“นิด้าโพล” ชี้ ปชช.ยังหาคนที่เหมาะสม นั่งนายกฯไม่ได้ขึ้นอันดับ 1

"นิด้าโพล" ชี้ ปชช.ยังหาคนที่เหมาะสมนั่งนายกฯไม่ได้ขึ้นอันดับ 1 ขณะพิธา อันดับ 2 บิ๊กตู่มาที่ 3 อุ้งอิ๊ง ติดโผอันดับ 4 ขณะที่ประชาชนไม่ตัดสินใจหนุนพรรคการเมืองขึ้นที่ 1

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมือง รายไตรมาส ครั้งที่ 1/2565” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 10-15 มีนาคม 2565 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 2,020 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการสำรวจคะแนนนิยมทางการเมือง การสำรวจอาศัย การสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

จากการสำรวจเมื่อถามถึงบุคคลที่ประชาชนจะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีในวันนี้ พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 27.62 ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้ อันดับ 2 ร้อยละ 13.42 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) เพราะ เป็นคนตรงไปตรงมา ชื่นชอบในวิธีการทำงาน มีวิสัยทัศน์และแนวคิดแบบคนรุ่นใหม่ ขณะที่บางส่วนระบุว่า ต้องการให้คนรุ่นใหม่เข้ามาบริหารประเทศ อันดับ 3 ร้อยละ 12.67 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เพราะ เป็นคนซื่อสัตย์และสุจริต ทำให้บ้านเมืองเกิดความสงบ นโยบายสามารถช่วยเหลือประชาชนได้จริง ขณะที่บางส่วนระบุว่า จะได้บริหารประเทศอย่างต่อเนื่อง อันดับ 4 ร้อยละ 12.53 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊งค์) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) เพราะ ต้องการเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่เข้ามาบริหารประเทศ ชื่นชอบผลงานในอดีตของตระกูลชินวัตร อันดับ 5 ร้อยละ 8.22 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย) เพราะ ชื่นชอบนโยบาย มีประสบการณ์ในการบริหารประเทศ อันดับ 6 ร้อยละ 7.03 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (พรรคเสรีรวมไทย) เพราะ เป็นคนชัดเจน เด็ดขาด ตรงไปตรงมา มีความมุ่งมั่นในการทำงาน อันดับ 7 ร้อยละ 3.96 ระบุว่าเป็น นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว (พรรคเพื่อไทย) เพราะ เป็นคนเก่ง ตรงไปตรงมา และตั้งใจทำงาน

อันดับ 8 ร้อยละ 3.61 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ อันดับ 9 ร้อยละ 2.77 ระบุว่าเป็น นายกรณ์ จาติกวณิช (พรรคกล้า) เพราะ เป็นคนที่มีความรู้ ความสามารถ มีความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ ขณะที่บางส่วนระบุว่า เป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับจากต่างชาติ อันดับ 10 ร้อยละ 2.58 ระบุว่าเป็น นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ (พรรคประชาธิปัตย์) เพราะ เป็นคนที่มีความซื่อสัตย์ บริหารงานอย่างตรงไปตรงมา และตั้งใจทำงาน และร้อยละ 5.59 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ นายอนุทิน ชาญวีรกูล (พรรคภูมิใจไทย) นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ น.ส.กัญจนา ศิลปอาชา (พรรคชาติไทยพัฒนา) พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ (พรรคพลังประชารัฐ) นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม (พรรคไทยภักดี) นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา (พรรคประชาชาติ) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (พรรคประชาธิปัตย์) นายเทวัญ ลิปตพัลลภ (พรรคชาติพัฒนา) และนายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ (พรรคไทยศรีวิไลย์)

และเมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจคะแนนนิยมทางการเมือง รายไตรมาส ครั้งที่ 4/64 เดือนธันวาคม 2564 พบว่า ผู้ที่ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และไม่ตอบ/ไม่สนใจ มีสัดส่วนลดลง ในขณะผู้ที่ระบุว่า นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊งค์) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย) พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (พรรคเสรีรวมไทย) นพ. ชลน่าน ศรีแก้ว (พรรคเพื่อไทย) นายกรณ์ จาติกวณิช (พรรคกล้า) และนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ (พรรคประชาธิปัตย์) มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น

