“ประกันสังคม จ่ายชดเชย” ม. 33 39 40 กรณีไหน รับเงิน เท่าไหร่

ล่าสุด "ประกันสังคม จ่ายชดเชย" ทุกมาตรา กรณีไหน รับเงิน เท่าไหร่ เช็คที่นี่ ผู้ประกันตน ม.33 ม.39 ส่งเงินต้องรู้ กี่เดือนใช้สิทธิได้

อัปเดต “ประกันสังคม จ่ายชดเชย” ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโควิดสายพันธุ์ใหม่ Omicron (โอไมครอน หรือ โอมิครอน) ที่น่ากังวลมากที่สุดเวลานี้ และแม้ โควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ ๆ เกิดขึ้นอยู่เรื่อย ๆ แต่ชาวประกันสังคมไม่ต้องหวั่นใจไป เพราะ สำนักงานประกันสังคม พร้อมจ่าย ชดเชย ให้ทุกมาตรา รับเงินกรณีไหน เท่าไหร่ TOP News รวบรวมมาให้แล้ว เช็คครบจบที่นี่

ข่าวที่น่าสนใจ

มาตรา 33

  • กรณีลาป่วย : รับค่าจ้าง 30 วันแรก จากนายจ้าง
  • หยุดรักษาตัว เกิน 30 วัน : สามารถเบิกสิทธิประโยชน์กรณีขาดรายได้ จากประกันสังคม นับตั้งแต่วันที่ 31 ของการลาป่วย โดยได้รับเงินทดแทนร้อยละ 50 ของค่าจ้างจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท โดยได้รับครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน เว้นแต่โรคเรื้อรังไม่เกิน 365 วัน

มาตรา 39

  • รับเงินทดแทน ขาดรายได้ร้อยละ 50
  • คิดจากฐานอัตราการนำส่งเงินสมทบ (4,800 บาท) : ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน เว้นแต่โรคเรื้อรังไม่เกิน 365 วัน ยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส. 2-01)

* ประกันสังคม จ่ายชดเชย ม.33 ม.39 จะพิจารณาจากเอกสารหลักฐาน และใบรับรองแพทย์ และผู้ประกันตนต้องมีการนำส่งเงินสมทบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนวันรับบริการทางการแพทย์ ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขฯ

มาตรา 40

  • รับเงินทดแทนขาดรายได้ตามทางเลือก 1 – 2 – 3
  • ต้องนำส่งสมทบ 3 เดือน : ภายในระยะเวลา 4 เดือน ก่อนเดือนที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย พิจารณาจากเอกสารหลักฐาน และใบรับรองแพทย์ ยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส. 2-01/ม.40)

ประกันสังคม จ่ายชดเชย

“ประกันสังคม จ่ายชดเชย” ผู้ประกันตนตามแต่ละมาตราจะได้รับสิทธิประกันสังคมไม่เหมือนกัน คือ

  • มาตรา 33 คุ้มครอง 7 กรณี
  • มาตรา 39 คุ้มครอง 6 กรณี

เงื่อนไขการคุ้มครอง

กรณีเจ็บป่วย

  • ส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า 3 เดือน
  • ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนเจ็บป่วย

กรณีคลอดบุตร

  • ส่งเงินสมทบครบ 5 เดือน
  • ภายใน 15 เดือน ก่อนเดือนที่คลอดมีสิทธิ์ได้รับค่าคลอดบุตรโดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง

กรณีทุพพลภาพ

  • ส่งเงินสมทบครบ 3 เดือน
  • ภายใน 15 เดือน ก่อนเดือนที่ทุพพลภาพ

กรณีตาย

  • ส่งเงินสมทบครบ 1 เดือน
  • ภายใน 6 เดือน ก่อนถึงแก่ความตาย

กรณีสงเคราะห์บุตร

  • ส่งเงินสมทบครบ 12 เดือน
  • ภายใน 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน

กรณีชราภาพ

  • บำเหน็จชราภาพ
  1. กรณีจ่ายเงินสมทบต่ำกว่า 12 เดือน จะได้รับเงินบำเหน็จ เท่ากับจำนวนเงินสมทบเฉพาะส่วนของผู้ประกันตน
  2. กรณีจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ครบ 180 เดือน จะได้รับเงินบำเหน็จเท่ากับจำนวนเงินสมทบส่วนของผู้ประกันตน + นายจ้าง พร้อมผลประโยชน์ทดแทนตามที่กำหนด
  • บำนาญชราภาพ
  1. ได้รับบำนาญชราภาพร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย หากมีการจ่ายเงินสมทบเกินกว่า 180 เดือน จะปรับเพิ่มขึ้นให้อีกร้อยละ 1.5 ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบครบ ทุก 12 เดือน
    กรณีว่างงาน (ม.33)
  2. ส่งเงินสมทบครบ 6 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนว่างงาน

ประกันสังคม จ่ายชดเชย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน
สถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองฯ ชาติพันธุ์ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว
ผบ.ตร.สั่งสอบคลิปแก๊งต่างด้าว แสดงพฤติกรรมเย้ยกม. กำชับคุมเข้ม ใช้ยาแรง

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น