ศบค.เผยไทม์ไลน์ 4 ระยะโควิดโรคประจำถิ่น คาดเริ่มได้ 1 ก.ค.

ศบค.เผยไทม์ไลน์ 4 ระยะโควิดโรคประจำถิ่น คาดเริ่มได้ 1 ก.ค. ยัน เจอ แจก จบ ยังรองรับได้

เมื่อเวลา 12.30 น.วันที่ 18 มีนาคม 2565 ที่ทำเนียบรัฐบาล นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. แถลงภายหลังการประชุม ศบค.ชุดใหญ่ ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะผอ.ศบค.เป็นประธาน ว่า ปลัดกระทรวงสาธารณสุขได้รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศไทย พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 27,071 ราย เป็นการติดเชื้อในประเทศ 26,919 ราย มาจากระบบเฝ้าระวังและระบบบริการ 26,826 ราย มาจากการค้นหาเชิงรุก 93 ราย มาจากเรือนจำ 103 ราย เป็นผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ 49 ราย ทำให้มียอดผู้ติดเชื้อสะสมยืนยันตั้งแต่ปี 2563 จำนวน 3,303,169 ราย หายป่วยเพิ่มขึ้น 21,522 ราย ทำให้มียอดหายป่วยสะสมตั้งแต่ปี 2563 จำนวน 3,048,491 ราย อยู่ระหว่างรักษา 230,603 ราย อาการหนัก 1,391 ราย ใส่ท่อช่วยหายใจ 511 ราย เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 80 ราย เป็นชาย ราย หญิง ราย เป็นผู้เสียชีวิตที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ราย มีโรคเรื้อรัง ราย ทำให้มียอดผู้เสียชีวิตสะสมตั้งแต่ปี 2563 จำนวน 24,075 ราย ขณะที่สถานการณ์โลก มียอดผู้ติดเชื้อสะสม 466,472,159 ราย เสียชีวิตสะสม 6,087,899 ราย

 

ข่าวที่น่าสนใจ

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า ในที่ประชุมได้มีการรายงานผลการดำเนินการ “เจอ แจก จบ” ระหว่างวันที่ 1-13 มี.ค. มีจำนวนผู้รับบริการสะสม 207,534 ราย เฉลี่ยต่อวัน 15,964 ราย ส่วนใหญ่ผู้รับยาจะรับยาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ ยาแก้ไข 52% ยาฟ้าทะลายโจร 24% ยาฟาวิพิราเวียร์ 26% ยืนยันว่าระบบของเรายังอยู่ได้ ถ้าอาการไม่มากให้ใช้ยาแก้ไข้ แก้ไอ นอกจากนี้ ยังมีการรายงานมาตรา USEP Plus ให้ที่ประชุมรับทราบว่า ผู้ป่วยสีเขียวจะให้รักษาที่บ้าน สถานแยกกักในชุมชน ฮอตพิเทล ซึ่งมีประมาณ 90% ผู้ป่วยสีเหลืองรักษาที่โรงพยาบาลสนาม โรงพยาบาลหลัก มีประมาณ 10% และผู้ป่วยสีแดง รักษาที่โรงพยาบาลหลัก มีจำนวนน้อยกว่า 1%

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า ในที่ประชุมยังมีการรายงานถึงแผนบริหารจัดการสถานการณ์ให้โควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น แบ่งเป็น 4 ระยะ ขณะนี้เราอยู่ในระยะที่ 1 คือ ต้องต่อสู้กับโรค ถ้าช่วงต้นเดือน เม.ย.เราช่วยกันอย่างดีจะเข้าสู่ระยะที่ 2 คือ ระยะทรงตัว จากนั้นตัวเลขจะค่อยลดลงตามการคาดการณ์ในปลายเดือน พ.ค. จนถึง 30 มิ.ย. ถ้าการคาดการณ์เป็นจริงวันที่ 1 ก.ค.เป็นต้นไป โควิด-19 จะกลายเป็นโรคประจำถิ่น ซึ่งนายกฯเห็นชอบตรงนี้

“แต่แผนคือแผน ส่วนสถานการณ์จริงในวันที่ 1 ก.ค.จะเป็นอย่างไร คนกำหนดชี้วัดคือประชาชนทั้งประเทศ อย่างไรก็ตาม เป้าหมายการบริหารจัดการสถานการณ์โควิด-19 สู่โรคประจำถิ่นนั้น การเข้าถึงการดูแลรักษาได้อย่างรวดเร็ว อัตราการป่วยตายไม่เกินร้อยละ 0.1 มีการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นมากกว่าหรือเท่ากับ 60% สร้างความรับรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง และความร่วมมือประชาชนในการปรับตัว” โฆษก ศบค. กล่าว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ชาวสัตหีบ ผวา กลัวคนร้ายมีมนต์สะกดให้หลับ ก่อเหตุ 2 ครั้ง ฉกโทรศัพท์ 8 เครื่อง ในศาลาสวดศพวัดเทพประสาท
รพ.สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติฯ ทำ MOU บริษัท ไวท์พลาย ยกระดับการให้บริการสุขภาพ ตอบสนองต่อแผนยุทธศาสตร์ ในเรื่อง Smart Hospital และนโยบาย ผบ.ทร.
ตำรวจภูธรภาค 2 ผนึกกำลังเปิดปฏิบัติการ ล้างบางปรสิต กำจัดอาชญากรข้ามชาติ
ตำรวจแจ้งเอาผิด 4 ข้อหาหนัก ก่อนฝากขัง "คนร้าย" ยิง 3 ศพ หนองบัวลำภู
รวมพลอริเก่า! ลงขันล่า “ตั้ม แดน 3” จ้างซามูไรในคุก รับจบข้ามแดน
“วราวุธ” สั่ง พม. เปิดวอร์รูมศบปภ. เร่งขับเคลื่อนช่วยกลุ่มเปราะบาง น้ำท่วมภาคใต้
"พิชัย" นำทีมพณ.หารือ "สหพันธ์ขนส่งฯ" แลกมุมมองพัฒนาธุรกิจโลจิสติกส์ไทยให้เข้มแข็ง
จีนขู่จะบดขยี้ผู้พยายามประกาศเอกราชไต้หวัน
"รมว.ปุ๋ง" ขึ้นเหนือชวนนักท่องเที่ยวแอ่วลำปาง-ลำพูน ยกย่องชุมชนคุณธรรมฯ ท่ามะโอ-วัดพระธาตุลำปางหลวง
“โฆษกดีเอสไอ” แจงชัด ไม่มีเอี่ยวภาพเอกสารพ่วงตราดีเอสไอ กล่าวหาผู้บริหารปตท. พัวพันทุจริตฟอกเงิน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น