“โควิด omicron” 5 กลุ่มโรคเสี่ยง เปิดวิธีป้องกันยังไงให้รอด

"โควิด omicron" 5 กลุ่มโรคเสี่ยง ป้องกันอย่างไรให้รอดตลอดซีซั่น รู้ทันความเสี่ยง รู้ทันวิธีป้องกัน หลังกระทรวงสาธารณสุข เผยแล้ว เช็คก่อนได้ที่นี่เลย

“โควิด omicron” อาการ โค วิด 5 กลุ่มโรคเสี่ยง จะป้องกันอย่างไรให้รอด งานนี้ กระทรวงสาธารณสุข เผยแล้ว หลังสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศ ยังคงน่ากังวลอยู่ไม่ใช่น้อย ในแต่ละวันยังพบผู้ติดเชื้อหลักหมื่นราย ทำให้ทางด้านกลุ่มผู้ป่วยโรคกลุ่มเสี่ยงมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก และจะมีวิธีการป้องกันอย่างไรให้ปลอดภัย เช็คได้ก่อนที่นี่ TOP News 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

“โควิด omicron” อาการ โค วิด โอไมครอน โอมิครอน ในตอนนี้สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ในประเทศไทย ยังพบผู้ติดเชื้อหลักหมื่นรายอยู่เรื่อย ๆ หนำซ้ำยอดผู้เสียชีวิตก็ยังพุ่งขึ้นสูงอีก ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างออกมารณรงค์ให้ประชาชนเข้ารับการฉีดวัคซีนไม่ว่าจะเป็น เข็ม 1 เข็ม 2 เข็ม 3 หรือ เข็มบูสเตอร์ เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกายนั่นเอง นอกจากนั้นหลายคนก็ยังให้ความสนใจในเรื่องของผู้ป่วยในกลุ่มโรคเสี่ยงด้วยเช่นกัน เพราะกลุ่มคนเหล่านี้ล้วนมีอาการเปราะบางเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย และจะมีวิธีการป้องกันอย่างไร ทางด้าน ศูนย์ข้อมูล COVID-19 ได้ประชาสัมพันธ์ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขแล้ว

กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด

ความเสี่ยง

  • การติดเชื้อโควิดมักทำให้ป่วยรุนแรง หัวใจทำงานหนักขึ้น เพราะออกซิเจนต่ำลงจากภาวะปอดบวมเสี่ยงต่อภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลายอวัยวะและหัวใจขาดเลือด รวมถึงกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนล้าบีบตัวน้อยลง

วิธีป้องกัน

  • กินยาตามแพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ
  • คอยสังเกตอาการ เช่น หายใจติดขัด เจ็บหน้าอก หรือ หัวใจเต้นผิดปกติหรือไม่
  • เลิกสูบบุหรี่
  • สวมหน้ากาก เว้นระยะห่าง หมั่นล้างมือ ฉีดวัคซีน

โควิด omicron

กลุ่มโรคหลอดเลือดสมอง

ความเสี่ยง

  • เชื้อโควิดเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะลิ่มเลือดอุดตันมากกว่าคนทั่วไป

วิธีป้องกัน

  • ตรวจวัดความดันเลือดสม่ำเสมอ
  • ควบคุมน้ำหนัก ระดับไขมันน้ำตาลในเลือด
  • เลิกสูบบุหรี่
  • เลี่ยงอาหารรสเค็ม ไขมันสูง
  • ออกกำลังกายอย่างน้อย 5 วัน/สัปดาห์ วันละ 30 นาที
  • สวมหน้ากาก เว้นระยะห่าง หมั่นล้างมือ ฉีดวัคซีน

โควิด omicron

กลุ่มโรคมะเร็ง

ความเสี่ยง

  • ผู้ป่วยมะเร็งมีภูมิคุ้มกันต่ำกว่าคนทั่วไป หากติดเชื้อเสี่ยงป่วยรุนแรง

วิธีป้องกัน

  • รับวัคซีนได้ถ้ามีอาการคงที่หรืออยู่ในระยะหายจากโรค แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเพราะอาจต้องปรับยาบางชนิด
  • ออกกำลังกายที่พอเหมาะ และทำเองได้ที่บ้าน
  • สวมหน้ากาก เว้นระยะห่าง หมั่นล้างมือ ฉีดวัคซีน

โควิด omicron

กลุ่มโรคปอด

ความเสี่ยง

  • ปอดของผู้ป่วยมีการทำงานน้อยกว่าคนปกติ หากติดเชื้อ ตัวเชื้อจะทำลายปอดส่วนที่เหลือทำให้ป่วยหนัก ระบบหายใจล้มเหลว และหากหายแล้วแต่เนื้อปอดโดนทำลายไปมาก อาจต้องใช้ออกซิเจนต่อที่บ้าน

วิธีป้องกัน

  • ฝึกหายใจเพิ่มสมรรถนะปอดและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อช่วยหายใจ
  • เลิกพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การสูบบุหรี่
  • สวมหน้ากาก เว้นระยะห่าง หมั่นล้างมือ ฉีดวัคซีน

โควิด omicron

กลุ่มโรคไตเรื้อรัง

ความเสี่ยง

  • ผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันต่ำกว่าคนทั่วไปทำให้ติดเชื้อง่ายและเสี่ยงป่วยรุนแรง

วิธีป้องกัน

  • ผู้ป่วยที่ฟอกเลือดควรพบแพทย์ตามนัดหมาย
  • ผู้ป่วยปลูกถ่ายไตควรสำรองยาไว้อย่างน้อย 2 – 4 สัปดาห์
  • หากกินยากดภูมิคุ้มกันรับวัคซีนได้ แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อน
  • สวมหน้ากาก เว้นระยะห่าง หมั่นล้างมือ ฉีดวัคซีน

โควิด omicron

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน
สถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองฯ ชาติพันธุ์ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น