 

ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงพรรคการเมืองที่ประชาชนจะสนับสนุนในวันนี้ พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 28.86 ระบุว่า ไม่สนับสนุนพรรคการเมืองใดเลย อันดับ 2 ร้อยละ 25.89 ระบุว่า พรรคเพื่อไทย อันดับ 3 ร้อยละ 16.24 ระบุว่า พรรคก้าวไกล อันดับ 4 ร้อยละ 7.97 ระบุว่า พรรคประชาธิปัตย์ อันดับ 5 ร้อยละ 7.03 ระบุว่า พรรคพลังประชารัฐ อันดับ 6 ร้อยละ 2.28 ระบุว่า พรรคเสรีรวมไทย อันดับ 7 ร้อยละ 2.18 ระบุว่า พรรคไทยสร้างไทย อันดับ 8 ร้อยละ 2.03 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ อันดับ 9 ร้อยละ 1.88 ระบุว่า พรรคภูมิใจไทย อันดับ 10 ร้อยละ 1.83 ระบุว่า พรรคกล้า และร้อยละ 3.81 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ พรรคเพื่อชาติ พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคไทยภักดี พรรคเศรษฐกิจใหม่ พรรคสร้างอนาคตไทย พรรคชาติพัฒนา พรรคประชาชาติ พรรครวมไทยสร้างชาติ พรรครวมพลังประชาชาติไทย และพรรคเศรษฐกิจไทย และเมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจคะแนนนิยมทางการเมือง รายไตรมาส ครั้งที่ 4/64 เดือนธันวาคม 2564 พบว่า ผู้ที่ระบุว่าไม่สนับสนุนพรรคการเมืองใดเลย พรรคพลังประชารัฐ และพรรคเสรีรวมไทย มีสัดส่วนลดลง ในขณะผู้ที่ระบุว่า พรรคเพื่อไทย พรรคก้าวไกล พรรคประชาธิปัตย์ พรรคไทยสร้างไทย ไม่ตอบ/ไม่สนใจ พรรคภูมิใจไทย และพรรคกล้า มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"THG" ร่อนเอกสารแจง ยันไม่เกี่ยวข้องกับ “หมอบุญ” หลอกลงทุน
ทหารผวา! "หนุ่มชาวจีน" พลัดตกบ่อน้ำกลางป่า 3 วัน แนวชายแดนแม่สอด ร้องโหยหวน ขอช่วยเหลือ 
รัสเซียเปิดคลิปหนุ่มอังกฤษถูกจับในคูสค์
เร่งช่วย "39 ชีวิต ชาวต่างชาติ" หนีตายข้ามน้ำเมยเข้าฝั่งไทย หลังถูกแก๊งจีนเทาหลอกทำงาน
"ศราวุธ" ชี้ "ชัยธวัช" ต้องรับผิดชอบ พาดพิงภรรยาเอี่ยวยาเสพติด มองเป็นเรื่องร้ายแรง
"หวยเดือนธันวาคม 2567 ออกวันไหน" เช็กวัน หวยเลื่อนออก 2 งวด
ด่วน! ออกหมายจับ "สามารถ" คดีฟอกเงิน "ดีเอสไอ" ค้นบ้าน คุมตัวแม่สอบปากคำ
บรรยากาศสุดฟิน จุดชมวิวทะเลหมอก และพระอาทิตย์ขึ้น ที่ภูค้อ เมืองนาแห้ว
"กระทรวงแรงงาน" เร่งผลักดันกม.คุ้มครองแรงงานอิสระทุกอาชีพ ตั้งเป้าขึ้นทะเบียนปีแรก 9 ล้านคน
ตร.กองปราบฯ คุมตัวอดีตภรรยา-ลูกสาว "หมอบุญ" ฝากขังศาลฯ-ค้านการประกันตัว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น