่หากเลือกพูดโกหก ก็ต้องโกหกตลอดไป เอาตามสุภาษิตผมดีกว่า “สู้ติดแน่ แพ้ติดนาน สารภาพติดพอประมาณ”
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
-