วันที่ 29 มี.ค. 2565 ที่บ้านบาโงสะโต ตำบลบาโงสะโต อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส ด้วยบริษัท ทรัพย์ธรณี 2021 จำกัด จัดปาฐกถาพิเศษเรื่อง ” กระท่อมพืชเศรษฐกิจตัวใหม่” อนาคตกระท่อมไทย กับการปลดล็อกสู่พืชเศรษฐกิจ โดยมี นายธนพนธ์ สงเดช ประธานกรรมการผู้จัดการ บริษัท ทรัพย์ธรณี 2021 จำกัด นายสงคราม บัวทอง รองนายกสมาคมกำนัน ผู้ใหญ่บ้านแห่งประเทศไทย นายรัตนาภรณ์ วิเศษธรรมปพน ศูนย์การเรียนรู้การเพาะปลูกและใช้ประโยชน์จากพืชกระท่อมสงขลาโดยวิสาหกิจชุมชน รศ.ดร.ภีมศักดิ์ เอ้งฉ้วน อาจารย์ภาควิชาบรรณารักษ์ศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำแหง นายมะยาลี ยามา ฝ่ายประสานตลาดตะวันออกกลางและยุโรป ตลอดจนเกษตรกรผู้ปลูกกระท่อมประชาชนในพื้นที่กว่า 500 คน เข้าร่วมรับฟังในครั้งนี้
ทั้งนี้จากการปลดล็อกกระท่อมออกจากบัญชียาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 ซึ่งประเทศไทยใช้เวลาถึง 78 ปี กว่าจะปลดล็อกพืชกระท่อมจากยาเสพติดตลอดจนแปรรูปได้ และสามารถปลูก ครอบครอง จำหน่าย ตลอดจนสามารถสร้างโอกาสการขับเคลื่อนกระท่อมไปสู่พืชเศรษฐกิจใหม่ สามารถต่อยอดได้ในหลายอุตสาหกรรม อาทิ ยารักษาโรค อาหาร และเครื่องดื่ม กลายเป็นที่สำคัญของไทยในการขับเคลื่อนสมุนไพรไทยในการลุยตลาดโลก ซึ่งจะสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้อย่างมหาศาล จากโอกาสทางการตลาดของพืชกระท่อมซึ่งสามารถไปได้ในหลายอุตสาหกรรม เมื่อกระท่อมไม่ใช่สารเสพติด แต่เป็นพืชเศรษฐกิจทำเงิน ซึ่งประเทศไทยมีความได้เปรียบสูง ด้วยเป็นประเทศในเขตร้อนชื้น ซึ่งเป็นบริเวณเดียวที่สามารถปลูกกระท่อมได้ดี ทำให้มีโอกาสสูงในการขยายตัวของตลาด ด้วยการวิจัยและพัฒนาสู่การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างคุณค่าได้สูง
นายธนพนธ์ สงเดช ประธานกรรมการผู้จัดการ บริษัท ทรัพย์ธรณี 2021 จำกัด กล่าวถึงการจัดงานในวันนี้เพื่อส่งเสริมความรู้ให้กับเกษตรกรที่ยังไม่รู้เกี่ยวกับพืชกระท่อม เพราะนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้ส่งเสริมพืชกระท่อมให้เป็นพืชเศรษฐกิจอันดับหนึ่งของประเทศไทย จะทำให้เราสามารถมีรายได้ เพราะพืชกระท่อมเป็นพืชเศรษฐกิจใหม่ที่ขายใบ โดยในหนึ่งปีจะสร้างรายได้ประมาณ 500,000-1,000,000 บาท โดยทางบริษัท ทรัพย์ธรณี 2021 จำกัด ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญถึงการส่งเสริมให้ชาวบ้านได้รู้เรื่องเกี่ยวกับพืชกระท่อม เปิดโอกาสในการปลูกพืชกระท่อมเพื่อแก้ปัญหาความยากจนต่อไป
ด้านรศ.ดร.ภีมศักดิ์ เอ้งฉ้วน อาจารย์ภาควิชาบรรณารักษ์ศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำแหง กล่าวว่า ในฐานะที่เป็นนักวิชาการและนักวิจัย เป้าหมายตอนนี้จากที่ชาวบ้านปลูกพืชกระท่อมแบบธรรมดาเพื่อกินใบเขียว ตอนนี้เป้าหมายหลักก็คือนำไปสู่ตลาดโลก สิ่งที่สำคัญเราต้องวิจัยเพื่อให้ได้มาตรฐานเดียวกันทั่วโลก เพื่อให้ทั่วโลกยอมรับว่าพืชกระท่อมของประเทศไทยมีคุณภาพและได้มาตรฐาน และต้องปลูกอย่างไรให้ได้มาตรฐานที่ตลาดต้องการ ซึ่งตอนนี้อยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลในประเทศและต่างประเทศ และในส่วนของดินและปุ๋ยนั้นมีส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะพืชกระท่อมเป็นต้นไม้ที่มีการซับน้ำเข้าไปสู่ใบ เพราะฉะนั้นในดินต้องออแกนิก ซึ่งทางบริษัทจะมีทีมงานดูแลเพื่อให้พี่น้องประชาชนมั่นใจในการปลูกพืชกระท่อมให้ได้เกณฑ์มาตรฐาน
ขณะที่นายอาแว และราซอ เกษตรกรผู้ปลูกพืชกระท่อม กล่าวว่า หลังจากกลับมาจากการประชุมที่จังหวัดพัทลุงแล้ว รับฟังถึงประโยชน์ของพืชกระท่อมนั้น ก็เลยเกิดแรงบันดาลใจ และคิดว่าการปลูกพืชกระท่อมนั้นน่าจะดีกว่าปลูกอย่างอื่น โดยตอนได้เริ่มปลูกพืชกระท่อมไปแล้ว 1,000 ต้น โดยปลูกไร่ละ 100 ต้น ปลูกไป 10 ไร่ ซึ่งคาดว่าในอนาคตอาจจะปลูกเพิ่มมากกว่านี้ โดยในหนึ่งต้นเฉลี่ยแล้วตกเป็นเงิน 1,200 บาท โดยระยะเวลาในการปลูกก็ใช้เวลาเพียง 2 ปีครึ่งก็สามารถเก็บผลผลิตได้ อย่างไรก็ตามที่มากไปกว่าการปลดล็อกพืชกระท่อม และให้ใช้ชาวบ้านกลับมาใช้ได้อีกครั้ง อีกจุดประสงค์หนึ่งของรัฐบาลก็คือการผลักดันกระท่อมให้เป็น ‘พืชเศรษฐกิจ’ ตัวใหม่ เพื่อสร้างรายได้ให้เกษตรกรไทย และส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศต่อไปในอนาคตเป็นต้น
กรียา เต๊ะตานี/จ.นราธิวาส