“สิงห์สยามโพล” เปิดผลสำรวจ คนกรุงฯหนุนผู้ว่าฯกทม.-สก.ลงอิสระ ไม่สังกัดพรรคการเมือง

"สิงห์สยามโพล" ม.สยาม ชี้คนกรุงหนุนผู้ว่าฯกทม.-สก.ลงในนามอิสระ มองความสามารถเป็นหลักตัดสินใจเลือก การจราจรเป็นปัญหาใหญ่อยากให้แก้ไข

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “สิงห์สยามโพล” คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิดาภา ถิรศิริกุล คณบดีคณะรัฐศาสตร์ แถลงผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร เรื่อง การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร โดยทำการสำรวจข้อมูลระหว่าง วันที่ 30 มีนาคม – 2 เมษายน 2565 ผลการสำรวจ พบว่า

1) ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรงุเทพมหานครควรสังกัดพรรคการเมืองหรืออิสระ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเห็นว่าไม่ควรสังกัดพรรคการเมือง (อิสระ) จำนวน 900 คน คิดเป็นร้อยละ 72.5 และเห็นว่าควรสังกัดพรรคการเมืองจำนวน 342 คน คิดเป็นร้อยละ27.5

2) ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ควรสังกัดพรรคการเมืองหรืออิสระ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเห็นว่าไม่ควรสังกัดพรรคการเมือง (อิสระ) จำนวน 792 คน คิดเป็นร้อยละ 63.8 และเห็นว่าควรสังกัดพรรคการเมืองจำนวน 450 คน คิดเป็นร้อยละ 36.2

3) กรณีผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรงุเทพมหานครสังกัดพรรคการเมือง ท่านคิดว่าพรรคใดน่าสนใจ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเห็นว่าไม่สังกัดพรรคการเมือง (อิสระ) จำนวน 552 คน คิดเป็นร้อยละ 44.4 รองลงมาคือ พรรคก้าวไกลจำนวน 378 คน คิดเป็นร้อยละ 30.4 อื่นๆ จำนวน 114 คน คิดเป็นร้อยละ 9.2 พรรคพลังประชารัฐจำนวน 84 คน คิดเป็นร้อยละ 6.8 พรรคประชาธิปัตย์จำนวน 60 คน คิดเป็นร้อยละ 4.8 และสุดท้ายคือ พรรคไทยสร้างไทยจำนวน 54 คน คิดเป็นร้อยละ 4.3

4) กรณีผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) สังกัดพรรคการเมือง ท่านคิดว่าพรรคใดน่าสนใจ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเห็นว่าไม่สังกัดพรรคการเมือง (อิสระ) จำนวน 537 คน คิดเป็นร้อยละ 43.2 รองลงมาคือ พรรคก้าวไกล จำนวน 393 คน คิดเป็นร้อยละ 31.6 อื่นๆ จำนวน 114 คน คิดเป็นร้อยละ 9.2 พรรคประชาธิปัตย์ จำนวน 90 คน คิดเป็นร้อยละ 7.2 พรรคพลังประชารัฐจำนวน 78 คน คิดเป็นร้อยละ 6.3 และสุดท้ายคือ พรรคไทยสร้างไทยจำนวน 30 คน คิดเป็นร้อยละ 2.4

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

5) คุณลักษณะของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครข้อใดสำคัญที่สุดต่อการตัดสินใจเลือกของท่าน พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเห็นว่าควรมีความรู้ความสามารถ จำนวน 429 คน คิดเป็นร้อยละ 34.5 รองลงมาคือ มีภาวะผู้นำ จำนวน 229 คน คิดเป็นร้อยละ 18.4 ซื่อสัตย์สุจริต จำนวน 208 คน คิดเป็นร้อยละ 16.7 มีคุณธรรม จริยธรรม จำนวน 150 คน คิดเป็นร้อยละ 12.1 มีความมุ่งมั่นตั้งใจ จำนวน 124 คน คิดเป็นร้อยละ 10.0 เป็นนักประสานผลประโยชน์ระดับชาติและพื้นที่ จำนวน 81 คน คิดเป็นร้อยละ 6.5 ยึดมั่นในกฎระเบียบ จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 1.4 และสุดท้ายคือ อื่นๆ จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ .2

6) คุณลักษณะของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ข้อใดสำคัญที่สุดต่อการตัดสินใจเลือกของท่าน พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเห็นว่าควรมีความรู้ความสามารถ จำนวน 442 คน คิดเป็นร้อยละ 35.6 รองลงมาคือ ซื่อสัตย์สุจริต จำนวน 257 คน คิดเป็นร้อยละ 20.7 มีคุณธรรม จริยธรรม จำนวน 192 คน คิดเป็นร้อยละ 15.5 มีความมุ่งมั่นตั้งใจ จำนวน 120 คน คิดเป็นร้อยละ 9.7 เป็นนักประสานผลประโยชน์ระดับชาติและพื้นที่ จำนวน 114 คน คิดเป็นร้อยละ 9.2 มีภาวะผู้นำ จำนวน 108 คน คิดเป็นร้อยละ 8.7 ยึดมั่นในกฎระเบียบ จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ .5 และสุดท้ายคือ อื่นๆ จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ .2

7) ความสนใจในประเด็นหาเสียงของผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเห็นว่าการแก้ปัญหาจราจร จำนวน 498 คน คิดเป็นร้อยละ 40.1 รองลงมาคือ เปิดกรุงเทพมหานครให้ใช้ชีวิตปกติ จำนวน 393 คน คิดเป็นร้อยละ 31.6 แก้ปัญหาอื่นๆ จำนวน 168 คน คิดเป็นร้อยละ 13.5 แก้ปัญหาน้ำท่วมจำนวน 126 คน คิดเป็นร้อยละ 10.1 และสุดท้ายคือ เปิดกรุงเทพมหานครให้ท่องเที่ยวได้ จำนวน 57 คน คิดเป็นร้อยละ 4.6

 

8) ภูมิหลังด้านอาชีพและประสบการณ์ของผู้สมัครที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเห็นว่าควรมากจากนักการเมือง จำนวน 501 คน คิดเป็นร้อยละ 40.3 รองลงมาคือ นักธุรกิจ จำนวน 381 คน คิดเป็นร้อยละ 30.7 อาชีพอื่นๆ จำนวน 186 คน คิดเป็นร้อยละ 15.0 ทหาร จำนวน 72 คน คิดเป็นร้อยละ 5.8 ข้าราชการ จำนวน 66 คน คิดเป็นร้อยละ 5.3 อาจารย์ จำนวน 30 คน คิดเป็นร้อยละ 2.4 และสุดท้ายคือ ตำรวจจำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ.5

9) ภูมิหลังด้านอาชีพและประสบการณ์ของผู้สมัครที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเห็นว่าควรมากจากนักธุรกิจ จำนวน 351 คน คิดเป็นร้อยละ 28.3 รองลงมาคือ นักการเมือง จำนวน 330 คน คิดเป็นร้อยละ 26.6 อาชีพอื่นๆ จำนวน 267 คน คิดเป็นร้อยละ 21.5 อาจารย์ จำนวน 171 คน คิดเป็นร้อยละ 13.8 ข้าราชการ จำนวน 72 คน คิดเป็นร้อยละ 5.8 และสุดท้ายคือ ทหาร จำนวน 51 คน คิดเป็นร้อยละ 4.1

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ด่วน! ออกหมายจับ "สามารถ" คดีฟอกเงิน "ดีเอสไอ" ค้นบ้าน คุมตัวแม่สอบปากคำ
บรรยากาศสุดฟิน จุดชมวิวทะเลหมอก และพระอาทิตย์ขึ้น ที่ภูค้อ เมืองนาแห้ว
"กระทรวงแรงงาน" เร่งผลักดันกม.คุ้มครองแรงงานอิสระทุกอาชีพ ตั้งเป้าขึ้นทะเบียนปีแรก 9 ล้านคน
ตร.กองปราบฯ คุมตัวอดีตภรรยา-ลูกสาว "หมอบุญ" ฝากขังศาลฯ-ค้านการประกันตัว
แห่ชื่นชม “ทนายสายหยุด” ถอนตัว-ไม่ยืนข้างคนผิด “ทนายเดชา” พูดแล้วเสียบแทนมั้ย?
"สันติสุข" กางภาพชัดๆ ยืนกราน ไม่มีใครสั่ง ห้าม Top news เสนอข่าว MOU 44
"ชัยยะ อังกินันทน์" รักษาเก้าอี้ นายกอบจ.เพชรบุรี ได้อีกสมัย คะแนนนำขาด
อิสราเอลยกระดับเตือนพลเมืองในไทย
อุตุฯ เตือน ไทยตอนบนอุณหภูมิสูงขึ้น ภาคใต้ 10 จว.ฝนถล่มหนัก เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก
ฉีกทุกตำราการเมือง “น้ำ”วาริน ชิณวงศ์ โค่นแชมป์เก่า“กนกพร เดชเดโช อดีตนายก อบจ.นครศรีธรรมราช นั่ง นายก อบจ.เมืองคอนคนใหม่-คนเมืองนครเทใจ ฝ่าสายฝนไปลงคะแนนท่วมท้นกว่า 3.25 แสนคะแนน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น