คลัง สั่งเพิกถอนใบอนุญาต “อาคเนย์ฯ-ไทยประกันภัย” มีผลวันนี้

ดร. สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เปิดเผยว่า วันนี้(1 เม.ย.65) นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มีคำสั่งกระทรวงการคลังที่ 670/2565 และคำสั่งกระทรวงการคลังที่ 671/2565 ลงวันที่ 1 เมษายน 2565 ให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย บริษัท อาคเนย์ประกันภัย จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 59 (1) (2) (4) และ (5) แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2565 เป็นต้นไป เนื่องจากพบว่า ทั้งสองบริษัทดังกล่าวมีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สินจนไม่สามารถดำเนินการธุรกิจต่อได้

เลขาธิการ คปภ.ระบุว่า ได้ขอให้ผู้บริหารของกลุ่มทุนดังกล่าวไปทบทวนการรับผิดชอบการรับประกันภัย แต่บริษัททั้ง 2 แจ้งว่า ผู้ถือหุ้นจะไม่สนับสนุนการเงินของทั้งสองบริษัท เมื่อเงินไม่เข้า ส่งผลให้การจ่ายค่าสินไหมล่าช้า มีการประวิงเวลา และไม่มีการบันทึกเคลม ซึ่งหากเป็นเช่นนี้จะเกิดความเสียหายกับประชาชน จึงให้ดำเนินการตามกฎหมายต่อไปตาม มาตรา 59 เป็นเหตุให้มีการเพิกถอนใบอนุญาต และเสนอ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังใช้อำนาจดังกล่าว เพิกถอนใบอนุญาตดังกล่าวในวันนี้

ข่าวที่น่าสนใจ

สำหรับผู้ได้รับผลกระทบจากการเพิกถอนใบอนุญาตทั้ง 2 บริษัท คือ ลูกค้าที่ถือประกันโควิด เจอ จ่าย จบ เท่านั้น เพราะก่อนหน้านี้มีการโอนย้ายประกันภัยต่างๆ อาทิ ประกันรถยนต์ ไปยังบริษัทประกันภัยอื่นๆ ที่เข้าร่วมโครงการก่อนแล้ว

เลขาธิการ คปภ. ยืนยันว่า การเพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการในครั้งนี้ เป็นปัญหาฐานะการเงินและการจัดการภายในของทั้ง 2 บริษัท ไม่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางการเงิน หรือสภาพคล่องของธุรกิจประกันภัยในภาพรวม
โดยเบื้องต้นมี ยอดกรมธรรม์ 1.17 ล้านกรมธรรม์ ที่ยังไม่ได้เคลม โดยจะโอนให้กองทุนประกันวินาศภัย เข้ามาดูแล

ล่าสุด กองทุนฯ มีสภาพคล่องอยู่ที่ 5-7 พันล้านบาท ซึ่งหลังจากนึ้ ทางด้านบอร์ด เตรียมระดมทุน โดยออก ประกาศหลักเกณฑ์กู้ยืมเงินกองทุนฯ รวมถึงมีการเจรจาประชุมร่วมกับสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ โดยจะอาศัยกู้แหล่งทุนจากธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสินและแหล่งเงินกู้ต่างๆ เพื่อนำเงินมาชำระหนี้ที่เกิดขึ้น

 

นอกจากนี้ ในวันนี้ (1 เมษายน 2565) สำนักงาน คปภ. ได้มีการร้องทุกข์กล่าวโทษต่อกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (ปอศ.) เพื่อสอบสวนว่ามีกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทรายใดบ้างที่กระทำการเข้าข่ายเป็นการกระทำความผิดตามกฎหมาย และสำนักงาน คปภ. จะจัดให้มีทีมการตรวจสอบพิเศษ (Special Audit) เพื่อตรวจสอบความถูกต้องกรณีที่บริษัทมีการโอนกรมธรรม์ไปยังบริษัทประกันภัยอื่น ในช่วงก่อนที่มีคำสั่งนายทะเบียนตามมาตรา 52 ด้วย

ส่วนผู้เอาประกันที่ได้รับความเสียหายจากกรณีนี้ สำนักงาน คปภ. ได้จัดตั้งศูนย์ให้คำแนะนำ รับเรื่องร้องเรียน และอำนวยความสะดวกในการรับคำขอรับชำระหนี้ รวมทั้งการสนับสนุนบุคลากรในการรับคำขอรับชำระหนี้ ทั้งที่สำนักงาน คปภ. ส่วนกลางและสำนักงาน คปภ. ส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ เพื่อให้บริการลูกค้าอาคเนย์ประกันภัย และ ไทยประกันภัย ให้เป็นไปอย่างรวดเร็วและทั่วถึง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ทูตแรงงานเมียนมา" เยี่ยมศูนย์พักผู้ประสบภัยตึก สตง.ถล่ม เร่งตรวจสอบเยียวยา
ฟ้าพิโรธ! พายุถล่มแพรกษาอ่วม ชาวบ้านขวัญเสีย อยู่ 7 ปีไม่เคยเจอแบบนี้
ครอบครัวแรงงานชาวเมียนมา วอนขอสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หวังได้พบ "สามี-ลูกชาย" ติดใต้ซากตึกสตง.ถล่ม
"คลัง" จ่อชงออกกฎ ลดชั้นรับเหมาไร้คุณภาพ-วางมาตรการแบล็กลิสต์
ปภ.ชงเพิ่ม เตรียมจ่ายเงินเยียวยาค่าทำศพ-ผู้พิการ ตึกสตง.ถล่ม เป็นรายละ 1 แสนบาท เทงบฯ ฟื้นฟู กทม. อีก 200 ล้าน
“คะน้า ริญญารัตน์” เปิดหน้าแฉแฟนเก่า ไฮโซเก๊โลก 2 ใบ อ้างสนิทกับเบื้องสูง-มีรถนำขบวน ปลอมแชทคุยนายกฯ
“หมอวรงค์” ยก 5 ข้อบังคับกม.วิชาชีพ เตือนแพทยสภา ระวังโดน ม.157 ย้ำสังคมจับตาผลสอบชั้น 14
กระทรวงอุตสาหกรรม นัดแถลงข้อเท็จจริง มาตรฐานเหล็กเส้น "ตึกสตง." ถล่ม 10 เม.ย.นี้
"พลภูมิ" ห่วงปัญหาความรุนแรงในสังคมไทย เสนอมาตรการ 4 ด้านให้ทุกหน่วยงานร่วมขับเคลื่อนอย่างเร่งด่วน
เพจดังเตือน 2 ภูมิภาค จับตา! “ดินถล่ม” เอฟเฟกต์ลูกใหญ่จากแผ่นดินไหว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น